ราคาท่อ PPR ท่อเขียวและอุปกรณ์ เลือกยังไงให้คุ้มค่า

ราคาท่อ PPR

สำหรับใครหลายๆคนที่ตอนนี้สนใจจะหาซื้อท่อน้ำเพื่อนำไปใช้ในระบบประปา ไม่ว่าจะทั้งในบ้าน อาคาร หรือแม้ในโรงงานอุตสาหกรรม ท่อ PPR (ท่อเขียว) คือ ท่อทางเลือกใหม่ที่ถูกนำมาทดแทนท่อทองแดง และท่อโลหะ ด้วยความคงทนที่มากกว่า ระยะเวลาการใช้งานยาวนานยิ่งขึ้น รวมถึงคุณสมบัติของท่อ PPR อีกมากมาย ทำให้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ราคาท่อ PPR ในปัจจุบันเป็นอย่างไร ควรเลือกแบบไหนถึงจะคุ้มค่า สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่!

ราคาท่อ PPR ในปัจจุบัน

รวมท่อ ppr ราคาถูก

ท่อ PPR ในปัจจุบันแบ่งเป็น 3 หมวดหมู่หลัก ๆ โดยอิงจากประเภทและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกท่อ ซึ่งมีราคามาตรฐานดังนี้

ขนาดของท่อ

ชนิดของท่อ

PN 10 SDR 11 PN 20 SDR 6 Fiber Composite
1/2 นิ้ว (20 มม.) 140 บาท 216 บาท 296 บาท
3/4 นิ้ว (25 มม.) 184 บาท 332 บาท 452 บาท
1 นิ้ว (32 มม.) 304 บาท 536 บาท 736 บาท
1-1/4 นิ้ว (40 มม.) 425 บาท 836 บาท 1,140 บาท
1-1/2 นิ้ว (50 มม.) 720 บาท 1,300 บาท 1,788 บาท
2 นิ้ว (63 มม.) 1,148 บาท 2,044 บาท 2,804 บาท
2-1/2 นิ้ว (75 มม.) 1,608 บาท 2,352 บาท 3,972 บาท
3 นิ้ว (90 มม.) 2,248 บาท 3,508 บาท 5,716 บาท
4 นิ้ว (110 มม.) 3,336 บาท 4,996 บาท 8,528 บาท
5 นิ้ว (125 มม.) 5,268 บาท 10,800 บาท 13,884 บาท
6 นิ้ว (160 มม.) 9,800 บาท
8 นิ้ว (200 มม.) 18,456 บาท
10 นิ้ว (250 มม.) 23,388 บาท
12 นิ้ว (315 มม.) 40,800 บาท

ซึ่งราคาดังกล่าวนั้นเป็นเพียงราคาตั้งต้น และยังไม่รวมส่วนลดพิเศษจากทางร้าน

อุปกรณ์ที่จำเป็นในการต่อท่อ PPR

อุปกรณ์ที่จำเป็นในการต่อท่อ PPR นั้นมีอยู่หลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นทั้งอุปกรณ์ในการตัดเชื่อม หัวเจาะประเภทต่างๆ และโดยเฉพาะข้อต่อกว่า 30 ชนิด ที่ช่วยเพิ่มความยาว , เปลี่ยนทิศทางการเดินท่อ หรือแยกสาขาการเดินท่อให้มากขึ้น รวมถึงยังสามารถเป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างท่อ PPR กับสุขภัณฑ์ต่างๆได้อีกด้วย ซึ่งโดยหลัก ๆ แล้วนั้น จะมีดังนี้

อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับท่อ PPR

ข้อต่อและอุปกรณ์ ขนาดของอุปกรณ์
ข้อต่อตรง 1/2 นิ้ว (20 มม.) — 6 นิ้ว (160 มม.)
ข้อต่อสามทาง 1/2 นิ้ว (20 มม.) — 6 นิ้ว (160 มม.)
ข้องอ 45 องศา 1/2 นิ้ว (20 มม.) — 6 นิ้ว (160 มม.)
ข้องอ 90 องศา 1/2 นิ้ว (20 มม.) — 6 นิ้ว (160 มม.)
ฝาครอบ 1/2 นิ้ว (20 มม.) — 6 นิ้ว (160 มม.)
ข้อต่อตรงลด 3/4 นิ้ว x 1/2 นิ้ว (25 x 20 มม.) — 6 นิ้ว x 4 นิ้ว (160 x 110 มม.)
บุชชิ่ง 3/4 นิ้ว x 1/2 นิ้ว (25 x 20 มม.) — 4 นิ้ว x 3 นิ้ว (110 x 90 มม.)
ข้อต่อสามทางลด 3/4 นิ้ว x 1/2 นิ้ว (25 x 20 มม.) — 4 นิ้ว x 3 นิ้ว (110 x 90 มม.)
ปลั๊กอุดเกลียวนอก 1/2 นิ้ว (20 มม.) — 1 นิ้ว (32 มม.)
ข้อต่อยูเนี่ยน 1/2 นิ้ว (20 มม.) — 1 นิ้ว (32 มม.)
บอลวาล์วยูเนี่ยน 1/2 นิ้ว (20 มม.) — 1 นิ้ว (32 มม.)
คลิปก้ามปูสั้น 1/2 นิ้ว (20 มม.) — 1 นิ้ว (32 มม.)
คลิปก้ามปูยาว 1/2 นิ้ว (20 มม.) — 1 นิ้ว (32 มม.)
ท่อครอส 1/2 นิ้ว (20 มม.) — 1 นิ้ว (32 มม.)
ข้อต่อสี่ทาง 1/2 นิ้ว (20 มม.) — 1-1/2 นิ้ว (50 มม.)
ข้องอ 90 องศาลด 3/4 นิ้ว x 1/2 นิ้ว (25 x 20 มม.) — 1-1/2 นิ้ว x 1-1/4 นิ้ว (50 x 40 มม.)
ข้อต่อตรงเกลียวใน A1 20 x 1/2 นิ้ว — 32 x 3/4 นิ้ว
ข้อต่อตรงเกลียวนอก A1 20 x 1/2 นิ้ว — 32 x 3/4 นิ้ว
ข้องอ 90 องศาเกลียวใน A1 20 x 1/2 นิ้ว — 32 x 3/4 นิ้ว
ข้องอ 90 องศาเกลียวนอก A1 20 x 1/2 นิ้ว — 32 x 3/4 นิ้ว
สามทางเกลียวใน A1 20 x 1/2 นิ้ว — 32 x 3/4 นิ้ว
สามทางเกลียวนอก A1 20 x 1/2 นิ้ว — 32 x 3/4 นิ้ว
ข้อต่อตรงเกลียวใน A2 32 x 1 นิ้ว — 63 x 2 นิ้ว
ข้อต่อตรงเกลียวนอก A2 32 x 1 นิ้ว — 63 x 2 นิ้ว
ข้องอ 90 องศาเกลียวใน A2 32 x 1 นิ้ว
ข้องอ 90 องศาเกลียวนอก A2 32 x 1 นิ้ว
สามทางเกลียวใน A2 32 x 1 นิ้ว
สามทางเกลียวนอก A2 32 x 1 นิ้ว
ข้องอ 90 องศาเกลียวในติดผนัง 20 x 1/2 นิ้ว — 25 x 3/4 นิ้ว
ข้อต่อยูเนี่ยนเกลียวใน 20 x 1/2 นิ้ว — 63 x 2 นิ้ว
ข้อต่อยูเนี่ยนเกลียวนอก 20 x 1/2 นิ้ว — 63 x 2 นิ้ว
หัวก๊อกผสมข้องอเกลียวใน 20 x 1/2 นิ้ว — 25 x 1/2 นิ้ว
ข้อต่ออานม้า 1-1/2 นิ้ว x 3/4 นิ้ว (50 x 25 มม.) — 2 นิ้ว x 3/4 นิ้ว (63 x 25 มม.)
ประตูน้ำ 1/2 นิ้ว (20 มม.) — 2 นิ้ว (63 มม.)
บอลวาล์วเกลียวใน 20 x 1/2 นิ้ว — 32 x 1 นิ้ว
บอลวาล์วเกลียวนอก 20 x 1/2 นิ้ว — 32 x 1 นิ้ว
แคลมป์รัดท่อ 1/2 นิ้ว (20 มม.) — 3 นิ้ว (90 มม.)
ตัวแปลงหน้าจาน A1 1-1/4 นิ้ว (40 มม.) — 4 นิ้ว (110 มม.)
ตัวแปลงหน้าจาน A2 6 นิ้ว (160 มม.)
สตับเอ็น 20 มม. — 32 มม.
หน้าจานเหล็ก 1-1/4 นิ้ว (40 มม.) — 6 นิ้ว (160 มม.)
ปะเก็นยาง 1-1/4 นิ้ว (40 มม.) — 6 นิ้ว (160 มม.)
ข้อต่อตรง (EF) 2-1/2 นิ้ว (75 มม.) — 6 นิ้ว (160 มม.)
ข้องอ 90 องศา (EF) 2-1/2 นิ้ว (75 มม.) — 6 นิ้ว (160 มม.)
ข้อต่อตรงลด (EF) 3 นิ้ว x 2 นิ้ว (90 x 63 มม.) — 6 นิ้ว x 4 นิ้ว (160 x 110 มม.)
ข้องอ 45 องศา (EF) 4 นิ้ว (110 มม.) — 6 นิ้ว (160 มม.)
ข้อต่อสามทาง (EF) 3 นิ้ว (90 มม.) — 6 นิ้ว (160 มม.)
ข้อต่อสามทางลด (EF) 3 นิ้ว x 1-1/2 นิ้ว (90 x 50 มม.) — 6 นิ้ว x 4 นิ้ว (160 x 110 มม.)
เครื่องเชื่อม 1/2 นิ้ว — 5 นิ้ว
หัวเชื่อมท่อ 1/2 นิ้ว (20 มม.) — 6 นิ้ว (160 มม.)
หัวเชื่อมอานม้า 1-1/2 นิ้ว x 3/4 นิ้ว (50 x 25 มม.) — 2-1/2 นิ้ว x 3/4 นิ้ว (75 x 25 มม.)
หัวเจาะอานม้า 3/4 นิ้ว (25 มม.)
หัวเชื่อมแท่งซ่อมท่อ 7 มม. / 11 มม.
แท่งซ่อมท่อ 7 มม. — 11 มม.
แผ่นวัดระยะ 16 มม. — 125 มม.
กรรไกรตัดท่อ 20 มม. — 40 มม. / 20 มม. — 75 มม.

วิธีการเลือกซื้อท่อ PPR เลือกยังไงให้คุ้มค่า

ท่อ ppr วิธีวัด

1.ควรเลือกซื้อท่อ PPR และข้อต่อที่ถูกผลิตขึ้นมาจากโรงงานเดียวกัน 

เนื่องจากท่อ PPR และข้อต่อที่ผลิตจากโรงงานเดียวกันนั้นจะสามารถผสานเป็นเนื้อเดียวกันได้ง่าย รวมถึงสมบูรณ์ดีกว่าต่างที่ ลดปัญหาการเกิดรอยรั่วภายหลังได้มากกว่า

2.ตรวจดูเลขระบุเวลาการให้ความร้อนบนเส้นท่อก่อนซื้อทุกครั้ง

การตรวจดูเลขระบุเวลาการให้ความร้อนบนท่อทุกครั้งก่อนซื้อนั้น จะช่วยทำให้การติดตั้งนั้นง่ายขึ้นกว่าเดิม และไม่พบปัญหาเรื่องท่ออุดตันจากการหลอมท่อกับข้อต่อนานเกินความจำเป็น

3.ดูในส่วนของเรื่องบริการก่อน และหลังการขาย 

ไม่ว่าจะทั้งเรื่องการให้แนะนำ การเลือกใช้งาน ตลอดไปจนถึงการรับประกันสินค้า รวมถึงบริการด้านอื่น ๆ โดยเมื่อซื้อท่อ PPR ไปใช้งาน ควรจะเลือกแบรนด์ หรือร้านค้าที่มีการการันตีชัดเจน มีทีมงานที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับท่อ PPR ที่พร้อมให้คำปรึกษาทั้งเรื่องของสินค้า การติดตั้ง และการใช้งานที่เหมาะสม

4.ควรวางระบบท่อด้วยข้อต่อที่หลากหลาย 

เพื่อความสะดวกในการเชื่อมต่อกับท่อแบบอื่น ๆ ได้ทุกประเภท และต้องผ่านการทดสอบผลิตภัณฑ์จากประเทศสเปน, เยอรมนี รวมถึงมาตรฐานความสะอาดจากประเทศอังกฤษ กับสหรัฐอเมริกา เพื่อมั่นใจได้ว่าท่อเหล่านี้ผ่านการตรวจสอบด้านความสะอาด ปลอดภัย รวมถึงคุณภาพมีความแข็งแรงที่ทนทานต่อแรงดันน้ำที่เกิดขึ้นภายในท่อ หรือแรงกระแทกจากภายนอก ว่าถูกต้องตามหลักวิศวกรรมการใช้งานที่ได้มาตรฐานสากล

สรุป

แม้ว่าราคาท่อ PPR นั้นจะสูงกว่าท่อ PVC ก็ตาม แต่ก็มีข้อดีเมื่อเทียบกับท่อ PVC คือ อายุการใช้งานของท่อ PPR ที่ยาวนานกว่ากว่ามาก เนื่องจากเป็นการสวมท่อแบบใช้เครื่องเชื่อม จะส่งผ่านความร้อนเข้าไป ทำให้ตัวเนื้อของท่อ PPR กับข้อต่อนั้นแนบสนิทเข้าด้วยกัน แต่ท่อ PVC จะเป็นเพียงการแค่สวมเข้าไปแล้วใช้น้ำยาประสานเพียงเท่านั้น ทำให้บางครั้งเมื่อเจอแรงดัน หรือการกระแทกเข้าก็จะแตกหักได้ง่าย จนอาจจะต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งเส้น สร้างความยุ่งยากให้งานระบบยิ่งขึ้นกว่าเดิม

นอกจากนั้น หากมีการวางแผนที่ดีในการจัดการเรื่องระบบประปาก่อนที่จะตัดสินใจซื้อท่อแล้วล่ะก็ ก็จะสามารถควบคุมในเรื่องของราคาวัสดุ รวมไปถึงปริมาณที่ต้องจัดหาได้ ช่วยให้คุ้มค่าคุ้มราคา ไม่สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุอีกด้วยเช่นกัน 

ซึ่งหากใครที่กำลังสนใจจะซื้อท่อ PPR แล้วล่ะก็ อย่าลืมมาดูได้ที่ UDWASSADU จำหน่ายอุปกรณ์งานระบบปรับอากาศ , ไฟฟ้า , สุขาภิบาลทุกชนิด ราคาถูกและคุณภาพดี รวมถึงส่งทั่วประเทศ ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนานกว่า 25 ปีของทางเรา

REF

Thaiprr