มาทำความรู้จักกับอุปกรณ์จับยึดอย่าง สตัดเกลียวตลอด กัน คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ

สตัดเกลียวตลอด

ในการก่อสร้างครั้งหนึ่งนั้น มีรายละเอียดมากมาย ให้เราได้ทำความเข้าใจ แน่นอนว่าอุปกรณ์ช่างนั้น ก็มีหลากหลายประเภทด้วยกัน โดยในวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ หนึ่งในอุปกรณ์ก่อสร้างหมวดอุปกรณ์จับยึดอย่าง “สตัดเกลียวตลอด” ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมากกับการจับยึดสิ่งต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือการก่อสร้างอาคาร และบ้าน

ไม่ว่าจะเป็นในงานโครงสร้างคอนกรีต ไปจนถึงงานยึดแผงอิเล็กทรอนิกส์ สตัดเกลียวตลอดก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานสตัดเกลียวตลอด เราก็ได้รวบรวมมาให้ทำความรู้จัก พร้อมวิธีการใช้งานสตัดเกลียวตลอดเรียบร้อย และปิดท้ายด้วยข้อมูลในการเลือกซื้อสตัดเกลียวตลอด เบื้องต้นที่จะทำให้ทุกคนมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ว่าแล้วเราก็มาเริ่มต้นทำความรู้จักสิ่งนี้ไปพร้อมๆ กัน

สารบัญ

1. สตัดเกลียวและสตัดเกลียวตลอดคืออะไร

2. สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้สตัดเกลียวตลอด

3. วิธีการใช้งานสตัดเกลียวตลอด

4. สตัดเกลียวตลอดมักผลิตจากอะไรบ้าง

5. สตัดเกลียวตลอดควรได้มาตรฐานอะไรบ้าง

6. สรุปทิ้งท้าย

สตัดเกลียวและสตัดเกลียวตลอดคืออะไร

บางคนอาจจะคุ้นเคยกับสตัดเกลียว แต่ไม่รู้จักสตัดเกลียวตลอด หากให้พูดกันแล้วสตัดเกลียวตลอดนั้น เป็นสตัดเกลียวชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้งานนั่นเอง ตัวสตัดเกลียวคืออุปกรณ์ช่างชนิดหนึ่ง ในหมวดอุปกรณ์การจับยึดไม่ให้สิ่งนั้นๆ เลื่อนออก จะต้องมีการเจาะรู และขันนอตก่อนจึงจะใช้งานได้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องพึ่งอุปกรณ์อื่นๆ ก่อนจะใช้งานสตัดเกลียวได้ ตัวสตัดเกลียวจะมีลักษณะเป็นเส้นๆ ทรงกระบอก มีการชุบเหล็กกล้า หรือชุบสารอื่นๆ แล้วแต่ผู้ผลิต

ซึ่งส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดของสนิม หรือการกัดกร่อนจากสิ่งต่างๆ มีความทนสูง รองรับแรงสั่นสะเทือน และแรงกระแทก ที่อาจเกิดขึ้นจากโครงสร้าง เพราะฉะนั้นเราจึงนิยมนำสตัดเกลียวมาใช้งานงานก่อสร้างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างโครงสร้างคอนกรีต การเชื่อมต่อแผงอิเล็กทรอนิกส์ งานยึด ติด แขวนอุปกรณ์ต่างๆ ให้เป็นชิ้นเป็นอัน รวมถึงงานระบบไฟฟ้า ระบบท่อ และงานติดตั้งฝ้าเพดาน ก็จะมีการใช้สตัดเกลียวอยู่เสมอ

อย่างไรก็ตามอย่างที่ได้กล่าวไป สตัดเกลียวตลอดนั้นเป็นหนึ่งในประเภทของสตัดเกลียว หากจะให้แบ่งประเภทของสตัดเกลียวแล้วละก็ เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทด้วยกันดังนี้

  • สตัดเกลียวตลอด : ลักษณะเป็นเส้นเหล็กทรงกระบอก ที่มีเกลียวยาวตลอดทั้งเส้น ทนต่อแรงดึงสูง สามารถรองรับน้ำหนักได้เป็นอย่างดี เนื่องจากตัวเกลียวมีอยู่ตลอดเส้น การขันจึงทำได้อย่างง่ายดาย ใช้กับหัวนอตตามท้องตลาดได้ สตัดเกลียวตลอดมักจะถูกชุบมาก่อนแล้ว เพื่อความแข็งแรงที่มากกว่าเดิม สตัดเกลียวชนิดนี้เป็นที่นิยมใช้ในงานแขวน งานติดตั้งฝ้าเพดาน รวมถึงการติดตั้งระบบท่อต่างๆ มีหลากหลายขนาดให้เลือกใช้งาน ส่วนใหญ่จะให้เลือกตามความยาวตั้งแต่ 1-3 เมตร พร้อมทั้งมีเกรดของเหล็ก รวมถึงตัวชุบสตัดเกลียวตลอด มาให้ทุกคนได้เลือกใช้งาน
  • สตัดเกลียวสองข้าง : ลักษณะเป็นเส้นเหล็กทรงกระบอกเช่นกัน แต่สตัดเกลียวสองข้างบริเวณตรงกลาง จะมีลักษณะเรียบและปลายทั้งสองด้าน เป็นเกลียวแทน เหล็กที่นำมาทำเป็นสตัดเกลียวสองข้าง จะเน้นไปที่การป้องกันการกัดกร่อนจากสารต่างๆ ข้อแตกต่างของสตัดเกลียวชนิดนี้ และสตัดเกลียวตลอด ยังอยู่ที่ขนาดในการใช้งานอีกด้วย ปกติแล้วสตัดเกลียวสองข้างจะมีขนาดที่สั้นกว่า เนื่องจากสตัดเกลียวสองข้าง เหมาะกับงานที่ใช้ยึดติดชิ้นงานสองชิ้นมากกว่า มักใช้ในงานยึดแผ่นเหล็ก งานฝังเพดาน งานโครงสร้างคอนกรีตหรือเครื่องจักรต่างๆ เป็นต้น
  • สตัดเกลียวแบบเต็มพร้อมสเกลวัด : ลักษณะของสตัดเกลียวชนิดนี้จะคล้ายกับสตัดเกลียวตลอด แตกต่างตรงที่สตัดเกลียวแบบเต็ม พร้อมสเกลวัดนั้นจะมีสเกลตัวเลข บ่งบอกอยู่อย่างชัดเจน ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถวัดระยะความลึกที่สตัดเกลียว ถูกฝังเข้าไปได้อย่างแม่นยำ มีทั้งชนิดที่ผลิตจากเหล็กกล้าล้วนๆ และเหล็กที่ผสมคาร์บอนเข้าไป เด่นในเรื่องของความคงทนต่ออุณหูมิ และมีแรงดันที่สูง จึงเหมาะกับงานประเภทเครื่องจักร เครื่องยนต์ไปจนถึงงานประกอบอุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องใช้ความแม่นยำเป็นอย่างมาก
  • สตัดเกลียวปลายสกัด : เรียกว่าเป็นสตัดเกลียวที่มีความพิเศษที่สุด แตกต่างกับสตัดเกลียวตลอดเป็นอย่างมาก ตัวสตัดเกลียวปลายสกัด จะมีการออกแบบให้มีหัวหกเหลี่ยม เพื่อง่ายต่อการสวมเข้า สามารถใช้ร่วมกับพุกเคมี (อุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นหลอดแก้วบรรจุเคมี เพื่อช่วยยึดเกลียวเข้ากับผนัง) และสว่านไฟฟ้า วิธีการใช้งานง่าย มักถูกผลิตจากเหล็ก หรือสเตนเลสที่ชุบมาแล้วอย่างดี มีความคงทนต่อการกัดกร่อน และป้องกันการเกิดสนิม เรียกได้ว่าเป็นสตัดเกลียวที่มีความแข็งแรงที่สุดก็ว่าได้ มักจะถูกใช้ในงานฝัง ไม่ว่าจะเป็นการเจาะฝังในพื้นคอนกรีต ยิปซั่มหรือผนังที่ต้องรับน้ำหนักสูง เป็นต้น
กลับสู่สารบัญ

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้สตัดเกลียวตลอด

สตัดเกลียวตลอดไม่ใช่อุปกรณ์ที่จะสามารถใช้งานได้ทันที ก่อนที่เราจะมาทำความเข้าใจวิธีการติดตั้งสตัดเกลียวตลอด เพื่อนำไปใช้งานจำเป็นต้องทำความรู้จักกับอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้คู่กับสตัดเกลียวตลอดด้วย โดยหลักๆ แล้วมีอุปกรณ์ทั้งหมด 3 ชิ้นด้วยกันที่จำเป็นต้องใช้งานควบคู่ไปด้วยนั่นก็คือ

1. เครื่องมือเจาะรู : ไม่ว่างานแขวนงานติดตั้งระบบ เครื่องมือเจาะรูก็เป็นอีกเครื่องมือช่างที่ควรทำความรู้จักไว้ เครื่องมือเจาะรูที่หลายๆ คนรู้จัก และมีผู้ใช้งานมากมายนั่นก็คือสว่านนั่นเอง ความแตกต่างของสว่าน ขึ้นอยู่กับดอกสว่านที่นำมาสวมใส่ ดอกเจาะเหล็กของสว่างมักจะมีเกลียวที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ตัวช่างจะต้องเป็นผู้เลือกดอกเจาะให้เหมาะสมที่สุด โดยคำนึงถึงขนาดของสตัดเกลียวเหล็ก ที่จะขันลงไป ให้สัมพันธ์กันด้วย

2. แหวนรอง : เป็นอีกชิ้นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ ก่อนที่เราจะขันนอตเข้ากับสตัดเกลียวตลอด ช่างจำเป็นที่จะต้องหาตัวรองรับแรงเสียดทานมากันไว้ก่อนขั้นหนึ่ง ซึ่งแหวนรองนั้นเป็นตัวที่ทำหน้าที่ดังกล่าว แหวนรองที่นิยมนำมาใช้กัน มีลักษณะเป็นทรงกระบอกที่เจาะรูไว้ตรงกลางเหมือนโดนัท สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทด้วยกันคือ

  • แหวนอีแปะ หรือก็คือแหวนรองแบบธรรมดา ช่วยกระจายแรงของนอตที่จะใส่ลงมา เพิ่มพื้นที่ในการยึดเกาะ และทำให้นอตแน่นหนามากยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่มักใช้แหวนอีแปะในการรองงานที่ทำกับไม้ เพราะเป็นการป้องกันไม่ให้นอตที่ใส่ลงไปกินเนื้อไม้โดยตรง ทำให้เนื้อไม้ไม่เสียหายและใช้ได้อย่างยาวนาน
  • แหวนสปริง เป็นแหวนที่มีลักษณะคล้ายแหวนอีแปะ แต่จะมีรอยผ่า และถูกยกขึ้น ทำให้แหวนมีระดับที่ไม่เท่ากัน แม้ว่าประโยชน์ของแหวนสปริงจะเหมือนๆ กับแหวนอีแปะ แต่แหวนสปริงนั้นมักใช้กับงานเหล็กมากกว่า เนื่องจากความไม่เสมอกันของแหวนชนิดนี้ จะช่วยป้องการการคลายตัวของนอต ได้ดีกว่าแหวนอีแปะ หากเป็นงานเหล็กที่มีแรงสั่นสะเทือนสูง การใช้แหวนรองชนิดนี้จึงเหมาะสมกว่า รวมถึงยังช่วยเรื่องจากหดตัวของเหล็กจากสภาพอากาศอีกด้วย

3. นอต : โดยปกติแล้วถ้าพูดถึงนอตในวงการช่าง มักจะหมายถึงนอตตัวเมีย หรือหัวนอตนั่นเอง ลักษณะของนอตชนิดนี้จะมีรูอยู่ตรงกลางภายใน เป็นเกลียวเอาไว้ขันเข้ากับสิ่งต่างๆ อย่างไรก็ตามหัวนอตนั้นมีอีกหลายสิบประเภทด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น หัวนอตหกเหลี่ยม หัวนอตติดแหวน หัวนอตกลม หรือหัวนอต O, P, T เป็นต้น อย่างไรก็ตามช่างจะต้องเป็นผู้ดูแล และเลือกหัวนอตมาใช้งาน ให้ตรงประเภทที่สุด

นอกจากสามอุปกรณ์ช่าง ที่ต้องใช้ควบคู่ไปกับการติดตั้งสตัดเกลียวตลอดแล้ว อุปกรณ์อย่างประแจที่เขาไว้ใช้ขันนอต ก็เป็นอีกอุปกรณ์ที่ควรมีติดตัวไว้ด้วยเช่นกัน เพราะถ้าหากขาดประแจขันแล้วละก็ อุปกรณ์ต่างๆ ก็ไม่อาจยึดติดแน่นได้จากแรงมือของเราแน่นอน

กลับสู่สารบัญ

วิธีการใช้งานสตัดเกลียวตลอด

เมื่อทำความรู้จักกับอุปกรณ์ ที่ช่วยในการติดตั้งสตัดเกลียวตลอดแล้ว ก็มาถึงเวลาทำความเข้าใจกับวิธีการติดตั้ง หรือใช้งานสตัดเกลียวตลอดกันเสียที โดยขั้นตอนดังกล่าวนั้นมีง่ายๆ เพียง 5 ขั้นตอนเท่านั้น

  1. ตรวจสอบบริเวณหน้ากว้างของวัตถุนั้นๆ จากนั้นเลือกดอกสว่านที่มีขนาดเหมาะสม และทำการเจาะรูลงไปให้มีความลึกที่พอดีที่สุด ตามแบบที่ได้รับ
  2. เมื่อได้รูแล้วก็ต้องอย่าลืมคำนวณหา Major Diameter หรือความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางโตนอกของชิ้นงาน ทั้งในส่วนของเกลียวนอกและเกลียวใน เมื่อได้ Major Diameter ที่เหมาะสมแล้วก็ไปขั้นตอนต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม Major Diameter นี้จะต้องไม่ลึกเท่ากับรูที่เจาะไว้
  3. นำสตัดเกลียวตลอดนั้นๆ มาขันลงไปในรูจนสุดเกลียว เพราะฉะนั้นการคำนวณความลึกของรูที่เจาะ และเกลียวต้องมากพอ ที่จะขันสตัดเกลียวตลอดนั้นๆ ลงไปได้
  4. นำวัตถุอีกชิ้นหนึ่งที่ต้องการเชื่อมต่อ จับยึด ติดตั้งมาสวมผ่านสตัดเกลียวตลอดที่ยื่นออกมา
  5. ใส่แหวนรองชนิดที่เหมาะสมที่สุด พร้อมกับขันนอตใส่ทั้งสองข้าง เพื่อยึดติดงานเข้าด้วยกัน โดยขั้นตอนนี้จะต้องตรวจสอบว่า มีการขันนอตลงไปอย่างแน่นเรียบร้อย เพียงเท่านี้ก็ถือว่าการติดตั้งสตัดเกลียวตลอดเสร็จสมบูรณ์

อย่างไรก็ตาม การใช้งานสตัดเกลียวตลอดให้ปลอดภัย ควรอยู่ในการควบคุมของผู้เชี่ยวชาญ และชำนาญเท่านั้น เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึง

สตัดเกลียวตลอดเกลียวมิล เกลียวหุนแตกต่างกันอย่างไร

ในขั้นตอนของการขันนอตใสลงไปในสตัดเกลียวจริงๆ แล้วนั้นมีศัพท์เฉพาะช่างที่ควรทำความเข้าใจอยู่ นั่นก็คือส่วนประกอบสำคัญของเกลียวอย่าง “Pitch (พิทช์)” นั่นเอง โดย 2 ระบบใหญ่ๆ ที่เรามักจะได้ยินนั่นก็คือสตัดเกลียวตลอดเกลียวมิล และสตัดเกลียวตลอดเกียวหุน ซึ่งทั้งสองระบบการวัดขนาดของเกลียวก็มีความแตกต่างดังนี้

  • ระบบเกลียวมิลลิเมตร หรือเกลียวมิล เป็นระบบเมตทริกของฝั่งยุโรป วัดความห่างระหว่างเกียวด้วยหน่วยมิลลิเมตร ค่อนข้างเข้าใจง่าย ใช้ไม้บรรทัดมาวัดระยะห่างของเกลียวได้ทันที เมื่ออ่านค่าออกมาแล้วก็สามารถนำมากำหนดสเปคของสตัดเกลียวตลอดได้
  • ระบบเกลียวนิ้ว หรือเกลียวหุน เป็นระบบของฝั่งอเมริกัน จะเป็นการนับจำนวนเกลียวว่าในระยะหนึ่งนิ้วนั้นมีกี่เกลียวด้วยกัน ซึ่งทำให้นับยากกว่าอีกระบบหนึ่ง เพราะฉะนั้นจึงไม่เหมาะกับผู้ใช้ที่ไม่คุ้นเคย โดยตารางด้านล่างนี้เป็นตารางการแปลงหน่วยนิ้วให้เป็นหุน
กลับสู่สารบัญ

สตัดเกลียวตลอดมักผลิตจากอะไรบ้าง

อย่างที่ได้เกริ่นไปในช่วงต้น สตัดเกลียวตลอดนั้นจะผลิตมาจากเหล็กกล้า หรือเหล็กอัลลอย ซึ่งมีความแข็งแรง เหมาะกับการขึ้นรูป มีความเหนียวและทนทานอุณหภูมิที่สูง เป็นเหล็กที่ถูกใช้ในการผลิตอุปกรณ์สินค้าต่างๆ ความแข็งเกรด 10.9 และ 12.9 อย่างไรก็ตามนอกจากเหล็กกล้าแล้ว ก็ยังมีเหล็กชนิดอื่นๆ อีกด้วยที่ถูกนำมาใช้ร่วมด้วย ตัวอย่างเช่น

  • เหล็กคาร์บอนต่ำ : มีส่วนผสมของธาตุคาร์บอนต่ำกว่า 0.25% ขึ้นรูปได้ง่าย เด่นในเรื่องความทนทาน มักใช้ขึ้นรูปโลหะรวมถึงเชื่อมโลหะด้วย ราคาค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับเหล็กชนิดอื่น
  • เหล็กคาร์บอนปานกลาง : เป็นเหล็กที่มีส่วนผสมของคาร์บอนระหว่าง 0.25% – 0.60% ด้วยกัน สามารถนำเหล็กชนิดนี้ ไปผ่านกระบวนการชุบแข็ง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงได้
  • เหล็กสแตนเลส : สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกันคือ สแตนเลสออสเทไนติก, สแตนเลสมาร์เทนซิติก และสแตนเลสเฟอร์ริติก

สตัดเกลียวตลอดที่ผ่านการชุบจะเป็นอย่างไร

สตัดเกลียวตลอดมีหลายประเภทด้วยกัน ส่วนใหญ่แล้วความแตกต่างจะอยู่กันที่สิ่งที่สตัดเกลียวตลอดนั้นถูกชุบ การชุบผิวโลหะจะช่วยเพิ่มความทนทาน และแข็งแรง ป้องกันความชื้น ซึ่งเป็นจุดอ่อนของเหล็กทุกชนิด การชุบเหล็กมี 2 ประเภทหลักๆ ให้ได้เลือกกันก็คือ

  1. การชุบซิงค์ : หรือก็คือการชุบสังกะสี นอกจากกันความชื้นแล้วยังทำให้เกิดชั้นป้องกันการผุกร่อน เนื่องจากสังกะสีมีอัตราการผุกร่อนที่ช้ามากๆ ทำให้นิยมนำมาชุบเหล็กกัน ส่วนใหญ่จะชุบด้วยไฟฟ้า ราคาค่าชุบถูก ทำให้สตัดเกลียวตลอดนั้นๆ ราคาไม่พุ่งสูง มีความหนาของชั้นอยู่ที่ 5-10 ไมครอน ซึ่งตัวซิงค์นี้ก็มีทั้งซิงค์ขาว และซิงค์รุ้งให้เลือกใช้งาน
  2. การชุบ H.D.G (Hot Dip Gavanize) : เป็นการชุบสังกะสีเช่นกัน แต่เป็นวิธีการสร้างชั้นด้วยการนำเหล็กนั้นๆ จุ่มลงไปในสังกะสีหลอมเหลวที่มีความร้อนสูง ซึ่งเหล็กที่ผ่านกระบวนการนี้ จะมีราคาที่สูงกว่าการชุบด้วยซิงค์ สามารถป้องกันสนิมได้ดีเนื่องจากผ่านขั้นตอนที่มากกว่า โดยทั่วไปแล้วคนจะเรียกการชุบแบบนี้ ว่าการชุบกัลวาไนซ์ ความหนาของชั้นที่ชุบจะอยู่ที่ 65-300 ไมครอน แล้วแต่งานที่ต้องการ การชุบชนิดนี้ สามารถทำให้เหล็กใช้งานได้ยาวนานเกิน 20 ปี
กลับสู่สารบัญ

สตัดเกลียวตลอดควรได้มาตรฐานอะไรบ้าง

อย่างที่เราทราบกันว่าสตัดเกลียวตลอดนั้น ผลิตมาจากเหล็กคุณภาพสูง เนื่องจากใช้รองรับน้ำหนัก และต้องทนต่อแรงกระแทกต่างๆ อย่างไรก็ตามนอกจากคุณสมบัติของเหล็กแล้ว การชุบซิงค์หรือชุบสังกะสี H.D.G (Hot Dip Gavanize) ก็ยังเป็นที่นิยมไม่แพ้กัน เพราะช่วยทำให้เหล็กนั้นๆ มีคุณสมบัติที่ดีมากยิ่งขึ้น โดยปกติแล้วแต่ละประเทศก็จะมีมาตรฐานที่กำหนดไว้แตกต่างกันไป

สำหรับในตลาดอเมริกันนั้น ก็จะใช้หลักของสถาบันมาตรฐานอเมริกัน (ANSI) ซึ่งแตกต่างกับฝั่งเอเชีย ที่มักจะใช้มาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (JIS) ซึ่งจะมีตัวอักษร และตัวเลขกำหนดไว้ โดยแบ่งตามประเภทของเหล็ก และอุตสาหกรรมที่นำมาใช้กัน อย่างไรก็ตาม นอกจากมาตรฐานเหล่านี้ ก็ยังมีมาตรฐานอื่นๆ ที่สามารถพบเจอ เมื่อเลือกซื้อสตัดเกลียวตลอดได้ เช่น

  • ASTM (American Society for Testing and Material) ซึ่งจะแบ่ง
  • AISI (American Iron and Steel Institute)
  • DIN (DeutschesInstitutfürNormung)

และอีกหนึ่งมาตรฐานสำคัญ ที่ประเทศไทยใช้กันนั่นก็คือ TIS (Thai Industrial Standards) หรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ก็เป็นอีกมาตรฐานหนึ่ง ที่มีประโยชน์ต่อคนไทย ผู้ใช้งานตัวอุปกรณ์ต่างๆ

ในตลาดมีสตัดเกลียวตลอดของเจ้าใดน่าสนใจบ้าง

ปัจจุบันมีสตัดเกลียวตลอดหลายยี่ห้อด้วยกันที่วางจำหน่าย ทุกคนสามารถเลือกซื้อผ่านทางออนไลน์ หรือหาซื้อตามร้านเหล็กวัสดุก่อสร้างได้ อย่างไรก็ตาม ในวันนี้เราจะยกตัวอย่างยี่ห้อสตัดเกลียวตลอดที่น่าสนใจ มาให้ทำความรู้จักกันดังนี้

  1. IMAO CORPORATION บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรอุตสาหกรรมครบวงจร มีสินค้าในไลน์การผลิตเกี่ยวกับการก่อสร้าง และอุปกรณ์ช่างมากมาย พร้อมเทคโนโลยีที่พัฒตาอย่างสม่ำเสมอ
  2. TORA โรงงานผลิตเหล็กคุณภาพสูง น้ำหนักเบา สามารถหาซื้อได้ง่ายผ่านทางช่องทางออนไลน์ต่างๆ ส่วนใหญ่จะขายเป็นชุด
  3. Misumi แบรนด์ผู้ให้บริการครบวงจร ในสายการผลิตชิ้นส่วนทั้งโลหะ พลาสติก เครื่องมือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และวัสดุอุปกรณ์ซ่อมบำรุง มีสินค้าผ่านมาตรฐาน และได้คุณภาพมากกว่า 10 ล้านชนิดให้ได้เลือกใช้งาน
  4. Esco โรงงานผู้ผลิตชั้นแนวหน้าที่มีความทันสมัย น่าเชื่อถือ ได้รับมาตรฐานสากลทั้งด้านคุณภาพ และการจัดการสิ่งแวดล้อม ผู้นำด้านการผลิตเครื่องมือในกลุ่ม Clean air ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  5. HIROSUGI-KEIKI บริษัทผู้ผลิตส่วนประกอบยึด PCB และส่วนประกอบอื่นๆ อีกมากมายจากประเทศญี่ปุ่น
  6. HILOGIK อีกหนึ่งบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ และชิ้นส่วนสำหรับงานอุตสาหกรรมจากประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งตั้งแต่ปีค.ศ. 1893

นอกจากยี่ห้อสตัดเกลียวตลอดตามด้านบนแล้ว ในประเทศไทยยังมีการนำเข้าสตัดเกลียวตลอดจากต่างประเทศ เข้ามาใช้งานอีกหลายยี่ห้อด้วยกัน ซึ่งเพื่อนๆ สามารถค้นหาได้ตามเว็บไซต์ผู้ค้าปลีกได้ทันที

กลับสู่สารบัญ

สรุปทิ้งท้าย

จบไปแล้วกับสาระน่ารู้เกี่ยวกับสตัดเกลียวตลอด ไม่ว่าจะเป็นด้านข้อมูลของสตัดเกลียว วิธีการใช้งาน รวมไปถึงมาตรฐานต่างๆ ข้อมูลด้านบนเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น หากใครที่ต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนเลือกใช้งานจริงๆ ก็สามารถเข้าตามร้านค้าวัสดุ และสอบถามกับผู้เชี่ยวชาญได้เช่นกัน

ข้อควรระวังที่สำคัญในการใช้สตัดเกลียวตลอดนั่นก็คือ ไม่ควรให้สตัดเกลียวตลอดนั้น โดนสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรด และด่างทำความสะอาด อีกทั้งยังควรเก็บไว้ในที่ที่แห้ง ไม่มีความชื้น ไม่จัดเก็บใกล้ความร้อนหรือเปลวไฟ เพราะจะทำให้คุณภาพเสียได้ และที่สำคัญคือควรเก็บให้พ้นมือเด็กอย่างเด็ดขาด

สนใจสินค้าสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Tel: 084-326-6454 Line: @udirons