ลักษณะของท่อ ppr จะมีสีเขียวและทึบแสง ตัวท่อจึงไม่เป็นสนิมเหมือนกับท่อเหล็ก และไม่เป็นตะไคร่แม้จะโดนน้ำ ทนต่อการกัดกร่อนสูง ไม่ว่าจะเป็นกรดหรือด่าง เพราะฉะนั้นจึงปลอดภัยและนิยมนำมาใช้ในอุตสหกรรมใหญ่ๆ ที่ต้องการความปลอดภัย รวมถึงโรงพยาบาล อาคาร โรงแรม เป็นต้น
ท่อ ppr
จำหน่าย ท่อน้ำไทยพีพีอาร์ (PPR) ท่อพีพีอาร์ มาตรฐานเยอรมัน DVGW มั่นใจคุณภาพ สำหรับนำไปใช้ทั้งงานระบบสุขาภิบาลภายใน และภายนอกอาคาร มีท่อประปาให้เลือกครอบคลุมทั้งแบบท่อน้ำร้อน และท่อน้ำเย็น รวมทั้งอุปกรณ์ข้อต่อ และเครื่องมือตัดแต่ง สำหรับงานเดินท่ออาคาร
ท่อ PPR
ท่อ PPR
ท่อ PPR
ท่อ PPR
ท่อ PPR
ท่อ PPR
ท่อ PPR
ท่อ PPR
ท่อ PPR
รวมความรู้เรื่อง ท่อ PPR สำหรับมือใหม่ แถมพิกัดจำหน่าย ราคาสุดคุ้ม
ท่อ PPR ท่อทางเลือกใหม่ที่มาทดแทนระบบท่อทองแดงและโลหะที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันจากความแข็งแรง ทนทาน แถมยังมีหลายขนาดใช้งานได้สารพัดประโยชน์ มาดูกันว่าท่อ PPR คืออะไร ต่างกับท่อ PVC หรือไม่ มีให้เลือกกี่แบบ และจะหาซื้อในราคาที่คุ้มที่สุดได้ที่ไหนบ้าง ตามไปดูพร้อมกันเลย
โดยการที่จะสร้างอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด อาคารสำนักงาน นอกจากความสวยงามของการตกแต่งและความมั่นคงของงานโครงสร้าง เช่น เสาเข็ม ผนัง หลังคา ฯลฯ แล้ว เรื่องของงานระบบอย่าง “ระบบท่อประปา” ก็เป็นอีกส่วนที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน เพราะวัสดุที่ใช้ในงานระบบประปานับเป็นส่วนหนึ่งที่บ่งบอกถึงคุณภาพของอสังหาฯ นั้นๆ ได้ และเป็นส่วนสำคัญที่มักทำให้ผู้อยู่อาศัยลำบากใจในการเรียกช่างมาซ่อมอยู่บ่อยๆ เช่น การเกิดปัญหาท่อประปาแตก ท่อประปารั่ว เป็นต้น
ท่อ PPR คืออะไร ใช้งานยังไง ?
ท่อ PPR ย่อมาจาก Polypropylene Random Copolymer คือ ท่อพลาสติกสีเขียวที่ผลิตจากโพลีโพรไพลีนซึ่งมีคุณสมบัติของความทนทานที่มากกว่าท่อ PVC ที่หลายคนคุ้นเคย โดยท่อ PPR นี้จะสามารถทนความต่างของอุณหภูมิน้ำได้ดีไม่ว่าจะร้อนหรือเย็น ระดับแรงดันของน้ำและ ทนต่อสารเคมีต่างๆ ทั้งยังไร้กลิ่นและรสชาติ ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานในอาคารที่พักอาศัยและโรงงานอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ ด้วยการผลิตท่อ PPR เพื่อพัฒนาท่อพลาสติกน้ำหนักเบาให้สามารถใช้งานได้ครอบคลุมทุกโจทย์จึงมีการเพิ่มคุณสมบัติความทนทานด้วยความหนาแน่นของเนื้อท่อที่แสงลอดผ่านไม่ได้จึงมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น และยังสามารถเชื่อมข้อต่อด้วยความร้อนได้จึงหมดปัญหาด้านการรั่วซึมของน้ำไป
ท่อ PPR เหมาะกับการใช้งานในรูปแบบใดบ้าง
ท่อ PPR สามารถได้กับระบบงานน้ำ และระบบงานประปาได้อย่างหลากหลาย รวมถึงมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน นอกจากนั้นก็มีคุณสมบัติที่ยืดหยุ่นกว่าท่อเหล็ก และท่อ PVC จึงทำให้สามารถใช้กับระบบท่อได้หลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น
- ระบบท่อน้ำดี สำหรับการอุปโภค และบริโภค
- ระบบท่อน้ำร้อน
- ระบบท่อภายในโรงงานอุตสาหกรรม
- ระบบท่อสำหรับน้ำกลั่น น้ำกรอง และน้ำแร่
- ระบบท่อให้ความร้อนสำหรับพื้น
- ระบบท่อน้ำฝน
- ระบบท่อลมแรงดันสูง
- ระบบท่อน้ำสำหรับสระว่ายน้ำ
- ระบบท่อน้ำเพื่อการเกษตร
- ระบบท่อน้ำเย็นในอาคาร
- ระบบท่อน้ำเย็นสำหรับระบบปรับอากาศ
- ระบบท่อประปาในครัวเรือน ที่พักอาศัย และสถานประกอบการ
ประเภทของท่อ PPR ในปัจจุบัน
ท่อ PPR มีการระบุสเปคท่อหลักๆด้วยตัวย่อ 2 ตัว คือ
- SDR คือ อัตราส่วนระหว่างเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกท่อต่อความหนาท่อ โดยมีค่ามาตรฐานอยู่ที่ SDR 11 และ SDR 6
- PN คือ ชั้นความดัน เป็นตัวบ่งบอกถึงความทนทานในการทนความดันของตัวท่อ ซึ่งค่ามาตรฐานจะระบุไว้ 2 แบบ คือ PN 10 = 10 บาร์ และ PN 20 = 20 บาร์
ท่อ PPR มีการแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
- ท่อ PPR PN 10 เป็นท่อชนิดใช้กับน้ำอุ่น ใช้กับช่วงอุณหภูมิ 38-60 องศา และรับความดันได้ 10 บาร์
- ท่อ PPR PN 20 เป็นท่อชนิดใช้กับน้ำร้อน ใช้กับช่วงอุณหภูมิ 38-95 องศา และรับความดันได้ 20 บาร์
- ท่อ PPR แบบ Fiber Composite เป็นท่อความแข็งแรงพิเศษด้วยไฟเบอร์ เหมาะสำหรับใช้ในการเดินท่อที่มีระยะการเดินท่อทางตรงยาวๆ
สำหรับขนาดท่อของท่อ PPR นั้นจะมีการใช้หน่วยเรียกที่แตกต่างกันอย่างที่เคยบอกในข้างต้นว่า ท่อ PVC เป็นท่อที่ได้รับการพัฒนามาก่อนจึงได้รับอิทธิพลการเรียกขานหน่วยมาจากหลายแห่งด้วยกันรวมถึงจีน ที่เรียกหน่วยว่า “หุน” และบางครั้งยังเรียกหน่วยเป็น “นิ้ว” แต่สำหรับท่อ PPR แล้วจะใช้หน่วยตามฝั่งยุโรปซึ่งเป็น “มิลลิเมตร” เป็นหลัก โดยขนาดของท่อจะไม่ต่างจากท่อ PVC สามารถเทียบขนาดได้ดังนี้
ขนาดท่อ PPR (มิลลิเมตร) |
ขนาดท่อ PPR เรียกตาม นิ้ว |
ขนาดท่อ PPR เรียกตามท่อ PVC |
20 |
½” |
4 หุน |
25 |
¾” |
6 หุน |
32 |
1” |
8 หุน |
40 |
1 ¼” |
นิ้ว 2 หุน |
50 |
1 ½” |
นิ้วครึ่ง |
63 |
2” |
2 นิ้ว |
75 |
2 ½” |
2 นิ้วครึ่ง |
90 |
3” |
3 นิ้ว |
110 |
4” |
4 นิ้ว |
125 |
5” |
5 นิ้ว |
160 |
6” |
6 นิ้ว |
200 |
8” |
8 นิ้ว |
250 |
10” |
10 นิ้ว |
315 |
12” |
12 นิ้ว |
ท่อ PPR ยังมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกท่อให้เลือกตั้งแต่ขนาด 1/2 นิ้ว (20 มม.) ไปจนถึงขนาด 6 นิ้ว (160 มม.) นอกจากนั้นเอง ในบางแบรนด์ก็จะมีไปจนถึงขนาด 12 นิ้ว (315 มม.) ด้วยเช่นกัน รวมไปถึงจะมีการระบุระยะเวลาที่ควรใช้ในการหลอมท่อมาให้บนตัวท่อแล้ว เพื่อความสะดวกในการทำงาน และคลายปัญหาในการให้ความร้อนเกินเวลาที่ควรกับตัวท่อ
ท่อ PPR กับ PVC ต่างกันอย่างไร เลือกใช้อะไรดี
หากกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างท่อ PPR กับ PVC แล้ว เรียกว่ามีอยู่ไม่น้อยทีเดียว ทั้งเรื่องของราคาและความเหมาะสมต่อการใช้งาน มาดูรายละเอียดให้เห็นกันอย่างชัดเจนไปเลย ดังนี้
- การใช้งาน ในด้านการใช้งานระบบน้ำต้องบอกว่าท่อ PPR จะสามารถตอบโจทย์ได้กว้างขวางครอบคลุมมากกว่าท่อ PVC เพราะด้วยความทนทานและการออกแบบพัฒนาที่แก้ปัญหาหลายอย่างของท่อน้ำแบบเดิมที่มีอยู่
- ความหนาของท่อ สำหรับความหนาของท่อทั้งสองประเภทจะมีความหนาที่ใกล้เคียงกันแต่หลายคนอาจจะได้ยินหน่วยที่ต่างกันออกไปโดยท่อ PVC จะใช้เป็นหุนหรือนิ้ว ขณะที่ท่อ PPR ซึ่งได้รับการผลิตมาจากทางฝั่งยุโรปจึงใช้หน่วยเป็นมิลลิเมตร
- วิธีการติดตั้ง สำหรับวิธีการติดตั้งนั้น ท่อ PVC จะสามารถติดตั้งได้ง่ายกว่าเพราะท่อ PPR จะต้องมีเครื่องมือเฉพาะในการติดตั้งทำให้อาจไม่เหมาะสำหรับการติดตั้งในบางพื้นที่
- คุณภาพวัสดุ ท่อ PVC จะมีความเปราะบางแตกได้ง่ายกว่าและยังสามารถทนต่อความร้อนเย็นได้น้อยกว่าท่อ PPR ที่มีความหนาแน่นและยืดหยุ่นสูง
- การทดสอบระบบน้ำภายหลังการติดตั้ง เมื่อติดตั้งท่อ PVC แล้วสามารถทดสอบระบบน้ำได้หลังจากกาวประสานท่อแห้งแล้วซึ่งจะใช้เวลาราว 1 วัน แต่หากเป็นท่อ PPR สามารถทดสอบได้ทันทีเมื่อท่อเย็นลงซึ่งจะรอเพียงไม่กี่นาที่เท่านั้น
- การซ่อมแซม เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับท่อ PVC โดยส่วนมากจะต้องรื้อเปลี่ยนใหม่ ซึ่งนับเป็นงานใหญ่ทีเดียวแต่หากเป็นท่อ PPR จะสามารถซ่อมเฉพาะจุดได้จึงง่ายและรวดเร็วกว่า
- ราคาวัสดุ ด้วยคุณสมบัติหลายอย่างที่ต่างกันทำให้ท่อน้ำสองประเภทมีราคาที่ต่างกันออกไปด้วย โดยท่อ PVC จะมีราคาต่ำกว่าท่อ PPR ทั้งนี้ควรเลือกใช้ตามประเภทการใช้งาน
แล้วท่อระบบน้ำแต่ละประเภทจะเหมาะสมกับการใช้งานอย่างไร มีข้อดีกันอย่างไรบ้างที่ควรทราบก่อนการเลือกใช้ท่อในระบบน้ำกันแน่ มาดูสรุปให้ชัดกันเลย
งานที่เหมาะสำหรับท่อ PVC
- ราคาต่ำและหาซื้อได้ง่าย
- ระบบน้ำที่ไม่มีความต่างของอุณหภูมิมากนักเพราะท่อ PVC จะทนอุณหภูมิสูงสุดได้เพียง 65 องศาเซลเซียส
- ระบบน้ำที่ไม่จำเป็นต้องทนทานแข็งแรงหรือเผชิญกับแรงดันน้ำสูง
- ระบบน้ำที่เร่งด่วนเพราะหาช่างทำหรือเรียนรู้การประสานติดต่อได้ง่าย
- การติดตั้งในบริเวณที่มีพื้นที่เพราะท่อ PVC ไม่สามารถติดตั้งทับซ้อนกันได้
งานที่เหมาะสำหรับท่อ PPR
- ระบบน้ำที่ต้องใช้แรงดันน้ำสูงเกินกว่าท่อ PVC จะรับได้ โดยท่อ PPR จะมีแรงดันให้เลือกได้ถึง 2 ระดับ แต่ท่อ PVC จะรับแรงดันได้เพียง 13.5 บาร์เท่านั้น
- ระบบน้ำที่ต้องใช้ท่อที่ทนอุณหภูมิระหว่าง 50-90 องศาเซลเซียส
- ระบบน้ำที่ไม่ต้องใช้ท่อที่แข็งแรงมากเหมือนท่อเหล็กและไม่ต้องกังวลเรื่องการเสื่อมสภาพเมื่อใช้งานอย่างยาวนาน
- ระบบน้ำที่ต้องการแก้ปัญหาท่อหลุด น้ำซึม น้ำรั่ว สามารถแก้ไขเฉพาะจุดได้อย่างรวดเร็วและยังป้องกันได้ง่ายกว่าด้วย
- การเดินระบบน้ำสำหรับอาคารเขียว เพราะท่อ PPR เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การใช้งานท่อ PPR ที่ควรรู้ก่อนการออกแบบ
1.ต้องใช้เครื่องเชื่อมท่อในการทำงาน
ตัวท่อ PPR นั้นจะแตกต่างจากท่อชนิดอื่น ตรงที่จำเป็นต้องเครื่องเชื่อมในการหลอมเนื้อพลาสติดของตัวท่อ กับข้อต่อเข้าให้ผสานกลายเป็นเนื้อเดียวกัน ถึงแม้ดูยุ่งยากไปบ้าง แต่ก็ช่วยลดปัญหาในการรั่วซึมของตัวท่อลงไปได้มากจากการที่เนื้อท่อรวมเป็นเนื้อเดียวกันด้วยความร้อน นอกจากนั้นยังควรจะเลือกใช้ท่อและข้อต่อจากโรงงานเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการเชื่อมประสานของพลาสติกที่ใช้ทำท่อและข้อต่อ
2.ระยะเวลาในการหลอมท่อ
การเชื่อมท่อให้ผสานเป็นเนื้อเดียวกันกับข้อต่อนั้นจะใช้เวลาไม่เท่ากัน โดยขึ้นอยู่กับขนาดและชนิดของท่อ PPR ซึ่งตัวท่อนั้นจะมีการระบุระยะเวลาที่ควรใช้ในการหลอมมาให้บนเนื้อผิว ซึ่งหากช่างใช้เวลาในการหลอมท่อน้อยเกินไป ตัวท่อก็จะผสานกันได้ไม่ดี และอาจเกิดปัญหารั่วซึมขึ้นได้ แต่หากใช้เวลาหลอมท่อมากเกินไป ท่อก็จะไหม้ หรือเกิดปัญหาท่ออุดตันจากเนื้อพลาสติกที่หลอมเหลวจนกลายเป็นส่วนเกินได้เช่นเดียวกัน จึงจำเป็นจะต้องให้ความร้อนกับท่ออย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่ระบุมานั่นเอง
3.ข้อต่อและอุปกรณ์
ท่อ PPR โดดเด่นตรงที่ไม่ถูกความแข็งวัสดุจำกัดเอาไว้ ทำให้นอกจากจะมีข้อต่อท่อแบบทั่ว ๆ ไปแล้ว ก็ยังมีท่อแบบพิเศษที่เรียกว่า ‘ท่อครอส’ ซึ่งสามารถวางท่อทับกันได้ ลดข้อจำกัดของการออกแบบระบบท่อลงไปได้ด้วยเช่นกัน รวมไปถึงเกลียวของข้อต่อของท่อ PPR นั้นทำจากทองเหลืองชุบนิกเกิล จึงไม่เกิดสนิมสีเขียว และป้องกันการแตกของทองเหลือง และยังมีชนิดข้อต่อกว่า 30 ชนิดให้เลือกใช้งานกับระบบท่อได้อย่างหลากหลาย
4.ความสามารถในการทนความร้อนและแรงดัน
ด้วยความสามารถในการทนอุณหภูมิได้สูงถึง 95 องศาเซลเซียส และทนแรงดันน้ำได้สูงถึง 20 บาร์ ทำให้ท่อ PPR สามารถทดแทนท่อ PVC และท่อเหล็ก ที่มีปัญหาจุกจิกมากมายไปได้อย่างมาก ไม่ว่าจะทั้งปัญหาท่อรั่วที่เกิดขึ้นจากแรงดันในท่อ PVC หรือปัญหาสนิมที่เกิดขึ้นท่อโลหะเมื่อใช้ไปในระยะเวลาหนึ่ง รวมถึงทั้งตัวท่อ และข้อต่อของท่อ PPR ยังมีความทนทานที่สูง ซ่อมแซมได้โดยง่าย ไม่จำเป็นต้องรื้อท่อหรือกระเบื้องออกเพื่อเปลี่ยนใหม่
5.การใช้งานร่วมกับท่อชนิดอื่น ๆ
ท่อ PPR สามารถใช้งานร่วมกับท่อชนิดอื่น ๆ ได้ เนื่องจากมีข้อต่อเกลียวหลากหลายชนิด และมีระบบหน้าจาน ANSI , JIS และ DIN ซึ่งเป็นเกลียวมาตรฐานสากล จึงสามารถใช้ต่อเข้ากับท่อประเภทอื่น ๆ ตามลักษณะการใช้งานได้ (PVC, PE, PB, เหล็ก, ทองแดง, STAINLESS, SYLER) ทำให้ไม่มีปัญหา หากใครต้องการที่จะซื้อท่อ PPR ไปเปลี่ยนกับท่อที่บ้านซึ่งเป็นของเดิม แล้วกังวลว่าจะต้องรื้อระบบท่อประปาใหม่ทั้งหมดเพื่อทำการเปลี่ยนท่อดังกล่าว
วิธีการติดตั้งท่อ PPR
1.การเชื่อมสอด
ใช้ความร้อน 250-260 องศาเซลเซียสอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ท่อและข้อต่อเกิดการหลอมเหลว และสามารถประสานเป็นเนื้อเดียวกันระหว่างตัวท่อกับข้อต่อ ทำให้ไม่เกิดปัญหาการรั่วซึมที่ตามรอยต่อ ซึ่งการติดตั้งด้วยวิธีนี้ก็ไม่จำเป็นจะต้องใช้กาว หรือน้ำยาประสานใดๆ และยังทำให้ไม่เกิดประกายไฟ , ควัน รวมไปถึงกลิ่นจากสารเคมีให้รบกวนระหว่างการทำงานของช่าง
2.ต่อเชื่อมด้วยเครื่องเชื่อมชน Butt Fusion
การเชื่อมความร้อนจากเครื่องเชื่อมชนเฉพาะ ทำให้จุดต่อหลอมระหว่างท่อเป็นเนื้อเดียวกัน 100% ไม่มีอาการรั่วซึม และมีอายุการใช้งานยาวนาน ปราศจากกาว หรือน้ำยาประสานใด ๆ โดยการติดตั้งวิธีนี้ จะเหมาะสำหรับท่อและอุปกรณ์เชื่อมชน
3.ต่อเชื่อมด้วยเครื่องเชื่อม Electro Fusion (E.F.)
ใช้การเชื่อมสอดความร้อนจากเครื่องเชื่อมข้อต่อ E.F. (E.F. MACHINE) ที่เป็นการปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าขดลวดที่ฝั่งอยู่ในผนังของตัวข้อต่อ สร้างความร้อนทำให้เนื้อท่อ และข้อต่อหลอมเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นปล่อยให้เย็นตัวลง ท่อจะแข็งตัวและเชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกันกับข้อต่อ
4.การติดตั้งข้อต่ออานม้า
เป็นการเพิ่มเส้นทางของท่อน้ำขึ้นมาใหม่ ที่ทำได้ง่ายเพียงเจาะรูที่ท่อเมน และใช้ข้อต่ออานม้าในการเชื่อมต่อท่อสาขาออกมา ซึ่งวิธีนี้ ทำให้ลดปัญหาความยุ่งยากในการรื้อเปลี่ยนท่อใหม่ลงไปได้เป็นอย่างมาก
5.วิธีการซ่อมแซมรูรั่วบนท่อ
กรณีที่ท่อ PPR มีรูรั่ว ไม่ว่าจะเกิดจากโดนตะปูหรือสว่านเจาะไปโดนก็ตาม ก็สามารถซ่อมแซมได้โดยง่าย โดยการเจาะให้ได้ขนาด แล้วใช้หัวเชื่อมแท่งซ่อม หลอมตัวท่อจุดที่ถูกเจาะ และในขณะเดียวกันก็หลอมแท่งซ่อมท่อ PPR เข้าไป ซึ่งเมื่อครบกำหนดระยะเวลา จึงนำมาอุดแล้วตัดให้พอดีเสมอไปกับท่อก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
เลือกซื้อท่อ PPR ที่ไหนดีถึงจะคุ้ม
ในเวลาที่การเลือกซื้อสรรหาสิ่งที่ต้องการอยู่ใกล้เพียงปลายนิ้วมือเช่นนี้ แน่นอนว่าท่อ PPR เองก็สามารถเลือกซื้อได้จากเว็บไซต์อย่างที่ UDWASSADU เว็บไซต์ที่รวบรวมอุปกรณ์ช่างในงานระบบเอาไว้ครบครัน โดยสามารถปรึกษาและสอบถามข้อมูลที่ต้องการทราบได้เสมอ รวมถึงการสั่งแบบออนไลน์เพื่อให้จัดส่งตรงถึงบ้านคุณได้ในราคาที่คุ้มที่สุด เรียกว่าทั้งสะดวกและง่ายดายอย่างยิ่งทีเดียว
ซื้อท่อ PPR ดีไหม
ท่อ PPR นั้นเป็นท่อที่มีราคาสูงกว่าท่อ PVC ทั้งยังใช้วิธีการติดตั้งด้วยอุปกรณ์เฉพาะทางจึงเหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรงทนทาน มีการใช้งานที่กว้างขวางทั้งเรื่องแรงดันน้ำ อุณหภูมิของน้ำ หรืองานอุตสาหกรรมต่างๆ และยังมีคุณสมบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเมื่อโดนแสงแดดจะไม่มีการเสื่อมสภาพลงจึงมั่นใจได้ว่าน้ำที่ไหลผ่านท่อ PPR จะไม่มีกลิ่นหรือรสชาติอื่นเจือปนเข้าไปอย่างแน่นอน ทั้งยังไม่ต้องกังวลเรื่องการรั่วซึมอีกด้วย ซึ่งหากใครต้องการงานระบบน้ำแบบระยะยาวที่ปลอดภัยทั้งคนและโลก ท่อ PPR จะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากทีเดียว
สรุป
ท่อ PPR ถือเป็นนวัตกรรมงานท่อในยุคใหม่ก็ว่าได้ ด้วยคุณสมบัติที่ทนทาน รวมไปถึงการทนความร้อนและความดันของตัวท่อ ทำให้มันสามารถทดแทนงานระบบท่อที่จำเป็นจะต้องใช้ท่อ PVC หรือท่อเหล็กทั้งหลาย รวมถึงยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน คลายปัญหาท่อเป็นสนิม หรือท่อรั่วที่น่ากังวลไปได้อย่างมากโข จึงนับได้ว่าท่อ PPR หรือท่อเขียวนั้น คืออีกหนึ่งตัวเลือกสำคัญสำหรับวงการก่อสร้างและงานช่างต่างๆ ในอนาคตเลยทีเดียว
ซึ่งหากใครกำลังมองหาท่อ PPR อยู่แล้วล่ะก็ สามารถเข้าไปเลือกดูผลิตภัณฑ์และราคาท่อ PPR ของเราได้ที่เว็บไซต์ UDWASSADU ได้เลย