ท่อลม ท่อลมระบายอากาศ ท่อลมอ่อนแสตนเลส ท่อลมอ่อน ทุกขนาด

ท่อลมระบายอากาศ

ท่อลมระบายอากาศ ท่อลม ท่อลมอ่อนแสตนเลส และท่อลมอ่อน เป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบระบายอากาศในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการหลักการทำงานแตกต่างกันออกไปตามหน้าที่ ท่อเหล่านี้ถูกใช้งานแบบไหน มีขนาดใดบ้าง บทความนี้จะมาจำแนกแยกย่อยรายละเอียดต่าง ๆ ให้คุณสามารถเข้าใจข้อมูลได้โดยง่ายเพื่อการเลือกสรรท่ออย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สินค้าพร้อมจำหน่วย สนใจกดดูรายละเอียดได้เลย

2,400 ฿13,200 ฿
2,300 ฿13,100 ฿

ท่อ Flex

Aeroduct ALP Bareduct 

850 ฿5,200 ฿
2,000 ฿11,300 ฿
2,800 ฿14,200 ฿
2,700 ฿14,100 ฿

ท่อ Flex

Aeroduct AL5 Bareduct

900 ฿5,800 ฿
2,300 ฿12,300 ฿
3,200 ฿16,700 ฿
3,100 ฿16,300 ฿
2,900 ฿14,500 ฿
2,800 ฿14,400 ฿

ท่อ Flex

Aeroduct AL5R Bareduct

950 ฿6,000 ฿
2,400 ฿12,500 ฿
3,500 ฿17,500 ฿
3,600 ฿17,700 ฿
3,100 ฿16,000 ฿
3,000 ฿15,900 ฿

ท่อ Flex

Aeroduct AL7 Bareduct

1,000 ฿6,500 ฿
2,500 ฿13,000 ฿

ท่อลมระบายอากาศคืออะไร

ท่อลมระบายอากาศ คือท่อที่ใช้งานเพื่อจุดประะสงค์ในการนำพาอากาศที่ไหลตามท่อลมไปยังจุดต่าง ๆ ณ ปลายท่อตามวัตถุประสงค์ที่ผู้ออกแบบได้วางเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการระบายอากาศ การดูดและปล่อยควัน ไปจนถึงการใช้งานสำหรับจ่ายลมในพื้นที่ต่าง ๆ ทำให้ท่อชนิดนี้มักถูกเรียกว่าท่อดูดควันหรือท่อระบายอากาศตามแต่การติดตั้งและใช้งาน

การเลือกท่อลมระบายอากาศให้เหมาะกับแต่ละพื้นที่

ในการเลือกท่อลมระบายอากาศให้เหมาะกับพื้นที่ที่จะทำการติดตั้ง จำเป็นจะต้องคัดเลือกประเภทและขนาดให้เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ เพื่อดึงประสิทธิภาพของการระบายอากาศออกมาได้มากที่สุด โดยมีประเภทท่อที่คุณควรรู้จัก ดังนี้

ประเภทของท่อลมระบายอากาศ

  • ท่อพลาสติก

ท่อพลาสติกเป็นท่อลมระบายอากาศที่โดดเด่นในเรื่องของการไม่ไวต่อการผุกร่อนจากความชื้นในอากาศ สามารถติดตั้ง ซ่อมแซม และขนย้ายได้ง่าย เพราะทำจากวัสดุที่มีน้ำหนักเบา รวมถึงยังสามารถที่จะใช้เลื่อยโลหะตัดท่อให้ได้ออกมาเป็นขนาดที่ต้องการ 

เนื่องจากผิวของท่อพลาสติกที่เรียบเนียน จึงทำให้มีความต้านทานการไหลผ่านของอากาศที่น้อย ช่วยลดการใช้พลังงานในการทำงานของระบบ และยังมีต้นทุนของท่อที่ต่ำ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการนำมาใช้งาน

นอกจากนั้น ท่อพลาสติกบางประเภทก็ยังสามารถเชื่อมเข้ากันได้ด้วยความร้อน จึงช่วยลดปัญหาในเรื่องการรั่วหรือท่อไม่แนบสนิทกันอีกด้วย

  • ท่อชุบสังกะสี

ท่อชุบสังกะสีมักจะใช้ในโครงสร้างโรงงาน หรืออาคารอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพราะมีความแข็งแรงทนทานต่อแรงกระแทก วัตถุมีคม และแรงกด กระนั้นยังมีน้ำหนักที่เบา รวมไปถึงการที่ท่อนั้นชุบสังกะสีมา ก็ยังช่วยในเรื่องการป้องกันสนิมและการกัดกร่อนจากความชื้นสูงได้อีกด้วย 

การใช้ท่อชุบสังกะสีเป็นตัวเชื่อมต่อระบบระบายอากาศก็ยังทำได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องกังวลว่าจะมีโครงสร้างที่ซับซ้อน จนอาจเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับงานระบบ และยังสะดวกในเรื่องของการขนส่งอุปกรณ์ท่ออีกด้วย

โดยท่อชุบสังกะสีนั้นเหมาะสำหรับการระบายอากาศออก รวมถึงยังทนต่อความร้อนสูง ส่วนในเรื่องอายุการใช้งานของท่อชุบสังกะสีนั้นจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน และคุณภาพของตัวท่อ ซึ่งเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 20-25 ปี

  • ท่อแสตนเลส

ท่อแสตนเลส เป็นท่อที่ได้ขึ้นชื่อในเรื่องของความเหนียว ความแข็งแรงทนทานที่มากกว่าท่อทั่ว ๆ ไป สามารถทนต่ออุณหภูมิที่หนาวจัดหรือร้อนจัด รวมไปถึงสารเคมีและกัมมันตรังสีได้โดยที่โครงสร้างไม่เสียหาย นอกจากนั้นยังทนทานต่อการเกิดสนิมอีกด้วย 

แต่ยังมีข้อควรระวังคือผู้ซื้อจำเป็นต้องแยกระหว่างท่อแสตนเลสชุบและท่อแสตนเลสแท้ให้ออก เนื่องจากคุณภาพของท่อทั้งสองชนิดแตกต่างกันค่อนข้างมากทีเดียว

  • ท่อลมอ่อน

ท่อลมอ่อน หรือท่ออลูมิเนียมฟอยด์ เป็นท่อที่มีจุดเด่นในเรื่องของความยืดหยุ่นในการใช้งานที่สูง รวมไปถึงยังสามารถดัดให้โค้งงอให้เข้ากับสภาพพื้นที่ได้ง่ายโดยไม่ก่อให้เกิดสารพิษ และมีราคาที่ไม่แพง

ตัวท่อสามารถใช้ได้ทั้งในงานส่งลมร้อนและลมเย็น จึงเหมาะสำหรับการติดตั้งเพื่อเชื่อมต่อระบบปรับอากาศ หรือระบายอากาศในห้องน้ำ ห้องครัว เป็นต้น

ท่อลมระบายอากาศแต่ละประเภทก็ยังมีการแบ่งออกไปตามวัสดุ เช่น ท่อพลาสติกก็จะมีให้เลือกทั้งแบบท่อ PE ท่อ PVC หรือ ท่อ PPR ซึ่งในแต่ละวัสดุก็จะมีคุณสมบัติ ราคา และการตอบโจทย์การใช้งานที่แตกต่างกันไปอีกด้วย

ขนาดของท่อลมระบายอากาศ

  • ท่อลมระบายอากาศขนาด 4 นิ้ว 

ท่อลมระบายอากาศขนาด 4 นิ้ว เหมาะสำหรับกับการฝังติดบนฝ้าเพดาน พร้อมกับพัดลมดูดอากาศ ใช้กำลังไฟวัตต์น้อย เหมาะกับห้องที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก 

  • ท่อลมระบายอากาศขนาด 6 นิ้ว 

ท่อลมระบายอากาศขนาด 6 นิ้ว เป็นหนึ่งในท่อระบายอากาศที่มีขนาดซึ่งได้รับความนิยมในอุตสาหกรรม มีขนาดที่พอเหมาะกับการใช้งานได้อย่างหลากหลาย เคลื่อนย้ายและติดตั้งได้ง่าย รวมถึงยังดูดอากาศเสียออกไปสู่ภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยที่ไม่ทำงานเสียงดัง

  • ท่อลมระบายอากาศขนาด 8 นิ้ว 

ประสิทธิภาพของท่อลมระบายอากาศขนาด 8 นิ้ว จะสามารถดูดอากาศเสียได้ดี ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ดูดออกง่ายหรือยาก และไม่ต้องกังวลถึงการไหลย้อนกลับของกลิ่น ฝุ่น สิ่งสกปรก หรือแม้แต่แมลงให้มากวนใจผู้ที่อยู่ภายในอาคาร 

  • ท่อลมระบายอากาศขนาด 10 นิ้ว 

สำหรับท่อลมระบายอากาศขนาด 10 นิ้ว ส่วนใหญ่แล้วไม่เพียงแต่จะมีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ตอบโจทย์การใช้งานในพื้นที่ขนาดใหญ่ แต่ยังมีความแข็งแรง และทนทานต่ออุณหภูมิสูงได้อีกด้วย  

ประเภทของท่อลมอ่อนระบายอากาศ

1.ท่อลมอ่อนอลูมิเนียมฟอยล์

ท่อลมอ่อนอลูมิเนียมฟอยล์ เป็นท่อที่สามารถทนอุณหภูมิสูง และทนต่อการสึกกร่อนจากไอระเหยของสารเคมี ควันไฟ และไอความร้อนได้ดี มีความทนทานสูง น้ำหนักเบา ทำให้ง่ายต่อการติดตั้ง เหมาะใช้กับงานระบบปรับอากาศและท่อระบายอากาศ

ซึ่งท่อลมอ่อนอลูมิเนียมฟอยล์เอง ก็ยังมีท่อแบบพิเศษ ที่ใช้ไฟเบอร์กลาสเคลือบด้วยผ้าทาร์โพลีน มีคุณสมบัติยืดหยุ่นสูงและน้ำหนักเบา ช่วยให้การใช้งานนั้นมีประสิทธิภาพยาวนานขึ้น

2.ท่อลมอ่อนแสตนเลส

ท่อลมอ่อนแสตนเลส เป็นท่อที่เหมาะสำหรับการใช้งาน Air Conditioner ความเร็วสูง และระบบท่อระบายอากาศซึ่งต้องการระบายควันไฟอย่างรวดเร็ว ใช้เป็นท่อทนความร้อน ท่อระบายอากาศ และท่อระบายควันไฟได้ดี

3.ท่อลมอ่อนผ้าใบ

ท่อลมอ่อนผ้าใบ เป็นท่อที่มีความยืดหยุ่นสูง เหมาะกับการใช้งานในระบบที่ไม่ต้องหุ้มฉนวนใยแก้ว ซึ่งท่อประเภทนี้มักจะช่วยป้องกัน และยับยั้งประจุไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นจากแรงเสียดทานอากาศภายในท่อได้

ท่อลมระบายอากาศที่มีจำหน่ายใน UDWASSADU

ท่อลมระบายอากาศของทาง UDWASSADU ในปัจจุบัน จะมีด้วยกันอยู่ 2 แบรนด์ ได้แก่ แบรนด์ Aeroduct และแบรนด์ Apple Flex ซึ่งจะมีรายละเอียดตามตารางด้านล่าง ดังนี้

ชนิดของท่อ แบรนด์ ความยาวท่อ ขนาดของอุปกรณ์
4 นิ้ว (102 มม.) 5 นิ้ว (127 มม.) 6 นิ้ว (152 มม.) 7 นิ้ว (178 มม.) 8 นิ้ว (203 มม.) 9 นิ้ว (229 มม.) 10 นิ้ว (254 มม.) 12 นิ้ว (305 มม.) 14 นิ้ว (356 มม.) 16 นิ้ว (406 มม.) 18 นิ้ว (457 มม.) 20 นิ้ว (508 มม.) 22 นิ้ว (560 มม.) 24 นิ้ว (610 มม.)
AL5 Bareduct Aeroduct 100 เมตร 900 บาท 1,000 บาท 1,100 บาท 1,300 บาท 1,500 บาท 1,750 บาท 1,900 บาท 2,300 บาท 2,800 บาท 3,300 บาท 3,800 บาท 4,200 บาท 4,700 บาท 5,800 บาท
AL5I – 16/25 1 ปอนด์ x 1 นิ้ว Aeroduct 100 เมตร 2,300 บาท 2,500 บาท 2,800 บาท 3,500 บาท 3,800 บาท 4,300 บาท 4,800 บาท 5,400 บาท 6,400 บาท 7,600 บาท 8,500 บาท 10,000 บาท 10,500 บาท 12,300 บาท
AL5I – 16/40 1 ปอนด์ x 1.5 นิ้ว Aeroduct 100 เมตร 2,800 บาท 3,000 บาท 3,500 บาท 4,200 บาท 4,600 บาท 5,300 บาท 5,800 บาท 6,400 บาท 7,400 บาท 9,200 บาท 10,000 บาท 11,800 บาท 13,000 บาท 14,200 บาท
AL5I – 24/25 1.5 ปอนด์ x 1 นิ้ว Aeroduct 100 เมตร 2,700 บาท 2,900 บาท 3,400 บาท 4,100 บาท 4,500 บาท 5,200 บาท 5,700 บาท 6,300 บาท 7,300 บาท 9,100 บาท 9,900 บาท 11,700 บาท 12,900 บาท 14,100 บาท
AL5R – 16/25 1 ปอนด์ x 1 นิ้ว Aeroduct 100 เมตร 2,400 บาท 2,600 บาท 3,000 บาท 3,600 บาท 3,900 บาท 4,400 บาท 5,000 บาท 5,600 บาท 6,600 บาท 7,800 บาท 8,800 บาท 10,800 บาท 11,000 บาท 12,500 บาท
AL5R – 16/40 1 ปอนด์ x 1.5 นิ้ว Aeroduct 100 เมตร 2,900 บาท 3,100 บาท 3,600 บาท 4,300 บาท 4,800 บาท 5,400 บาท 5,900 บาท 6,500 บาท 7,600 บาท 9,400 บาท 11,200 บาท 12,000 บาท 13,300 บาท 14,500 บาท
AL5R – 16/50 1 ปอนด์ x 2 นิ้ว Aeroduct 100 เมตร 3,200 บาท 3,700 บาท 4,300 บาท 5,100 บาท 5,800 บาท 6,400 บาท 6,900 บาท 7,600 บาท 8,500 บาท 10,800 บาท 11,700 บาท 14,500 บาท 15,700 บาท 16,700 บาท
AL5R – 24/25 1.5 ปอนด์ x 1 นิ้ว Aeroduct 100 เมตร 2,800 บาท 3,000 บาท 3,500 บาท 4,200 บาท 4,700 บาท 5,300 บาท 5,800 บาท 6,400 บาท 7,500 บาท 9,300 บาท 11,000 บาท 11,900 บาท 13,200 บาท 14,400 บาท
AL5R – 32/25 2 ปอนด์ x 1 นิ้ว Aeroduct 100 เมตร 3,100 บาท 3,500 บาท 4,100 บาท 4,900 บาท 5,600 บาท 6,200 บาท 6,700 บาท 7,500 บาท 8,200 บาท 10,400 บาท 11,500 บาท 14,200 บาท 15,500 บาท 16,300 บาท
AL5R Bareduct Aeroduct 100 เมตร 950 บาท 1,050 บาท 1,150 บาท 1,450 บาท 1,650 บาท 1,850 บาท 2,050 บาท 2,450 บาท 3,000 บาท 3,500 บาท 4,000 บาท 4,500 บาท 5,200 บาท 6,000 บาท
AL7 Bareduct Aeroduct 100 เมตร 1,000 บาท 1,100 บาท 1,200 บาท 1,500 บาท 1,700 บาท 1,900 บาท 2,100 บาท 2,500 บาท 3,200 บาท 3,800 บาท 4,200 บาท 4,700 บาท 5,300 บาท 6,500 บาท
AL7I – 16/25 1 ปอนด์ x 1 นิ้ว Aeroduct 100 เมตร 2,500 บาท 2,700 บาท 3,200 บาท 3,800 บาท 4,100 บาท 4,500 บาท 5,200 บาท 5,800 บาท 6,900 บาท 8,100 บาท 9,000 บาท 11,200 บาท 12,000 บาท 13,000 บาท
AL7I – 16/40 1 ปอนด์ x 1.5 นิ้ว Aeroduct 100 เมตร 3,100 บาท 3,400 บาท 4,000 บาท 4,700 บาท 5,200 บาท 5,800 บาท 6,300 บาท 7,000 บาท 8,200 บาท 10,000 บาท 11,800 บาท 12,800 บาท 14,500 บาท 16,000 บาท
AL7I – 16/50 1 ปอนด์ x 2 นิ้ว Aeroduct 100 เมตร 3,600 บาท 4,000 บาท 4,800 บาท 5,600 บาท 6,300 บาท 7,000 บาท 7,400 บาท 8,100 บาท 9,200 บาท 11,500 บาท 12,800 บาท 15,700 บาท 16,500 บาท 17,700 บาท
AL7I – 24/25 1.5 ปอนด์ x 1 นิ้ว Aeroduct 100 เมตร 3,000 บาท 3,300 บาท 3,900 บาท 4,600 บาท 5,100 บาท 5,700 บาท 6,200 บาท 6,900 บาท 8,100 บาท 9,900 บาท 11,500 บาท 12,700 บาท 14,400 บาท 15,900 บาท
AL7I – 32/25 2 ปอนด์ x 1 นิ้ว Aeroduct 100 เมตร 3,500 บาท 3,900 บาท 4,650 บาท 5,400 บาท 6,150 บาท 6,800 บาท 7,250 บาท 7,900 บาท 9,000 บาท 11,350 บาท 12,450 บาท 15,500 บาท 16,300 บาท 17,500 บาท
ALP – 16/25 1 ปอนด์ x 1 นิ้ว Aeroduct 100 เมตร 2,000 บาท 2,200 บาท 2,650 บาท 3,000 บาท 3,200 บาท 3,600 บาท 4,200 บาท 4,600 บาท 5,500 บาท 6,600 บาท 7,800 บาท 8,900 บาท 10,000 บาท 11,300 บาท
ALP – 16/40 1 ปอนด์ x 1.5 นิ้ว Aeroduct 100 เมตร 2,400 บาท 2,700 บาท 3,100 บาท 3,800 บาท 4,200 บาท 4,300 บาท 4,600 บาท 5,200 บาท 6,000 บาท 7,800 บาท 9,200 บาท 10,700 บาท 12,100 บาท 13,200 บาท
ALP – 24/25 1.5 ปอนด์ x 1 นิ้ว Aeroduct 100 เมตร 2,300 บาท 2,600 บาท 3,000 บาท 3,700 บาท 4,100 บาท 4,200 บาท 4,500 บาท 5,100 บาท 5,900 บาท 7,700 บาท 9,100 บาท 10,600 บาท 12,000 บาท 13,100 บาท
ALP Bareduct Aeroduct 100 เมตร 850 บาท 900 บาท 1,000 บาท 1,200 บาท 1,350 บาท 1,600 บาท 1,700 บาท 2,000 บาท 2,600 บาท 3,000 บาท 3,200 บาท 3,600 บาท 4,200 บาท 5,200 บาท
14/25 Apple Flex 100 เมตร 1,600 บาท 1,900 บาท 2,200 บาท 2,800 บาท 3,400 บาท 3,800 บาท 4,400 บาท 5,300 บาท 6,500 บาท 8,000 บาท
16/25 Apple Flex 100 เมตร 1,400 บาท 1,600 บาท 2,000 บาท 2,200 บาท 3,000 บาท 3,200 บาท 4,000 บาท 5,000 บาท 6,000 บาท 7,000 บาท
Bareduct Apple Flex 100 เมตร 600 บาท 700 บาท 800 บาท 1,000 บาท 1,300 บาท 1,500 บาท 1,800 บาท 2,200 บาท 2,500 บาท 3,000 บาท

ซึ่งหากใครสนใจสินค้าท่อลมระบายอากาศของทางเรา สามารถเข้าไปดูได้ที่สินค้า ท่อลม ท่อ flex หรือเว็บไซต์ UDWASSADU

หลักการเลือกซื้อท่อลมระบายอากาศ

  1. อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ต้องติดตั้งร่วมกันกับท่อลมระบายอากาศ

เพื่อป้องกันการผสมกันระหว่างอากาศสะอาด และอากาศเสียซึ่งไหลเวียนอยู่ในระบบที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต การเลือกอุปกรณ์เชื่อมต่อที่ต้องติดตั้งร่วมกันกับท่อลมระบายอากาศก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องคำนึงถึง เพราะการเลือกเพียงแค่ท่อลมระบายอากาศเพียงอย่างเดียวนั้น ไม่ได้ช่วยให้การระบายอากาศมีประสิทธิภาพดีขึ้นได้ทั้งระบบ จึงต้องตั้งใจเลือกอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

2.ระดับของเสียงในการทำงานของท่อลมระบายอากาศ

ระดับของเสียงในการทำงานของระบบระบายอากาศก็เป็นเรื่องที่ต้องคิดให้ดี เพราะตามหลักสุขภาพของผู้ใช้งานภายในอาคารที่ดีนั้น ไม่ควรมีเสียงรบกวนเกิน 25-35 เดซิเบล เพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนการทำงานจนรู้สึกหงุดหงิด หรือส่งผลถึงสุขภาพการได้ยินในระยะยาว

3.ขนาดของท่อลมระบายอากาศต่อพื้นที่

ขนาดของท่อลมระบายอากาศควรกะทัดรัดและมีน้ำหนักเบา ซึ่งไม่ควรมีขนาดใหญ่มากเกินไปและไม่เกะกะพื้นที่ที่จะนำไปติดตั้ง รวมถึงต้องง่ายต่อการติดตั้ง และซ่อมแซมดูแลในอนาคต

4.ความต้านทานการกัดกร่อนท่อลมระบายอากาศ

ความต้านทานการกัดกร่อนท่อลมระบายอากาศก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องดูให้ดีก่อนที่จะทำการซื้อ เพราะในแต่ละวัน ภายในอาคารอาจจะไม่ได้เจอเพียงอากาศแห้ง ๆ เพียงอย่างเดียว โดยท่อเหล่านี้อาจจะต้องกลายเป็นท่อส่งก๊าซหรืออากาศที่ไม่บริสุทธิ์ ที่มีการปล่อยขึ้นสู่อากาศจากภายในอาคาร ซึ่งอากาศเหล่านี้มีระดับความชื้นที่หลากหลายไปตามแต่ละรูปแบบของตัวมัน ทำให้อาจเกิดการกลายเป็นไอน้ำสะสมบนผนังในท่อลมระบายอากาศ จนอาจทำให้เกิดการสะสมของสนิมในท่อได้

5.ความปลอดภัยจากอัคคีภัย

วัสดุที่ใช้ในการผลิตท่อลมระบายอากาศไม่ควรที่จะติดไฟได้ง่าย และปล่อยควันที่เป็นอันตรายระหว่างการเผาไหม้ ในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการเชื่อมต่อท่อลมระบายอากาศอย่างเป็นระบบ จึงควรมีการติดตั้งอุปกรณ์ช่วยรักษาความปลอดภัย ด้วยการปิดการทำงานเมื่อมีเหตุการณ์เสี่ยงเกิดไฟไหม้ด้วยเช่นกัน

ซึ่งนอกเหนือจากคุณสมบัติหลักทั้ง 5 ข้อเหล่านี้แล้ว ก็ยังต้องพิจารณาในเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมเข้าไปด้วย เช่น คุณสมบัติฉนวนกันความร้อนที่ดี งบประมาณ การจัดการ เป็นต้น

ประเภทของการระบายอากาศ

1.การถ่ายเทอากาศด้วยวิธีธรรมชาติอย่างการเปิดประตูหน้าต่าง

สำหรับบ้านหรือที่อยู่อาศัยการถ่ายเทอากาศที่ง่ายที่สุดคือการเปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศภายนอกไหลเวียนเข้ามาเป็นหลัก ในขณะที่อาคารสูงอย่างทาวน์เฮ้าส์ หรือคอนโดมิเนียม หากต้องการให้ภายในอาคารมีระบบการถ่ายเทอากาศที่ดี อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ท่อลมระบายอากาศ แต่จะต้องคอยเปิดประตูหน้าห้อง และหน้าต่างภายในห้องนั้น ๆ เพื่อให้มีการไหลจากอากาศภายนอก แล้วดันอากาศภายในขึ้นสู่ด้านบนของตัวอาคาร โดยพื้นที่ช่องเปิดนี้ต้องเปิดได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 ของพื้นที่

2.การระบายอากาศด้วยวิธีกล

การระบายอากาศด้วยวิธีกล คือวิธีที่สามารถใช้ระบายอากาศกับพื้นที่ใดก็ได้ โดยจะใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างท่อลมระบายอากาศ มาขับเคลื่อนให้เกิดการไหลของอากาศภายในสู่ภายนอกได้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เหมาะกับอาคารแบบสำนักงาน องค์กร ที่สาธารณะ หรืออื่น ๆ ที่เป็นอาคารสูง หรือมีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ โดยจะต้องมีลักษณะ ดังนี้

  • วัสดุที่ใช้หุ้มท่อลมระบายอากาศไม่ควรติดไฟ หรือก่อควันได้ง่าย และมีการหุ้มและบุภายในของท่อลมมาให้เรียบร้อย
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารทำความเย็นที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพร่างกายของผู้ที่อาศัยภายในอาคาร หรืออาจเกิดการติดไฟได้ง่ายมาใช้กับระบบปรับอากาศภายใน เพราะอาจมีปัญหากับท่อระบายอากาศได้เช่นกัน
  • อาคารใดที่ใช้ระบบปรับอากาศด้วยน้ำ ห้ามใช้ระบบท่อระบายอากาศ หรือท่อน้ำของเครื่องปรับอากาศร่วมกันกับท่อน้ำประปาภายในอาคารโดยตรง
  • หากมีการติดตั้งท่อลมระบายอากาศผ่านผนังกันไฟ จำเป็นที่จะต้องมีการติดตั้งลิ้นกันไฟปิดสนิทโดยอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มความทนทานเมื่อต้องอยู่ในพื้นที่ที่อาจเจอกับอุณหภูมิสูง
  • ทางเดินร่วม บันได ช่องบันได และช่องลิฟต์ ไม่ควรเป็นส่วนหนึ่งของระบบท่อลมระบายอากาศ
  • พื้นที่ที่มีลมหมุนเวียนภายใน ประมาณ 50 ลูกบาศก์เมตรต่อนาทีขึ้นไป ต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควัน หรืออุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้เอาไว้ โดยมีการเชื่อมกับท่อระบายอากาศ เพื่อให้สามารถตัดการทำงานเมื่อมีเหตุเพลิงไหม้ได้ทันท่วงที

เรื่องที่ต้องพิจารณาเพื่อคำนวณหาอัตราการระบายอากาศ

การจะเลือกท่อลมระบายอากาศมาใช้งาน จำเป็นที่จะต้องเข้าใจหลักสำคัญในการคำนวณหาอัตราการระบายอากาศ เพื่อให้ประเมินการเลือกใช้ท่อลมระบายอากาศได้เหมาะกับแต่ละพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องดูดังนี้

1.การนำเอาอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกไหลเข้าสู่ภายใน

เริ่มแรกจะต้องมีการคำนวณนำเอาอากาศบริสุทธิ์จากภายนอก ไหลเข้าสู่ภายใน โดยใช้วิธี VRP เริ่มจากการสำรวจดูว่า อากาศภายนอกสะอาดมากพอที่จะนำเข้ามาใช้ภายในอาคารหรือไม่ หากดูแล้วสะอาดไม่มากพออาจจะต้องมีตัวช่วย หรือวิธีบางอย่าง เพื่อให้สะอาดมากขึ้น ก่อนนำมาระบายอากาศไปตามส่วนต่างๆ ของอาคาร เมื่อได้ปริมาณอากาศสะอาดมาแล้ว ต้องคำนวณต่อว่า Ventilation Zone ในแต่ละโซนต้องการอากาศดีๆ เข้าไปแทนที่เท่าไหร่ เพื่อหาการจ่ายอากาศได้อย่างเหมาะสม จากนั้นจึงคำนวณหาว่า Ventilation System ต้องเอาอากาศภายนอกมาป้อนให้ที่ AHU เท่าไหร่

สูตรการคำนวณคร่าวๆ (ขอแจ้งก่อนว่า ใช้ไม่ได้กับทุกกรณี หากเป็นกรณีพิเศษ หรือไม่มั่นใจสามารถสอบถามกับทางร้านเพิ่มเติมได้ มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ)

การคำนวณปริมาณอากาศภายนอกที่จะต้องนำเข้าสู่พื้นที่ให้คำนวณด้วยสูตรดังนี้

  • Vbz = Rp x Pz + Ra x Az

โดย Vbz = Breathing Zone Outdoor Air Flow เป็น cfm

  • Az = พื้นที่ห้องเป็นตารางฟุต
  • Pz = จำนวนผู้อยู่อาศัยภายในห้อง
  • Rp = Outdoor Air Flow Rate ต่อคน เป็น cfm/คน
  • Ra = Outdoor Air Flow Rate ต่อพื้นที่ห้องเป็น cfm/ตารางฟุต

จากนั้นจึงหาค่า Zone Outdoor Airflow (Voz) จากสมการ Voz = Vbz/Ez

โดย Ez เป็นค่า “ประสิทธิผลในการกระจายอากาศระบาย”

2.การดูดอากาศเก่าที่อยู่ภายในอาคารออกไปทิ้งด้านนอกอาคาร

เพราะระบบระบายอากาศที่ดีไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของการส่งอากาศสะอาดเข้าสู่ด้านในอาคารเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นเรื่องการส่งอากาศเสียจากด้านในออกสู่ภายนอก จนเกิดการไหลเวียนเป็นระบบ เพื่อให้อากาศภายในนั้นเป็นมิตรกับผู้ที่อยู่อาศัยภายในนั้น

3.การควบคุมความดันในอาคาร

ในงานระบบระบายอากาศ จำเป็นที่จะต้องมีการคำนวณถึงความดันภายในอาคาร เพื่อทำให้อากาศสะอาด ที่เราต้องการจะนำเข้ามาสู่อาคารมีมากกว่าอากาศเสีย ที่เราจะดูดออกไปทิ้งยังด้านนอก

4.การจัดการกับอากาศ

การจัดการกับอากาศ หรือที่บางท่านเรียกกันว่าการ Make up หรือการ Bleed ทิ้งของอากาศ คือวิธีการในการบริหารจัดการอากาศของตัวอาคาร เพื่อให้มีปริมาณอากาศสะอาดที่เพียงพออยู่ภายใน และไม่ส่งอากาศเสียออกสู่ภายนอกมากจนเกินไป

5.คุณภาพของอากาศ และการนำกลับมาใช้งานใหม่

ปกติแล้ว วิศวกร หรือผู้ออกแบบระบบระบายอากาศภายในอาคาร จะไม่ประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคารด้วยหลักเพียงแค่ดี หรือไม่ดี แต่จะต้องมีการแบ่งระดับชั้นคุณภาพอากาศ เพื่อให้ง่ายต่การประเมินและพัฒนา เช่น 4 ระดับ โดยกำหนด ข้อจำกัดในการ Transfer หรือ Recirculate ให้ชัดเจน และเหมาะสมกับในแต่ละพื้นที่ ที่นำระบบระบายอากาศไปติดตั้ง ฯลฯ

ข้อดีของการมีระบบระบายอากาศคุณภาพภายในอาคาร

1.ลดอุณหภูมิภายในพื้นที่นั้น ๆ

เมื่อมีผู้คนจำนวนมากอยู่ในพื้นที่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นการทำงานการประชุม หรืองานสาธารณะต่าง ๆ สภาพแวดล้อมก็อาจร้อนและอบอ้าวได้ในไม่ช้า จากจำนวนคนที่แออัดภายในพื้นที่นั้น ๆ

หรือแม้จะมีคนไม่เยอะ แต่ด้วยสภาพอากาศภายในประเทศไทย โดยเฉพาะกับตอนกลางวัน หากไม่ได้เปิดเครื่องปรับอากาศ และไม่ได้มีร่มเงาจากต้นไม้หรืออื่น ๆ แล้วล่ะก็ ภายในบริเวณพื้นที่นั้น ๆ ก็อาจจะสัมผัสกับอากาศร้อนได้ไม่ยาก 

ซึ่งพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเท ไม่ว่าจะด้วยระบบท่อลมระบายอากาศ หรือวิธีธรรมชาติอื่น ๆ ก็จะสร้างสภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งช่วยทำให้สถานที่ทำงานมีประสิทธิผลมากขึ้นเช่นกัน

2.ช่วยควบคุมความชื้นในอากาศ

ในพื้นที่แต่ละบริเวณภายในอาคารต่าง ๆ สามารถสัมผัสกับความชื้นได้ทุกเมื่อ ซึ่งความชื้นที่ลอยในอยู่อากาศนี้ หากไม่มีการควบคุมก็อาจส่งผลทำให้เกิดเชื้อรา และบางอย่างเน่าเสียได้ตามธรรมชาติ นอกจากนี้ความชื้นในอากาศก็ยังอาจส่งผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา ยกตัวอย่างเช่น อาการแพ้ และปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจสำหรับคนจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม หากเช็กจนมั่นใจแล้วว่า บริษัท หรือองค์กรของคุณมีท่อลมระบายอากาศที่ดี ก็จะช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ไปได้

3.ลดสิ่งสกปรกที่ลอยอยู่ในอากาศ

แม้หลาย ๆ คนอาจจะเชื่อว่าอากาศภายนอกอาคารนั้นมีมลพิษมากกว่าอากาศภายในอาคาร แต่ความจริงแล้ว หากภายในอาคารเหล่านั้นมีท่อลมระบายอากาศที่ไม่ดี ก็อาจจะมีเชื้อโรค แบคทีเรีย ความชื้น กลิ่น หรืออื่น ๆ ที่ทำให้อากาศภายในอาคารไม่ดี จนยิ่งกว่าอยู่ด้านนอกอาคารก็เป็นได้

4.สุขภาพของคนที่อยู่ในอาคาร

เนื่องจากมลพิษทางอากาศ ไม่ว่าจะทั้งภายในอาคาร และระบบระบายอากาศที่ไม่ดี อาจสร้างปัญหาสุขภาพให้แก่บุคคลที่ใช้งานภายในอาคารเหล่านั้นได้ ไม่ว่าจะเป็น อาการปวดศีรษะ ภูมิแพ้ หอบหืด ผื่น ไซนัสอักเสบ และอีกหลาย ๆ อย่าง 

และแม้ว่าจะไม่เกิดอาการเจ็บป่วยใด ๆ ขึ้น แต่ปัญหาเหล่านี้ก็อาจจะสร้างความหงุดหงิด รำคาญใจ ไม่สดใสจากสภาพอากาศภายในก็เป็นได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยการมีระบบระบายอากาศภายในอาคารที่ดีนั่นเอง

Aeroduct แบรนด์ท่อลมอ่อนที่ใช้งานได้หลากหลาย

Aeroduct คือแบรนด์ท่อลมชนิดยืดหยุ่นสูง ที่เป็นแบรนด์ลูกของแบรนด์ Aeroflex ผู้นำในงานระบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบปรับอากาศ สุขาภิบาล ท่อส่งลม พลังงานแสงอาทิตย์ หลังคาและผนัง รวมไปถึงอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานดังกล่าว มีโรงงานผลิตทั้งใน สหรัฐอเมริกา จีน เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซีย และประเทศไทย โดยขายภายใต้แบรนด์สินค้า Aeroflex

ซึ่งสินค้าท่อลมอ่อนของ Aeroduct นั้นจะทำจากอลูมิเนียมฟอยล์ ยึดติดด้วยกาวอคริลิคชนิดพิเศษ เสริมโครงสร้างด้วยลวดสปริงชุบโลหะกันสนิม ระยะห่างระหว่างโครงลวดสปริง 25 มิลลิเมตร แข็งแรงทนทาน ไม่ติดไฟ รักษารูปทรงได้ง่ายเหมาะสำหรับงานระบบท่อส่งแอร์ ท่อระบายอากาศ และท่อดูดควัน

Aeroduct ท่อลมอ่อนอลูมิเนียมฟอยล์ชนิดยืดหยุ่น

สินค้าท่อลมอ่อนอลูมิเนียมฟอยล์ชนิดยืดหยุ่นของ Aeroduct ในปัจจุบันนั้นมี 4 รุ่นหลัก ๆ ด้วยกัน ได้แก่ รุ่น AL5 รุ่น AL5R รุ่น AL7 และรุ่น ALP ซึ่งจะมีความแตกต่างกันในเชิงรายละเอียดในเรื่องความหนาของตัวท่อ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • Aeroduct รุ่น AL5 

ท่อลมอ่อนอลูมิเนียมฟอยล์ชนิดยืดหยุ่น ทำจากอลูมิเนียมฟอยล์ 2 หน้าประกบหนา 2 ชั้น ตัวท่อมีความหนาโดยรวมอยู่ที่ 50 ไมครอน มีรุ่นย่อยด้วยกัน 4 รุ่น คือ

  • AL5 Bareduct : รุ่นมาตรฐานของรุ่น AL5 ไม่มีการหุ้มฉนวนใยแก้ว
  • AL5I – 16/25 1 ปอนด์ x 1 นิ้ว : รุ่นหุ้มฉนวนใยแก้วสำเร็จรูป โดยตัวฉนวนจะมีความหนา 25 มิลลิเมตร ความหนาแน่น 16 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • AL5I – 16/40 1 ปอนด์ x 1.5 นิ้ว : รุ่นหุ้มฉนวนใยแก้วสำเร็จรูป โดยตัวฉนวนจะมีความหนา 40 มิลลิเมตร ความหนาแน่น 16 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • AL5I – 24/25 1.5 ปอนด์ x 1 นิ้ว : รุ่นหุ้มฉนวนใยแก้วสำเร็จรูป โดยตัวฉนวนจะมีความหนา 25 มิลลิเมตร ความหนาแน่น 24 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • Aeroduct รุ่น AL5R

ท่อลมอ่อนอลูมิเนียมฟอยล์ชนิดยืดหยุ่น ทำจากอลูมิเนียมฟอยล์ 2 หน้าประกบหนา 2 ชั้น เสริมด้วยแผ่นเสริมแรง Scrim ตัวท่อมีความหนาโดยรวมอยู่ที่ 51 ไมครอน มีรุ่นย่อยด้วยกัน 6 รุ่น คือ

  • AL5R Bareduct : รุ่นมาตรฐานของรุ่น AL5R ไม่มีการหุ้มฉนวนใยแก้ว
  • AL5R – 16/25 1 ปอนด์ x 1 นิ้ว : รุ่นหุ้มฉนวนใยแก้วสำเร็จรูป โดยตัวฉนวนจะมีความหนา 25 มิลลิเมตร ความหนาแน่น 16 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • AL5R – 16/40 1 ปอนด์ x 1.5 นิ้ว : รุ่นหุ้มฉนวนใยแก้วสำเร็จรูป โดยตัวฉนวนจะมีความหนา 40 มิลลิเมตร ความหนาแน่น 16 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • AL5R – 16/50 1 ปอนด์ x 2 นิ้ว : รุ่นหุ้มฉนวนใยแก้วสำเร็จรูป โดยตัวฉนวนจะมีความหนา 50 มิลลิเมตร ความหนาแน่น 16 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • AL5R – 24/25 1.5 ปอนด์ x 1 นิ้ว : รุ่นหุ้มฉนวนใยแก้วสำเร็จรูป โดยตัวฉนวนจะมีความหนา 25 มิลลิเมตร ความหนาแน่น 24 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • AL5R – 32/25 2 ปอนด์ x 1 นิ้ว : รุ่นหุ้มฉนวนใยแก้วสำเร็จรูป โดยตัวฉนวนจะมีความหนา 25 มิลลิเมตร ความหนาแน่น 32 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • Aeroduct รุ่น AL7

ท่อลมอ่อนอลูมิเนียมฟอยล์ชนิดยืดหยุ่น ทำจากอลูมิเนียมฟอยล์ 2 หน้าประกบหนา 2 ชั้น ตัวท่อมีความหนาโดยรวมอยู่ที่ 70 ไมครอน มีรุ่นย่อยด้วยกัน 6 รุ่น คือ

  • AL7 Bareduct : รุ่นมาตรฐานของรุ่น AL7 ไม่มีการหุ้มฉนวนใยแก้ว
  • AL7I – 16/25 1 ปอนด์ x 1 นิ้ว : รุ่นหุ้มฉนวนใยแก้วสำเร็จรูป โดยตัวฉนวนจะมีความหนา 25 มิลลิเมตร ความหนาแน่น 16 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • AL7I – 16/40 1 ปอนด์ x 1.5 นิ้ว : รุ่นหุ้มฉนวนใยแก้วสำเร็จรูป โดยตัวฉนวนจะมีความหนา 40 มิลลิเมตร ความหนาแน่น 16 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • AL7I – 16/50 1 ปอนด์ x 2 นิ้ว : รุ่นหุ้มฉนวนใยแก้วสำเร็จรูป โดยตัวฉนวนจะมีความหนา 50 มิลลิเมตร ความหนาแน่น 16 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • AL7I – 24/25 1.5 ปอนด์ x 1 นิ้ว : รุ่นหุ้มฉนวนใยแก้วสำเร็จรูป โดยตัวฉนวนจะมีความหนา 25 มิลลิเมตร ความหนาแน่น 24 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • AL7I – 32/25 2 ปอนด์ x 1 นิ้ว : รุ่นหุ้มฉนวนใยแก้วสำเร็จรูป โดยตัวฉนวนจะมีความหนา 25 มิลลิเมตร ความหนาแน่น 32 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • Aeroduct รุ่น ALP 

ท่อลมอ่อนอลูมิเนียมฟอยล์ชนิดยืดหยุ่น ทำจากอลูมิเนียมฟอยล์ 1 หน้าประกบกับโพลีเอสเตอร์ 1 หน้า ตัวท่อมีความหนาโดยรวมอยู่ที่ 50 ไมครอน มีรุ่นย่อยด้วยกัน 4 รุ่น คือ

  • ALP Bareduct : รุ่นมาตรฐานของรุ่น ALP ไม่มีการหุ้มฉนวนใยแก้ว
  • ALP – 16/25 1 ปอนด์ x 1 นิ้ว : รุ่นหุ้มฉนวนใยแก้วสำเร็จรูป โดยตัวฉนวนจะมีความหนา 25 มิลลิเมตร ความหนาแน่น 16 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • ALP – 16/40 1 ปอนด์ x 1.5 นิ้ว : รุ่นหุ้มฉนวนใยแก้วสำเร็จรูป โดยตัวฉนวนจะมีความหนา 40 มิลลิเมตร ความหนาแน่น 16 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • ALP – 24/25 1.5 ปอนด์ x 1 นิ้ว : รุ่นหุ้มฉนวนใยแก้วสำเร็จรูป โดยตัวฉนวนจะมีความหนา 25 มิลลิเมตร ความหนาแน่น 24 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

สินค้าแบรนด์ Aeroduct ของ UDWASSADU

UDWASSADU ของเรา มีการจัดจำหน่ายท่อลมอ่อนอลูมิเนียมฟอยล์ชนิดยืดหยุ่นของแบรนด์ Aeroduct เอาไว้อย่างครบครัน ตามตารางสินค้าด้านล่างนี้

Aeroduct AL5
ขนาด ความยาวท่อลม ราคาท่อลมแต่ละชนิด
AL5 Bareduct หุ้มฉนวนสำเร็จรูป(ใยแก้ว)
นิ้ว มิลลิเมตร AL5I – 16/25 1 ปอนด์ x 1 นิ้ว AL5I – 16/40 1 ปอนด์ x 1.5 นิ้ว AL5I – 24/25 1.5 ปอนด์ x 1 นิ้ว
4 102 100 เมตร 900 บาท 2,300 บาท 2,800 บาท 2,700 บาท
5 127 100 เมตร 1,000 บาท 2,500 บาท 3,000 บาท 2,900 บาท
6 152 100 เมตร 1,100 บาท 2,800 บาท 3,500 บาท 3,400 บาท
7 178 100 เมตร 1,300 บาท 3,500 บาท 4,200 บาท 4,100 บาท
8 203 100 เมตร 1,500 บาท 3,800 บาท 4,600 บาท 4,500 บาท
9 229 100 เมตร 1,750 บาท 4,300 บาท 5,300 บาท 5,200 บาท
10 254 100 เมตร 1,900 บาท 4,800 บาท 5,800 บาท 5,700 บาท
12 305 100 เมตร 2,300 บาท 5,400 บาท 6,400 บาท 6,300 บาท
14 356 100 เมตร 2,800 บาท 6,400 บาท 7,400 บาท 7,300 บาท
16 406 100 เมตร 3,300 บาท 7,600 บาท 9,200 บาท 9,100 บาท
18 457 100 เมตร 3,800 บาท 8,500 บาท 10,000 บาท 9,900 บาท
20 508 100 เมตร 4,200 บาท 10,000 บาท 11,800 บาท 11,700 บาท
22 560 100 เมตร 4,700 บาท 10,500 บาท 13,000 บาท 12,900 บาท
24 610 100 เมตร 5,800 บาท 12,300 บาท 14,200 บาท 14,100 บาท
Aeroduct AL5R
ขนาด ความยาวท่อลม ราคาท่อลมแต่ละชนิด
AL5R Bareduct หุ้มฉนวนสำเร็จรูป(ใยแก้ว)
นิ้ว มิลลิเมตร AL5R – 16/25 1 ปอนด์ x 1 นิ้ว AL5R – 16/40 1 ปอนด์ x 1.5 นิ้ว AL5R – 16/50 1 ปอนด์ x 2 นิ้ว AL5R – 24/25 1.5 ปอนด์ x 1 นิ้ว AL5R – 32/25 2 ปอนด์ x 1 นิ้ว
4 102 100 เมตร 950 บาท 2,400 บาท 2,900 บาท 3,200 บาท 2,800 บาท 3,100 บาท
5 127 100 เมตร 1,050 บาท 2,600 บาท 3,100 บาท 3,700 บาท 3,000 บาท 3,500 บาท
6 152 100 เมตร 1,150 บาท 3,000 บาท 3,600 บาท 4,300 บาท 3,500 บาท 4,100 บาท
7 178 100 เมตร 1,450 บาท 3,600 บาท 4,300 บาท 5,100 บาท 4,200 บาท 4,900 บาท
8 203 100 เมตร 1,650 บาท 3,900 บาท 4,800 บาท 5,800 บาท 4,700 บาท 5,600 บาท
9 229 100 เมตร 1,850 บาท 4,400 บาท 5,400 บาท 6,400 บาท 5,300 บาท 6,200 บาท
10 254 100 เมตร 2,050 บาท 5,000 บาท 5,900 บาท 6,900 บาท 5,800 บาท 6,700 บาท
12 305 100 เมตร 2,450 บาท 5,600 บาท 6,500 บาท 7,600 บาท 6,400 บาท 7,500 บาท
14 356 100 เมตร 3,000 บาท 6,600 บาท 7,600 บาท 8,500 บาท 7,500 บาท 8,200 บาท
16 406 100 เมตร 3,500 บาท 7,800 บาท 9,400 บาท 10,800 บาท 9,300 บาท 10,400 บาท
18 457 100 เมตร 4,000 บาท 8,800 บาท 11,200 บาท 11,700 บาท 11,000 บาท 11,500 บาท
20 508 100 เมตร 4,500 บาท 10,800 บาท 12,000 บาท 14,500 บาท 11,900 บาท 14,200 บาท
22 560 100 เมตร 5,200 บาท 11,000 บาท 13,300 บาท 15,700 บาท 13,200 บาท 15,500 บาท
24 610 100 เมตร 6,000 บาท 12,500 บาท 14,500 บาท 16,700 บาท 14,400 บาท 16,300 บาท
Aeroduct AL7
ขนาด ความยาวท่อลม ราคาท่อลมแต่ละชนิด
AL7 Bareduct หุ้มฉนวนสำเร็จรูป(ใยแก้ว)
นิ้ว มิลลิเมตร AL7I – 16/25 1 ปอนด์ x 1 นิ้ว AL7I – 16/40 1 ปอนด์ x 1.5 นิ้ว AL7I – 16/50 1 ปอนด์ x 2 นิ้ว AL7I – 24/25 1.5 ปอนด์ x 1 นิ้ว AL7I – 32/25 2 ปอนด์ x 1 นิ้ว
4 102 100 เมตร 1,000 บาท 2,500 บาท 3,100 บาท 3,600 บาท 3,000 บาท 3,500 บาท
5 127 100 เมตร 1,100 บาท 2,700 บาท 3,400 บาท 4,000 บาท 3,300 บาท 3,900 บาท
6 152 100 เมตร 1,200 บาท 3,200 บาท 4,000 บาท 4,800 บาท 3,900 บาท 4,650 บาท
7 178 100 เมตร 1,500 บาท 3,800 บาท 4,700 บาท 5,600 บาท 4,600 บาท 5,400 บาท
8 203 100 เมตร 1,700 บาท 4,100 บาท 5,200 บาท 6,300 บาท 5,100 บาท 6,150 บาท
9 229 100 เมตร 1,900 บาท 4,500 บาท 5,800 บาท 7,000 บาท 5,700 บาท 6,800 บาท
10 254 100 เมตร 2,100 บาท 5,200 บาท 6,300 บาท 7,400 บาท 6,200 บาท 7,250 บาท
12 305 100 เมตร 2,500 บาท 5,800 บาท 7,000 บาท 8,100 บาท 6,900 บาท 7,900 บาท
14 356 100 เมตร 3,200 บาท 6,900 บาท 8,200 บาท 9,200 บาท 8,100 บาท 9,000 บาท
16 406 100 เมตร 3,800 บาท 8,100 บาท 10,000 บาท 11,500 บาท 9,900 บาท 11,350 บาท
18 457 100 เมตร 4,200 บาท 9,000 บาท 11,800 บาท 12,800 บาท 11,500 บาท 12,450 บาท
20 508 100 เมตร 4,700 บาท 11,200 บาท 12,800 บาท 15,700 บาท 12,700 บาท 15,500 บาท
22 560 100 เมตร 5,300 บาท 12,000 บาท 14,500 บาท 16,500 บาท 14,400 บาท 16,300 บาท
24 610 100 เมตร 6,500 บาท 13,000 บาท 16,000 บาท 17,700 บาท 15,900 บาท 17,500 บาท
Aeroduct ALP
ขนาด ความยาวท่อลม ราคาท่อลมแต่ละชนิด
ALP Bareduct หุ้มฉนวนสำเร็จรูป(ใยแก้ว)
นิ้ว มิลลิเมตร ALP – 16/25 1 ปอนด์ x 1 นิ้ว ALP – 16/40 1 ปอนด์ x 1.5 นิ้ว ALP – 24/25 1.5 ปอนด์ x 1 นิ้ว
4 102 100 เมตร 850 บาท 2,000 บาท 2,400 บาท 2,300 บาท
5 127 100 เมตร 900 บาท 2,200 บาท 2,700 บาท 2,600 บาท
6 152 100 เมตร 1,000 บาท 2,650 บาท 3,100 บาท 3,000 บาท
7 178 100 เมตร 1,200 บาท 3,000 บาท 3,800 บาท 3,700 บาท
8 203 100 เมตร 1,350 บาท 3,200 บาท 4,200 บาท 4,100 บาท
9 229 100 เมตร 1,600 บาท 3,600 บาท 4,300 บาท 4,200 บาท
10 254 100 เมตร 1,700 บาท 4,200 บาท 4,600 บาท 4,500 บาท
12 305 100 เมตร 2,000 บาท 4,600 บาท 5,200 บาท 5,100 บาท
14 356 100 เมตร 2,600 บาท 5,500 บาท 6,000 บาท 5,900 บาท
16 406 100 เมตร 3,000 บาท 6,600 บาท 7,800 บาท 7,700 บาท
18 457 100 เมตร 3,200 บาท 7,800 บาท 9,200 บาท 9,100 บาท
20 508 100 เมตร 3,600 บาท 8,900 บาท 10,700 บาท 10,600 บาท
22 560 100 เมตร 4,200 บาท 10,000 บาท 12,100 บาท 12,000 บาท
24 610 100 เมตร 5,200 บาท 11,300 บาท 13,200 บาท 13,100 บาท

ซึ่งราคาดังกล่าวนั้นเป็นเพียงราคาตั้งต้น และยังไม่รวมส่วนลดพิเศษจากทางร้าน รวมไปถึงทางร้านยังมีบริการจัดส่งทั่วประเทศอีกด้วย หากสนใจ สามารถเข้าไปดูสินค้าท่อลมแบรนด์ Aeroduct

ซื้อท่อลมระบายอากาศที่ไหนดี

ถ้าคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่สนใจจะหาซื้อท่อลมระบายอากาศไปใช้งาน การเลือกซื้อจากร้านที่ได้มาตรฐาน และมีความชำนาญในงานระบบระบายอากาศเป็นอย่างดี พร้อมมีการการันตีคุณภาพสินค้าและบริการหลังการขายถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามได้

UDWASSADU เป็นเว็บไซต์ซึ่งเชี่ยวชาญและรวบรวมวัสดุสำหรับงานช่างระบบปรับอากาศ ไฟฟ้า และสุขาภิบาลเอาไว้อย่างครบครัน พร้อมบริการให้คำปรึกษาไม่ต่างจากสัมผัสของจริงหน้าร้าน พร้อมส่งถึงมือและมีบริการติดตั้งให้ถึงที่ภายใน 1-2 วัน การันตีคุณภาพในเรื่องของสินค้าและบริการตั้งแต่ก่อนและหลังการขาย ในราคาที่คุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด จนเรียกได้ว่า ครบจบงบไม่บานปลาย อยากได้วัสดุอะไรเราพร้อมจัดหาให้ได้ดีที่สุดตามงบที่คุณมี ท่านสามารถเข้าไปเลือกซื้อสินค้าได้ที่เว็บไซต์ UDWASSADU

สนใจสินค้าเพิ่มเติมคลิก ท่อเฟล็กซ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Tel: 084-326-6454 Line: @udirons