แสดงทั้งหมด 2 ผลลัพท์

ฉนวนใยแก้ว ฉนวนกันความร้อน  SCG และ Microfiber ราคาโรงงาน

จำหน่าย ฉนวนใยแก้วกันความร้อน SCG และ Microfiber ราคาโรงงาน สำหรับกันเสียง วัสดุไม่ลามไฟ หลากหลายความหนา ทั้งแบบหนา 25 มม และ 50 มม มีสต็อคสินค้า พร้อมส่งทั่วกรุงเทพ ปริมณฑล และต่างจังหวัด

1,600 ฿1,850 ฿
2,200 ฿2,300 ฿

ในวันนี้ UDWASSADU จึงได้นำเอาฉนวนกันความร้อน ดูดซับเสียงอย่าง ฉนวนใยแก้ว มาให้ทุกคนได้ทำความรู้จักกันว่า ฉนวนใยแก้วคืออะไรกันแน่ มีคุณสมบัติหรือข้อดีอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะฉนวนใยแก้ว ตราช้างว่าความเลือกซื้ออย่างไร

ฉนวนใยแก้ว (Glasswool) คืออะไร

ฉนวนใยแก้ว คือ การหลอมแก้วซึ่งเป็นวัตถุดิบคุณภาพสูงภายในประเทศโดยใช้อุณหภูมิสูงในการหลอมละลายและปั่นให้เป็นเส้นใยขนาดเล็กจากนั้นผสานให้เป็นเนื้อใยแก้วด้วยกาวชนิดพิเศษ แล้วนำมาขึ้นเป็นรูป โดยจะมีทั้งการขึ้นรูปเป็นม้วน เป็นแผ่นและเป็นท่อ มีความหนาตั้งแต่ 25-100 มิลลิเมตร และมีความหนาแน่นของเนื้อใยแก้วอยู่ที่ 16-64 กก./ลบ.ม. ทั้งยังมีให้เลือกแบบไม่มีวัสดุปิดผิวและปิดผิวด้วยอะลูมิเนียมประเภทต่างๆ ด้วย สามารถใช้เพื่อกันความร้อนและดูดซับเสียงได้ในงานหลากหลายประเภท

ราคาฉนวนใยแก้ว

  • ราคาฉนวนใยแก้ว ตราช้าง: 1,600-1,850 บาท
  • ราคาฉนวนใยแก้ว ไมโครไฟเบอร์: 2,200 - 2,300 บาท

ฉนวนกันความร้อนมีอะไรบ้าง

1. ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น

วัสดุกันความร้อนยอดนิยมของวงการวัสดุก่อสร้าง ติดตั้งง่าย หาซื้อง่าย สามารถติดตั้งไว้ฝ้าเพดานหรือใต้หลังคาบ้านในระยะสูงกว่า 1 เมตรขึ้นไป อีกทั้งยังติดตั้งด้วยตนเองได้ แต่ควรสวมใส่ชุดป้องกัน เพื่อลดอาการแพ้สารสำหรับบางคน โดยฉนวนกันความร้อนแบบแผ่นมีดังนี้

  • ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว (Fiber Glass) ได้รับความนิยมมาก ติดตั้งง่าย ใช้งานดี ราคาฉนวนกันความร้อนใยแก้วก็ไม่สูงมาก ทนความร้อนสูง ไม่ติดไฟ กันความชื้นและแมลงหรือเชื้อรา
  • ฉนวนกันความร้อนอลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil) แผ่นสะท้อนความร้อนที่มีความเหนียวมาก ฉีกขาดยาก ไม่ลามไฟ ทนความร้อนสูง แผ่นสะท้อนความร้อนราคาถูกกว่าฉนวนใยแก้ว
  • ฉนวนกันความร้อนโฟมโพลีเอทิลีน (Polyethylene Foam) โฟม PE แผ่นโฟมกันความร้อนหุ้มอลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนความร้อน เป็นฉนวนกันความร้อนราคาค่อนข้างถูก ติดตั้งง่าย และป้องกันความร้อนได้ดี
  • ฉนวนกันความร้อนโพลีสไตรีนโฟม (Polystyrene Foam) เรียกว่า โฟม PS, โฟม EPS, โฟมขาว, แผ่นฉนวนสำเร็จรูป เป็นโฟมกันความร้อนและความเย็นได้ในตัว ไม่ลามไฟ ติดตั้งง่าย เคลื่อนย้ายง่าย สามารถทำเป็นฝ้าเพดาน หรือต่อเติมผนังบ้านได้ โดยไม่ต้องติดฉนวนอื่นเพิ่มเติม

2. ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น และแบบพ่น

ฉนวนกันความร้อนโฟมโพลียูรีเทน (Polyurethane Foam) โฟม PU หรือโฟมเหลือง เป็นโฟมกันความร้อน มีทั้งแบบแผ่น และแบบพ่น สามรรถฉีดบนฝ้า บนหลังคา และใต้หลังคา ติดตั้งยุ่งยาก ต้องใช้บริษัทช่างเชี่ยวชาญ

3. ฉนวนกันความร้อนแบบพ่น

ฉนวนกันความร้อนแบบพ่นพร้อมใส่สารกันแมลงต่างๆ สามารถฉีดพ่นโฟมเข้าถึงได้ทุกซอกมุม และอายุการใช้งานยาวนานกว่าแบบแผ่น แต่ราคาฉนวนความร้อนแบบพ่นค่อนข้างสูงและติดตั้งยุ่งยาก ต้องใช้บริษัทช่างเชี่ยวชาญ ทั้งนี้ วัสดุกันร้อนประเภทนี้มี 2 ชนิด ได้แก่

  • ฉนวนกันความร้อนเซรามิคเซรามิคโค๊ตติ้ง (Ceramic Coating) หรือสีสะท้อนความร้อน
  • และฉนวนกันความร้อนเยื่อกระดาษ(Cellulose)

ประเภทงานสำหรับฉนวนใยแก้ว

ฉนวนใยแก้วนั้น ได้รับการออกแบบให้เหมาะกับการใช้งานได้หลากหลายประเภทด้วยกัน ดังนี้

  • ฉนวนใยแก้ว สำหรับงานหุ้มท่อน้ำร้อน-น้ำเย็น 

ฉนวนใยแก้วนี้จะมีการขึ้นรูปเป็นท่ออัดแข็งตามขนาดของท่อเหล็กหรือท่อทองแดง โดยสามารถรับอุณหภูมิได้ตั้งแต่ -18 องศาไปจนถึง 450 องศาเซลเซียส มีจุดเด่นสำคัญคือสามารถป้องกันความชื้นหรือการควบแน่นเป็นหยดน้ำได้เป็นอย่างดี เหมาะกับการใช้งานในอาคารขนาดใหญ่ โรงพยาบาล โรงแรมหรือโรงงานอุตสาหกรรม

  • ฉนวนใยแก้ว สำหรับงานท่อปรับอากาศ

ฉนวนใยแก้วสำหรับงานนี้จะเป็นแบบม้วนและปิดผิวด้วยแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ชนิดต่างๆ โดยจะมีการผลิตตามมาตรฐานสากล ASTM และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือ มอก. 486, 487 สามารถใช้ได้ในอาคารหรือส่วนงานที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถรับอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 4 องศาถึง 120 องศาเซลเซียส มีอายุการใช้งานที่ยาวนานและทนทานการกดทับช่วยให้คงคุณสมบัติของฉนวนได้อย่างยาวนาน

  • ฉนวนใยแก้ว สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง HI-TEMP

เป็นฉนวนใยแก้วที่เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่อุณหภูมิสูงอย่างอุปกรณ์หรือเครื่องจักรต่างๆ โดยสามารถทนได้สูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีให้เลือกใช้ได้ทั้งแบบม้วนและแบบแผ่น จึงใช้ได้ในงานที่มีรูปร่างซับซ้อนหรืองานที่ต้องหุ้มดัดโค้งเข้ารูป มีจุดเด่นสำคัญคือ ช่วยลดการส่งผ่านความร้อน สามารถรักษาอุณหภูมิได้ดีและไม่ลุกติดไฟ

  • ฉนวนใยแก้ว สำหรับงานปูเหนือเพดาน

เป็นงานฉนวนใยแก้วที่ออกแบบขึ้นเพื่อบ้านพักอาศัยโดยเฉพาะโดยเน้นสมบัติเกี่ยวกับการกันความร้อนเป็นพิเศษ ช่วยประหยัดพลังงานและทำให้บ้านเย็นมากขึ้น ด้วยการออกแบบนี้จึงทำให้เป็นฉนวนที่เหมาะกับการปูเหนือฝ้าเพดานได้ทุกรูปแบบ ทั้งยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานอีกด้วย

  • ฉนวนใยแก้ว สำหรับงานหลังคา/งานผนัง

สำหรับงานหลังคาและงานผนังก็มีการออกแบบฉนวนใยแก้วที่มีลักษณะเหมาะสมขึ้นมาด้วยเช่นกัน โดยจะทำเป็นลักษณะของแผ่นสำเร็จรูป มีความหนา 3 นิ้ว และหุ้มรอบด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์แบบเสริมแรงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสะท้อนความร้อนและยังมีการออกแบบในสะดวกในการติดตั้งกับหลังคาทุกรูปแบบอีกด้วย ซึ่งฉนวนใยแก้วสำหรับงานหลังคานี้จะมีจุดเด่นตรงที่การใช้วัสดุที่ไม่เสื่อมสภาพและไม่เป็นอาหารของสัตว์

ฉนวนกันความร้อนมีอะไรบ้าง

คุณสมบัติของฉนวนใยแก้ว

ฉนวนใยแก้วเป็นฉนวนกันความร้อนที่มีคุณสมบัติมากมาย ดังนี้ 

  • ช่วยกันความร้อน นับเป็นคุณสมบัติหลักของฉนวนใยแก้วที่สามารถกันความร้อนและป้องกันการสูญเสียพลังงานร้อน ด้วยการมีค่าการนำความร้อนต่ำและยังสามารถต้านทานความร้อนได้ดี จึงช่วยประหยัดพลังงานได้ด้วย
  • ไม่ติดไฟหรือลามไฟ ฉนวนใยแก้วนั้นสร้างจากวัสดุที่ไม่ติดไฟและไม่ลามไฟ จึงช่วยป้องกันการเกิดเหตุอัคคีภัยได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยดูดซับเสียง ด้วยวัสดุของฉนวนใยแก้วที่สร้างจากเนื้อแก้วที่ปั่นเป็นเส้นใยทำให้มีการดูดซับเสียงได้ดี ทั้งยังขัดขวางการเดินทางของเสียงทำให้เสียงภายในท่อหรือภายนอกอาคารเช่น เสียงฝน ไม่เข้าไปรบกวนการทำกิจกรรมหรือการพักผ่อน
  • ป้องกันการควบแน่นเป็นน้ำ หลายคนอาจเคยเจอปัญหาน้ำหยดหรือน้ำซึมผ่านท่อซึ่งเกิดจากการควบแน่นเป็นหยดน้ำมาบ้าง บอกได้เลยว่าฉนวนใยแก้วนั้นจะไม่มีปัญหาเหล่านี้เพราะด้วยวัสดุที่ใช้ถูกปิดผิวกันความชื้น
  • ทนทานต่อแรงกด ฉนวนใยแก้วนั้นได้รับการออกแบบให้ทนทานต่อการใช้งานหลากหลายรูปแบบ จึงมีความยืดหยุ่นสูง หากมีแรงกดกระทบลงมาก็สามารถคืนตัวได้ดี จึงไม่สูญเสียคุณสมบัติของฉนวนไป
  • ติดตั้งได้สะดวกและง่ายดาย การติดตั้งตัวช่วยกันความร้อนนั้นนับเป็นสิ่งสำคัญในสิ่งก่อสร้างหลายรูปแบบทีเดียว จึงมีการออกแบบให้ฉีกขาดได้ยาก มีน้ำหนักเบาทำให้การติดตั้งสะดวกมากขึ้น
  • อายุการใช้งานยาวนาน วัสดุที่ใช้ในการทำฉนวนใยแก้วนั้นเป็นวัสดุที่ไม่เสื่อมสภาพ ทั้งยังไม่เป็นอาหารของสัตว์ต่างๆ แมลงและเชื้อรา จึงทำให้อายุการใช้งานของฉนวนใยแก้วยาวนาน
  • ได้รับการรับรองว่าปลอดภัยต่อสุขภาพ ฉนวนใยแก้วนี้ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกหรือ WHO มาแล้วว่าไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์

ทำความรู้จักฉนวนใยแก้วกันความร้อน scg

ตัวฉนวนเป็นซิลิกา วัสดุผลิตมาจากแก้ว นำไปหลอมละลายแล้วปั่นเป็นเส้นใย มีคุณสมบัติทนและกันความร้อนได้ดีมาก สามารถติดไฟได้แต่ไม่ลามไฟ (ตรงข้ามกับวัสดุกันความร้อนหลายชนิดที่ลามไฟได้รวดเร็ว) วัสดุเส้นใยแก้วเมื่อแตกตัว จะมีอนุภาคใหญ่เกินกว่า จะเข้าสู่ทางเดินหายในของมนุษย์ได้ จึงไม่เป็นสารก่อมะเร็ง

ผลิตภัณฑ์ฉนวนใยแก้วกันความร้อนที่ขายในท้องตลาด จะมีลักษณะเป็นแผ่น หรือเป็นม้วน โดยจะมีทั้งรุ่นที่ผลิตมาสำหรับติดตั้งบนแปหลังคา ติดตั้งบนฝ้าเพดาน และติดตั้งที่ผนัง

เหตุผลที่คุณควรเลือก “ฉนวนใยแก้ว” จาก SCG

หากคุณพอทราบแล้วว่าฉนวนใยแก้วคืออะไร แต่ยังนึกภาพไม่ออก ว่ามีเหตุผลอะไรที่ควรซื้อฉนวนใยแก้ว SCG? ดีกว่าฉนวนประเภทอื่นยังไงบ้าง ส่วนนี้เราจะขอมาพูดถึงเหตุผลที่คุณควรซื้อฉนวนใยแก้วไปติดบ้าน หรืออาคารกันแต่จะมีเหตุผลที่น่าสนใจ หรือดียังไงบ้างมาดู

1. กันความร้อน-ความเย็นได้ดีมาก

ถ้าเป็นฉนวนแต่ไม่พูดถึงประสิทธิภาพที่ฉนวนดีๆ ควรจะมีก็ไม่ได้แน่นอนว่าฉนวนใยแก้ว SCG สามารถป้องกันอุณหภูมิความร้อน ไม่ให้เข้าสู่พื้นที่ ที่ติดตั้งฉนวนได้เป็นอย่างดี ค่านำความร้อนต่ำ (ใช้งานอุณหภูมิสูงสุด 4-120 องศาเซลเซียสหรือแล้วแต่รุ่น) พร้อมเสริมด้วยอลูมิเนียมฟอยล์เสริมแรง 3 ทางแต่ไม่ได้หมายความว่าจะกันความร้อนอย่างเดียว เพราะสามารถกันความเย็นได้ด้วย ทำให้ภายในอาคารมีอุณหภูมิที่สมดุลไม่หนาว หรือร้อนจนเกินไป แม้ไม่ต้องเปิดแอร์เบอร์แรง ก็หมดปัญหาร้อนจนเหงื่อตกระหว่างวัน

2. ไม่ได้กันแค่อุณหภูมิ

ใครว่าฉนวนใยแก้วช่วยปรับแค่สมดุลอุณหภูมิไม่จริง นั่นอาจเป็นแค่ฉนวนรูปแบบเก่า เพราะฉนวนรุ่นใหม่ที่ผ่านการพัฒนามาอย่างดีของ SCG มีสาร HydroProtecTM สามารถป้องกันการซึมผ่าน และลดการอุ้มน้ำสูงถึง 10 เท่ารวมถึงลดเสียงรบกวนจากภายนอก หากเจอเสียงดังกะทันหัน อย่างเสียงดังธรรมชาติฝนตก ก็จะสัมผัสได้ทันทีว่าห้องเงียบมากขึ้นถ้าไม่ร้องเพลงเสียงดังเกินไป หรือเลี้ยงสัตว์ตัวเล็กๆ ที่ไม่ได้เสียงดังอะไรมาก ก็พอเก็บเสียงได้อยู่ นอกจากนี้ปกติพวกเส้นใยจะไม่ได้กันไฟ และค่อนข้างลุกลามง่ายแต่ฉนวนใยแก้วของ SCG ยังสามารถป้องกันลุกลามของไฟโอกาสติดไฟน้อยมากด้วย

3. ประหยัดพลังงาน

ฉนวนใยแก้ว สามารถช่วยประหยัดการใช้พลังงานลงได้จากที่สาเหตุคือ ปกติแล้วถ้าเราไม่ได้รับความร้อนจากด้านนอก เราก็จะไม่ร้อนลองดูง่ายๆ อย่างช่วงเวลากลางคืนเราก็ไม่ได้รู้สึกร้อนอย่างตอนกลางวัน หากทุกคนใส่ในเรื่องการเลือกฉนวนกันความร้อน ก็จะช่วยประหยัดการใช้พลังงานลงอย่างของ SCG ราคาไม่แพงแต่สามารถลดลงได้กว่า 40% ไม่ต้องใช้พลังงานที่ใช้แล้วหมดไป เพื่อเปลี่ยนมาเป็นความเย็น เพราะแค่ป้องกันความร้อนได้ดีก็ช่วยให้ผู้อยู่อาศัย หรือใช้งานในอาคารนั้น สามารถเย็นสบายได้แน่นอนว่าพอประหยัดพลังงานลงได้แล้วสิ่งที่ตามมาก็คือประหยัดค่าใช้จ่าย

4. ปลอดภัยต่อสุขภาพ

เคยมีข่าวเกี่ยวกับพวกเส้นใยแร่ อะไรประมาณนี้ออกมาแล้วคนสับสนว่า ฉนวนใยแก้วจะเกี่ยวข้อง หรือมีอันตรายกับเส้นใยเหล่านั้นไปด้วย แต่ความจริงแล้ว ฉนวนใยแก้วมีความปลอดภัยต่อสุขภาพห่างไกลจากมะเร็ง หรืออันตรายแก่ผิวหนัง ในขณะที่เส้นใยแก้วของ SCG จะมีลักษณะภายในเป็นทรงกระบอกขนาดจิ๋วประมาณ 7 ไมครอนใหญ่เกินกว่าจะเข้าไปในถุงลมปอด หรือแทรกซึมลงไปในชั้นผิวหนัง ตามที่เคยมีคนลือกัน เพราะงั้นปลอดภัยสบายใจได้แน่นอน ทั้งนี้ยังผ่านการรับรองจากสถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติ (IARC) ขององค์การอนามัยโลกอีกว่าฉนวนประเภทนี้ ไม่สามารถก่อให้เกิดมะเร็งด้วย

5. ขนย้าย และติดตั้งง่าย

หลังจากที่ฉนวนสมัยก่อนจะแผ่นหนามีน้ำหนักเยอะ และค่อนข้างติดตั้งยากต้องผ่านการคำนวณจากวิศวกรมาเป็นอย่างดี แต่ฉนวนใยแก้วโฉมใหม่จะมีน้ำหนักเบาขนย้าย และติดตั้งสะดวกสบาย ไม่ฉีกขาดง่าย หรือเสื่อมสภาพง่ายคลายตัวได้ดี โดยเฉพาะ SCG ที่แม้สัมผัสความชื้น ก็สามารถกลับคืนตัวได้ ไม่ต้องกังวลว่าติดฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาแล้วจะมีปัญหา หรือยากต่อการติดตั้งบางรูปแบบอาจคำนวณขนาดมาให้พอดี พร้อมติดตั้งทันที แค่คลี่ออกแล้วติดตั้งก็เรียบร้อย

6. อายุการใช้งานยาวนาน

ปกติแล้วหากฉนวนใยแก้วที่เลือกมามีคุณภาพดี และติดตั้งอย่างเหมาะสมอายุการใช้งานก็ยาวนานเฉลี่ย 20 ปีขึ้นไป หากมีการดูแล และใช้งานอย่างเหมาะสมร่วมด้วยก็อาจอยู่ได้นานสูงสุดถึง 100 ปีเมื่อเทียบกับราคาก็เหมือนกับการลงทุนในระยะยาว ซึ่งฉนวนใยแก้ว SCG ราคาก็ไม่ได้สูงอะไรใกล้เคียงกับฉนวนรูปแบบอื่นในท้องตลาด แต่ให้ความคุ้มค่าได้มากกว่าหลายตัวในตลาด

ข้อควรระวัง ตัวฉนวนใยแก้วอาจทำให้ผิวหนังมีอาการระคายเคืองได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการแพ้วัสดุชนิดนี้ ดังนั้น ในการติดตั้งจึงควรสวมถุงมือ และเสื้อผ้ามิดชิด เพื่อเลี่ยงการสัมผัสฉนวนใยแก้วโดยตรง

หน้าที่ของฉนวนกันความร้อนใยแก้วคือ ช่วยป้องกันความร้อนไม่ให้ผ่านเข้ามาในบ้าน โดยคุณสมบัติของตัวฉนวนจะมีค่ากันความร้อนหรือค่า R (ค่า R จะมากขึ้นตามความหนาฉนวนด้วย) การติดตั้งฉนวนกันความร้อนจะเป็นการเพิ่มค่า R ให้กับบริเวณที่ติดตั้ง ไม่ว่าจะเป็น ผืนหลังคา ฝ้าเพดาน หรือผนัง

ฉนวนใยแก้วกันความร้อน SCG

ฉนวนใยแก้วกันความร้อน SCG

ฉนวนกันความร้อน SCG ผลิตจากแก้วรีไซเคิล 100% มีสาร HydroProtecTM ที่ช่วยลดการอุ้มน้ำได้ถึง 10 เท่า รวมถึงเป็นวัสดุที่ไม่ลามไฟ ตามมาตรฐาน ASTM E84, BS476 ออกแบบมาสำหรับติดตั้งบริเวณเหนือฝ้าเพดานแบบฉาบเรียบ และแบบที-บาร์ เพื่อป้องกันความร้อนที่มาทางโถงหลังคา ผ่านฝ้าเพดาน โดยหุ้มรอบด้านด้วยแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์เสริมแรง ฉีกขาดเสียหายได้ยาก ทนต่ออุณหภูมิ พร้อมมาตรฐานฉลากเขียว และฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5

คุณสมบัติเด่น

  • ติดตั้งง่าย Easy to Install ฉนวนมีน้ำหนักเบา ทนต่อแรงดึงดูด ทำให้ไม่ฉีกขาดง่าย จึงติดตั้งสะดวก
  • ไม่ดูดซึมน้ำ ป้องกันการซึมผ่านของน้ำ ปราศจากความชื้น
  • ลดความร้อนสะสม ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่า 40 %
  • ปราศจากสารพิษ และโลหะหนักในการผลิต ปลอดภัยในการใช้งาน
  • ชั้นเลเยอร์มีอายุการใช้งานยาวนาน ไม่เสื่อมสภาพกว่า 10 ปี
  • กันความร้อน Thermal insulation มีค่าการนำความร้อนต่ำ สามารถต้านทานความร้อนได้ดี ช่วยลดปริมาณความร้อนที่เข้ามาในอาคาร
  • ป้องกันเสียงรบกวน Noise Reduction สามารถลดเสียงรบกวนจากภายนอก เช่น เสียงฝนตกกระทบหลังคาเหล็กรีด
  • ไม่ลุกติดไฟ Non-Flammable เป็นวัสดุไม่ลามไฟ ที่ทดสอบตามมาตรฐาน ASTM E84 และ BS476 จึงไม่เป็นชนวนก่อให้เกิด อัคคีภัย
  • ทนต่อแรงกด Compressive Strength ฉนวนมีความยืดหยุ่นได้ดี สามารถคืนตัวได้ดี หลังการกดทับ จึงไม่สูญเสียคุณสมบัติการเป็นฉนวน
  • อายุการใช้งานยาวนาน Long Life insulation ฉนวนทำมาจากฉนวนใยแก้วสีเขียว ซึ่งทนทาน และไม่สามารถถูกกัดโดยมอดหรือปลวก หรือขึ้นราได้
  • ป้องกันการควบแน่นเป็นหยดน้ำ Consideration Control เมื่อเลือกความหนาที่เมหาะสม จะไม่เกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำจากความแตกต่างของอุณหภูมิของอาคารที่ปรับอากาศ

วิธีใช้งาน

สำหรับติดตั้งบนฝ้า เพื่อลดความร้อนจากรังสียูวีไม่ให้เข้าสู่ตัวบ้าน หรืออาคารสำนักงานควรวัดระยะให้แน่ชัด ก่อนการติดตั้ง

คำแนะนำ

  • ศึกษาข้อมูลการใช้งานอย่างละเอียด
  • ควรติดตั้งโดยช่างผู้ชำนาญการ และติดตั้งบนโครงสร้างที่แข็งแรง

ข้อควรระวัง

  • ห้ามดัดแปลง แก้ไขสินค้า หรือนำไปใช้งานผิดประเภท
  • ห้ามใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรด และด่างทำความสะอาด
  • จัดเก็บในที่แห้ง และพ้นมือเด็ก
  • ห้ามจัดเก็บใกล้ความร้อน และเปลวไฟ
  • หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดโดยตรงเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้สินค้าเสียหาย
  • ห้ามใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน

อายุการใช้งาน

อายุการใช้งานของฉนวนใยแก้วกันความร้อน นั้นยาวนานกว่า 10 ปี โดยเมื่อระยะเวลาผ่านไป เนื้อฉนวนจะบางลง ตามสภาวะแวดล้อมของแต่ละบ้าน ประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนอาจจะลดลง แต่ยังสามารถใช้งานได้อยู่ หากต้องการจะเปลี่ยนใหม่ อาจพิจารณาในช่วงที่จะรีโนเวท ปรับปรุงบ้าน โดยตรวจสอบก่อนว่า โครงคร่าวและสภาพของฉนวนเดิมเป็นอย่างไร

หากฉนวนเดิมอยู่ในสภาพดี และโครงคร่าวเดิมสามารถรับน้ำหนักฉนวนใหม่ที่เพิ่มขึ้นได้ ก็สามารถปูฉนวนใหม่ทับของเดิมได้เลย โดยไม่ต้องรื้อออก หากฉนวนเดิมอยู่ในสภาพไม่ดี (อะลูมิเนียมฟอยล์ที่หุ้มเกิดการฉีกขาดหลายจุดจนยากแก่การซ่อมแซม) ก็ควรรื้อฉนวนเดิมออก เพื่อปูฉนวนใหม่ทดแทน โดยปฏิบัติตามคู่มือการติดตั้งอย่างเคร่งครัด

เมื่อติดตั้งฉนวนที่ช่วยป้องกันความร้อนที่จะผ่านเข้ามาแล้ว อย่าลืมเรื่องการระบายอากาศที่ดี เพื่อให้สามารถระบายความร้อนออกจากตัวบ้านด้วยเช่นกัน

นวัตกรรมรักโลก

ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี ได้รับฉลากเขียวในการรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากใช้แก้วรีไซเคิล 100% และยังผลิตด้วยกระบวนการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด จึงได้รับฉลาก SCG Eco Value เนื้อฉนวนใยแก้วของฉนวนกันความร้อน เอสซีจี ได้รับการรับรองโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาสญด้านสุขภาพ และความปลอดภัยของวัสดุประเภทเส้นใย จากสถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติ International Agency for Research for Cancer IARC ขององค์กรอนามัยโลก WHO ว่าไม่เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ ดังนั้นฉนวนใยแก้วจึงนิยมใช้งานกว้างขวางทั้งในยุโรป อเมริกา และอีกหลายประเทศทั่วโลก

ฉนวนใยแก้วกันความร้อน MicroFiber

MicroFiber เบอร์ 5 PLUS เป็นฉนวนกันความร้อน และดูดซับเสียงที่ผ่านกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับใช้ปูบนฝ้าเพดานทุกชนิด เนื้อฉนวนใส่สารพิเศษ Non Water Absorption ที่ช่วยลดการอมน้ำ ไม่ดูดซับน้ำและความชื้น ห่อหุ้มรอบด้านด้วยแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนความร้อน คุณภาพสูงจากโรงงาน โดยผลิตขึ้นตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 486 , 487 และมาตรฐานสากล ASTM, Australian Standards และเป็นไปตามมาตรฐานที่ใช้ในอาคารเขียว

เป็นฉนวนที่ผลิต และออกแบบ สำหรับใช้ปูบนฝ้าเพดานทุกชนิดเช่นฝ้าเพดานยิปซั่มแบบทีบาร์, ฝ้าเพดานยิปซั่มแบบฉาบเรียบ, ฝ้าเพดานกระเบื้องแผ่นเรียบ และฝ้าเพดานไม้ เป็นต้น เหมาะสำหรับใช้งานกับอาคาร สำนักงาน โรงงาน และที่พักอาศัยที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว หรือกำลังก่อสร้างใหม่

ฉนวนใยแก้วกันความร้อน MicroFiber

วัสดุปิดผิวเลือกใช้วัสดุห่อหุ้มรอบด้าน ด้วยแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนความร้อนสูง 95% ทนทานต่อแรงดึงได้ดี ไม่ฉีกขาดง่าย ไม่ลามไฟ ป้องกันน้ำ และความชื้จากโรงงาน

คุณสมบัติเด่น

  • กันความร้อน และดูดซับเสียง MicroFiber เบอร์ 5 เลือกใช้วัสดุห่อหุ้มรอบด้านด้วยแผ่น Metalized Film ที่มีคุณภาพสูง ทนทาน ไม่ฉีกขาดง่าย ป้องกันน้ำ และความชื้น ช่วยเพิ่มความสว่างให้กับอาคาร

คุณสมบัติทั่วไป

  • เป็นฉนวนที่มีความหนาแน่น และความหนามาก มีค่าการนำความร้อนต่ำ และมีประสิทธิภาพในการต้านทานความร้อนสูง จึงช่วยกันความร้อนที่เข้าสู่อาคารได้มาก
  • กันเสียง และดูดซับเสียง เป็นฉนวนที่มีโพรงอากาศเป็นจำนวนมาก จึงมีคุณสมบัติในการดูดซับเสียงที่ดี และมีประสิทธิภาพ จึงเป็นที่ยอมรับ และเลือกใช้ในการกันเสียง และดูดซับเสียงกับหลังคาของอาคารต่างๆ
  • น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย ทนทานต่อแรงดึง ไม่ฉีกขาดง่าย คืนตัวได้ดี เมื่อได้รับแรงกด จึงสะดวกต่อการติดตั้งกับหลังคาทุกประเภท ทั้งหลังคาเก่า และหลังคาใหม่
  • ป้องกันการควบแน่นเป็นหยดน้ำ เป็นฉนวนที่เลือกใช้วัสดุปิดผิวที่มีคุณภาพสูง ป้องกันน้ำ และความชื้นได้ดี เมื่อเลือกใช้ความหนา ความหนาแน่น และการติดตั้งฉนวนที่เหมาะสม จะไม่เกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำ จากความแตกต่างของอุณหภูมิของอาคารที่ปรับอากาศ
  • อายุการใช้งานยาวนาน ผลิตจากเส้นใยแก้วเป็นวัสดุที่ไม่เสื่อมสภาพ ไม่เป็นอาหารของสัตว์ แมลง และเชื้อรา สามารถคงสภาพความเป็นฉนวนได้ยาวนาน
  • ไม่ลุกติดไฟ ผลิตจากวัตถุดิบที่ไม่ติดไฟ และไม่ลามไฟ จึงไม่เป็นชนวนก่อให้เกิดอัคคีภัย

ตำแหน่งไหนที่ควรติดฉนวน

เรื่องที่ทุกคนควรรู้คือ ฉนวนกันความร้อนไม่จำเป็นต้องติดเฉพาะบนเพดาน เพราะความร้อนสามารถเข้าผ่าน และดูดซับให้เกิดความร้อนภายในห้องได้หลากหลายตำแหน่ง เราจึงขอมาแนะนำว่า ตำแหน่งไหนที่ติดฉนวนได้บ้าง เพื่อให้การป้องกันความร้อนมลพิษทางเสียง และอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพคุ้มกับที่ได้ลงทุนไปกัน

1. ติดบนหลังคา

จุดที่มีโอกาสสัมผัสกับแสงแดด และความร้อนได้โดยตรง ถือเป็นจุดสำคัญที่ควรติดฉนวนกันความร้อน แต่หลายคนมักมองข้ามคิดแค่ว่า ติดแค่กระเบื้องหลังคาก็เพียงพอแล้ว เลยมักจะติดในอาคาร หรือโรงงานขนาดใหญ่ที่มีงบมากพอ จะติดฉนวนอีกชั้นมากกว่า แต่สำหรับที่อยู่อาศัย หรืออาคารทั่วไป หากคุณอยากได้การป้องกันความร้อนอย่างเต็มที่ ก็ขอแนะนำให้ติดบนหลังคาเพิ่มอีกชั้น แต่ควรเลือกวัสดุที่แข็งแรงทนทานป้องกันได้ ทั้งความร้อน และน้ำเป็นอย่างดี เช่น อาจเลือกฉนวนโฟมโพลียูรีเทน หรือหากใช้ฉนวนใยแก้วควรเลือกใช้แบบ ที่มีคุณสมบัติรองรับการใช้งานฯลฯ

2. ฉนวนบนฝ้าเพดาน

บางแห่งอาจจะไม่ได้ติดบนหลังคา แต่เลือกจะมาติดฉนวนบนฝ้าเพดานแทน เพราะสามารถเลือกวัสดุฉนวนที่ประหยัดลงได้มากกว่า และยืดอายุการใช้งานได้ยาวนานกว่าการสัมผัสกับแสงเดด หรือความชื้นโดยตรง กับวิธีการปูลาดบนฝ้าเพดานด้วยฉนวนใยแก้ววัสดุ ที่ราคาไม่สูง แต่คุ้มค่าอายุการใช้งานยาวนานป้องกันความร้อนได้เป็นอย่างดี ประหยัดพลังงานได้กว่า 40% กันความชื้นได้ในระดับหนึ่งอย่าง SCG ที่แม้มีความชื้นหลุดรอดมาจากบนหลังคา ก็สามารถรองรับป้องกันการดูดซึมความชื้นได้ ไม่มีปัญหาอายุการใช้งานยาวนานหลายสิบปี คุ้มค่าสมการลงทุนแน่นอน

3. ติดบริเวณผนัง

เพราะแสงแดด และความร้อนไม่ได้เข้าได้แค่ด้านบน แต่ยังสามารถกระจายได้รอบๆ ทั่วตัวอาคาร เพราะงั้นการเลือกติดฉนวนกันความร้อนที่บริเวณผนัง ก็ถือเป็นอีกตำแหน่งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน แต่ไม่ควรหนามาก หรือน้ำหนักเยอะจนเกินไป เพราะจะทำให้ติดตั้งยาก และลดพื้นที่ภายในห้องให้ดูแคบลง วัสดุที่แนะนำให้ติดเป็นฉนวนบริเวณผนังห้องคือ ฉนวนใยแก้ว เพราะแผ่นไม่หนาน้ำหนักเบาติดตั้งง่าย และคงทนนานไม่ต้องรื้อผนังบ่อย แถมไม่ใช่แค่ช่วยกันความร้อน แต่ยังช่วยเรื่องเก็บ-กันเสียงได้ในตัวเองด้วย

4. ติดบริเวณอื่น

นอกจากการติดตั้งฉนวนทั้ง 3 ตำแหน่งแล้ว ยังอาจนำไปติดตั้งที่ตำแหน่งอื่นๆ ได้อีก เช่น ขอบประตู-หน้าต่าง, พื้น ฯลฯ แต่หลักสำคัญคือ ไม่ว่าจะติดตั้งไว้ตรงไหนก็ตาม จำเป็นต้องพิจารณาว่าจำเป็น หรือไม่อาจสังเกตง่ายๆ ได้จากช่วงเวลากลางวันว่าอุณหภูมิภายในห้อง มีความร้อนมากน้อยแค่ไหน ปกติเวลากลางวัน จำเป็นต้องใช้พื้นที่ตรงนั้นมั้ย และควรใช้ฉนวนวัสดุไหน ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ติดในตำแหน่งจุดนั้นบ้าง

นอกจากนี้ไม่เฉพาะแค่งานกันความร้อนรอบที่อยู่อาศัย และอาคารแต่ในแวดวงโรงงานอุตสาหกรรม จะเห็นว่ามีการนำฉนวนใยแก้วไปใช้ในงานคลุมท่อ และอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยอยู่ที่ว่าตอบโจทย์การใช้งานได้ หรือไม่ และราคาคุ้มค่ากับการลงทุนมากแค่ไหน

วิธีการติดตั้งด้วยฉนวนใยแก้ว

ส่วนวิธีการติดตั้งฉนวนใยแก้ว เพื่อป้องกันความร้อนด้วยฉนวน SCG อย่างที่เราได้บอกไปว่าใช้วิธีง่ายๆ ซึ่งคุณเองก็สามารถลงมือทำ โดยไม่ต้องพึ่งช่างได้

  • สำหรับการติดบนฝ้า

คุณสามารถหาฉนวนใยแก้ว SCG มาเตรียมปูทับได้ทั้งบนฝ้าฉาบเรียบ และฝ้าทีบาร์ให้พร้อมได้เลย เพราะเป็นฉนวนที่ติดง่ายแม้มือใหม่ ไม่เคยติดตั้งเองก็ตาม โดยเริ่มจากเปิดฝ้ามา แล้วนำฉนวนขึ้นไปด้านบนฝ้าเพดาน หรือรื้อแผ่นฝ้าออกมาติด (กรณีที่ไม่เยอะและขึ้นไปทำไม่ถนัด) จากนั้นก็ติดฉนวนตามแนวของฝ้าให้เรียบร้อย แต่ในกรณีที่ติดลวดแขวน อาจตัดแต่ละชิ้น แล้วแปะเทปอลูมิเนียมให้เต็มพื้นที่ ที่ต้องการจะติดก็ได้เช่นกัน

  • สำหรับติดใต้หลังคา

เชื่อว่าส่วนใหญ่จะเป็นบ้านที่มีการสร้างเสร็จ และวางกระเบื้องหลังคาเรียบร้อย อาจใช้วิธีติดตั้งฉนวนใยแก้วด้วยการรื้อหลังคาที่มุง แล้วติดทับไปตามโครงหลังคา หากใช้ฉนวนใยแก้วของ SCG ให้เอาฝั่งอลูมิเนียมหันออก เพื่อสะท้อนแดดออก จากนั้นก็เอากระเบื้องมุงหลังคามาติดทับฉนวนกันความร้อนอีกที ดูแล้วถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยาก หากคุณกำลังอยู่ในช่วงวางแผนจะสร้าง หรือยังสร้างไม่เสร็จก็ควรพูดคุยกับช่าง เพื่อให้ช่างทำการติดตั้งให้ก่อนมุงหลังคาจะดีกว่า

  • สำหรับติดข้างผนัง

สามารถนำเอาฉนวนใยแก้วของ SCG มาติดรอบๆ บ้านได้เลย โดยนำเอาฝั่งใยแก้วยึดไว้กับปูน ให้ฝั่งอลูมิเนียมหันออกสะท้อนแดด จากนั้นก็เอาไม้ฝา หรือวัสดุตกแต่งนอกบ้าน เพื่อความสวยงามมาเรียงทับอีกชั้น เพียงเท่านี้ฉนวนก็จะช่วยรักษาอุณหภูมิภายในบ้าน ให้อยู่ระดับสมดุล และป้องกันการเพิ่มอุณหภูมิจากภายนอก ไม่ให้ไหลเข้าสู่ภายในด้วย หรือหากไม่อยากติดข้างนอกบ้าน แต่อยากติดง่ายๆ ภายในบ้านก็อาจจะหาตัวช่วยเพิ่มเติมจากโครงไม้ เพื่อแบ่งการจัดเรียง และยึดแผ่นฉนวนได้โดยง่าย แล้วปิดทับด้วยแผ่นไม้เนื้อบางอีกชั้น เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อย

ทั้งนี้หากงานติดตั้งฉนวนใยแก้ว เป็นงานใหญ่ระดับอาคาร หรือโรงงานอาจจำเป็นจะต้องพึ่งฝีมือช่างมาติดตั้งแทน เพื่อให้ทำงานได้เนี๊ยบ และไวประหยัดเวลา แถมการติดตั้งแบบถูกวิธีจะช่วยให้ฉนวนกันความร้อน สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอายุการใช้งานยาวนานขึ้นด้วย

ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ด้วยความชำนาญในการผลิตฉนวนใยแก้วกันความร้อน และดูดซับเสียงที่ยาวนานกว่า 40 ปี พร้อมกับมีการปรับปรุง และพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ บริษัท ไมโครไฟเบอร์อุตสาหกรรม จำกัด มีระบบการจัดการทรัพยากร ที่สามารถแปรสภาพนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยใช้เศษแก้วแทนมากกว่า 80 % ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ผลิตภัณฑ์ฉนวนไมโครไฟเบอร์ จึงได้รับเครื่องหมายฉลากเขียวที่แสดงถึง ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ติดฉนวนใยแก้วกันความร้อนแล้วทำไมบ้านยังร้อน

สำหรับเจ้าของบ้านที่ซื้อฉนวนใยแก้วกันความร้อน มาติดตั้งบริเวณหลังคา หรือฝ้าเพดาน แล้วพบว่าบ้านไม่ได้เย็นขึ้นอย่างที่คิด ให้ลองหันมาดูปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดความร้อนในบ้าน รวมถึงช่องทางระบายความร้อนออกไปนอกบ้าน ทั้งนี้ อาจลองพิจารณาวิธีอื่นๆ ที่ช่วยลดความร้อนในบ้านด้วย ปัญหาบ้านร้อน นับเป็นเรื่องธรรมดาของผู้ที่อาศัยเขตเส้นศูนย์สูตรอย่างประเทศไทย วิธีแก้ปัญหาที่มักนึกถึงกันคือ การติดตั้ง ฉนวนใยแก้วกันความร้อน และเนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้นภายในบ้าน ประมาณ 70 % มักมาจากทางหลังคาบ้าน เจ้าของบ้านจึงมักได้รับคำแนะนำ ให้ติดฉนวนกันความร้อนที่หลังคา หรือฝ้าเพดานชั้นบนสุด

แต่ทั้งนี้ อาจมีบางกรณี ที่ซื้อฉนวนมาติดตั้งตามคำแนะนำแล้ว แต่ความร้อนในบ้านก็ไม่ได้ลดลง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ก่อนอื่น เจ้าของบ้านควรทำความเข้าใจ ถึงแหล่งกำเนิดของความร้อนภายในบ้าน ว่ามาจากส่วนใดได้บ้าง

ติดฉนวนใยแก้วกันความร้อนแล้วทำไมบ้านยังร้อน

ความร้อนในบ้านมาจากไหน

โดยทั่วไปความร้อนภายในบ้านส่วนใหญ่ มักมาจากแสงแดดที่ส่งผ่านความร้อน เข้ามาในบ้าน ผ่านทางหลังคา และฝ้าเพดานชั้นบน อีกทางที่เข้ามาได้ง่ายคือ ผนังกระจก และประตูหน้าต่างกระจก ทั้งนี้ แสงแดดยังส่งผ่านความร้อนบางส่วนผ่านผนังทึบได้ด้วย โดยจะมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับค่ากันความร้อน หรือที่เรียกว่า “ค่า R” ของระบบผนัง ซึ่งแตกต่างกันไปตามชนิดของวัสดุ และการติดตั้ง นอกจากนี้ การทำกิจกรรมประจำวันภายในบ้านก็ทำให้เกิดความร้อนได้เช่นกัน

ติดฉนวนใยแก้วกันความร้อนอย่างเดียวเพียงพอ หรือไม่

แม้การติดฉนวนกันความร้อนที่หลังคา จะช่วยป้องกันความร้อนจากบริเวณหลังคาได้ แต่ในขณะเดียวกัน ความร้อนจากส่วนอื่นๆ ก็ควรป้องกันด้วยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความร้อนจากผนัง โดยเฉพาะด้านที่โดนแดดแรงควรทำเป็นผนังทึบด้วยวัสดุที่มีค่า R สูง ไม่อมความร้อน และอาจติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติมด้วย สำหรับผนังส่วนที่จำเป็นต้องใช้กระจกใส อาจลดความร้อน โดยติดตั้งแผงบังแดดเพิ่ม ติดฟิล์มช่วยกันความร้อนบนกระจก นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นๆ ที่ช่วยลดความร้อนได้ อย่างการปลูกต้นไม้ให้ร่มเงาบังแดด การเลือกใช้วัสดุที่มีค่า R สูง และไม่อมความร้อน เป็นต้น

อีกเรื่องสำคัญที่ลืมไม่ได้คือ การจะทำบ้านในเมืองร้อนให้เย็นได้นั้น “ควรมีการระบายอากาศที่ดี” เพื่อให้ความร้อนภายในบ้านสามารถระบายออกไปนอกบ้านได้ ไม่ว่าจะเป็นประตูหน้าต่างที่เพียงพอในตำแหน่งเหมาะสม การทำช่องทางระบายอากาศบริเวณหลังคา (ติดตั้งฝ้าชายคาแบบมีรูระบายอากาศหรือทำเป็นระแนงเพื่อระบายอากาศ) เป็นต้น

ทั้งนี้หากบ้านติดตั้งอยู่ในบริเวณที่มีมลภาวะมาก เช่นในเมือง อาจใช้อีกทางเลือกซึ่งต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วย คือ การปิดบ้านให้มิดชิด โดยติดตั้งอุปกรณ์ที่ดึงเอาอากาศจากภายนอกมาใช้ในบ้านผ่านระบบกรอง จากนั้น อากาศที่ใช้แล้วพร้อมความร้อน จะถูกปล่อยทิ้งออกไปนอกบ้าน

การแก้ปัญหาบ้านร้อน อาจไม่ใช่แค่การติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพียงอย่างเดียว แต่ควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีส่วนในการป้องกันความร้อนในบ้านให้ครอบคลุม รวมถึงระบบระบายอากาศที่ดี เพื่อให้ความร้อนระบายออกไปจากบ้านได้ ปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้อุณหภูมิในบ้านลดลง ทำให้สามารถอยู่อาศัยได้อย่างสบายมากขึ้น รวมถึงช่วยลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศได้ด้วย

3 ข้อสงสัยเกี่ยวกับฉนวนใยแก้วที่พบเจอบ่อย

1. ฉนวนใยแก้วมีโอกาสปล่อยให้ความร้อนรั่วไหลง่าย

  • ไม่จริงแม้ว่าฉนวนใยแก้วจะมีรูช่องว่างขนาดจิ๋วอยู่ทั่วทุกเส้นใย เพื่อให้เกิดการปล่อยอากาศออก ไม่เก็บความร้อนไว้ที่ฉนวน นอกจากนี้ฉนวนใยแก้วของ SCG ยังมีฝั่งอลูมิเนียมสะท้อนความร้อนกลับด้วย

2. เพิ่มความหนาด้วยการใส่ฉนวนใยแก้วทับหลายชั้นดีมั้ย

  • ไม่ดีเสมอไป เพราะส่วนหนึ่งที่ฉนวนใยแก้ว สามารถทำงานได้ดีก็มาจากช่องอากาศเล็กๆ ที่กระจายอยู่โดยรอบ เพราะงั้นนอกจากการอัดฉนวนใยแก้วไปเพิ่มหลายชั้น จะไม่ได้ช่วยให้ป้องกันได้ดีขึ้นแล้ว ยังลดพื้นที่ และสิ้นเปลืองวัสดุ ไปโดยเปล่าประโยชน์ทางที่ดีคือ ควรเลือกวัสดุที่เหมาะกับการใช้งานตั้งแต่แรก

3. ฉนวนใยแก้วไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม

  • ในกระบวนการบางขั้นตอน อาจต้องใช้พลังงานสูง แต่วัสดุที่นำมาใช้สร้างฉนวนใยแก้ว ส่วนใหญ่จะใช้แก้วรีไซเคิล 50-70% โดย SCG ใช้แก้วรีไซเคิล 100% อายุการใช้งานยาวนานหลายสิบปี ซึ่งดีต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวกว่าวัสดุอื่นๆ อีกหลายชนิด

การเลือกซื้อฉนวนใยแก้ว

ในการเลือกซื้อฉนวนใยแก้วนั้นนอกจากการเลือกตามประเภทการใช้งานแล้วยังมีรายละเอียดอีกหลายอย่างที่ควรพิจารณาอยู่ด้วยเช่นกัน โดยจะมีรายละเอียดความแตกต่างอยู่ที่ ความหนาแน่น(Density) ความหนา(Thickness) ค่าการต้านทานความร้อน(Resistivity หรือ ค่า R)และค่าการนำความร้อน(Conductive หรือ ค่า K) ซึ่งจะเน้นพิจารณาที่ความหนาแน่นของฉนวนใยแก้วและความหนาของฉนวนเป็นหลัก ฉนวนใยแก้วส่วนใหญ่จะมีให้เลือก ดังนี้

ความหนาแน่น             (กก./ลบ.ม.) ความหนา                     (มิลลิเมตร) ค่าการต้านทานความร้อน (m2K/W) ค่าการนำความร้อน(W/m2K)
16 25 0.38 0.658
16 38 0.38 1.000
16 50 0.38 1.316
24 25 0.35 0.714
24 38 0.35 1.086
24 50 0.35 1.429
32 25 0.33 0.758
32 38 0.33 1.152
32 50 0.33 1.515
48 25 0.32 0.781

ซื้อฉนวนใยแก้วที่ไหนดีให้ได้ราคาสุดคุ้ม

สำหรับใครที่สนใจต้องการหาซื้อฉนวนใยแก้วมาติดตั้งกันความร้อนหรือดูดซับเสียงสามารถเข้าไปดูกันได้ที่ร้านวัสดุก่อสร้างได้เลย หรือหากต้องการความสะดวกสามารถเข้าเว็บไซต์ UDWASSADU เพื่อเลือกสรรฉนวนใยแก้วที่ต้องการได้เลย หรือหากใครต้องการรับคำปรึกษาเกี่ยวกับฉนวนใยแก้ว เช่น ฉนวนใยแก้ว ราคา หรือขนาดของฉนวนใยแก้วก็สามารถสอบถามได้เช่นกัน นอกจากนี้ หากพบสินค้าถูกใจแล้ว ทางร้านยังจัดส่งให้ถึงบ้านทั่วประเทศเลยทีเดียว

สุดท้ายนี้อย่าปล่อยให้บ้าน หรืออาคารร้อน จนต้องหันไปพึ่งทางเลือก ที่เป็นตัวทำลายสิ่งแวดล้อม แทนที่จะป้องกันความร้อนจากสาเหตุ มาจบปัญหาเหล่านี้ ด้วยฉนวนกันความร้อนที่เหมาะสมกับการใช้งานอย่างฉนวนกันความร้อนของ SCG ตัวช่วยป้องกันความร้อนประสิทธิภาพสูง เพื่อประหยัดพลังงาน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวกัน