ฉนวนกันความร้อน มีอะไรบ้าง ? แต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร ? เพื่อให้การเลือกนำมาใช้งานนั้นตรงตามความต้องการมากที่สุด เนื่องจากฉนวนแต่ละชนิดนั้นมีความสามารถที่แตกต่างกันออกไป เราไม่สามารถบอกได้เลยว่าชนิดไหนดีที่สุด แต่บทความนี้จะช่วยบอกกับคุณได้ว่า ฉนวนกันความร้อนชนิดไหนเหมาะกับคุณมากที่สุด
ชนิดของฉนวนกันความร้อนมีอะไรบ้าง มีคุณสมบัติพิเศษต่างกันอย่างไร ?
เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา หลังจากที่เราได้เกริ่นไปแล้วในช่วงต้น ว่าเราจะมาอธิบายว่าฉนวนกันความร้อน มีประเภทอะไรบ้าง เพื่อให้เลือกไปใช้งานได้ตรงตามความต้องการสูงที่สุด ต่อจากนี้เราจะขอหยิบเอาฉนวนกันความร้อนที่พบได้มากที่สุดในประเทศไทยมาฝาก ซึ่งแต่ละชนิดเราจะบอกในส่วนของคุณสมบัติต่าง ๆ ข้อดี และ ข้อเสีย คร่าว ๆ ถ้าพร้อมแล้วไปชมกันเลย !
-
ฉนวนกันความร้อนโพลีเอทิลีน
ฉนวนกันความร้อนในประเภท “โพลีเอทิลีน” หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่า ฉนวนแบบ PE ค่อนข้างพบได้บ่อยในประเทศไทย เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย แถมยังง่ายต่อการติดตั้งอีกด้วย ลักษณะภายนอกจะเป็นเหมือนกับแผ่นโฟมที่มีการหุ้มฟอยล์เอาไว้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง นิยมนำไปติดตั้งภายใต้หลังคาที่เป็นสังกะสี มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย ราคาถือว่าค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับชนิดอื่น ๆ แต่ข้อเสียคือเมื่อฉนวนภายนอกที่เป็นฟอยล์เกิดการฉีกขาด จะทำให้ฉนวนด้านในที่เป็นโฟม PE กลายเป็นเชื้อไฟอย่างดีเมื่อเกิดเหตุอัคคีภัย
-
ฉนวนกันความร้อนอะลูมิเนียมฟอยล์
ทุกครั้งที่มีการตั้งคำถามว่า ชนิดของฉนวนกันความร้อนมีอะไรบ้าง ? ชื่อของฉนวนแบบ “อะลูมิเนียมฟอยล์” อาจไม่ได้ถูกกล่าวถึงสักเท่าไหร่ ทั้ง ๆ ที่ฉนวนแบบอะลูมิเนียมฟอยล์นั้นเป็นส่วนหนึ่ง ของฉนวนกันความร้อนเกือบทุกชนิด การที่จะกล่าวว่านี่คือชนิดของฉนวนกันความร้อนคงไม่ถูกต้องสักเท่าไหร่ เพราะฉนวนชนิดนี้จำเป็นจะต้องทำงานร่วมกับฉนวนประเภทอื่น ๆ คุณสมบัติพิเศษคือการ “สะท้อนความร้อน” มากกว่าการป้องกันความร้อน ดังนั้นจึงนิยมนำมาหุ้มฉนวนประเภทอื่น ๆ อย่างเช่น ฉนวนโพลีเอทิลีน หรือ ฉนวนใยแก้ว เป็นต้น
-
ฉนวนกันความร้อนโพลียูรีเทน
ฉนวนกันความร้อนที่เราคุ้นเคย มักจะมาในรูปแบบฉนวนเป็นแผ่น ๆ ที่มีความหนาแตกต่างกันออกไป แต่ฉนวนประเภท “โพลียูรีเทน” นั้นแตกต่างโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นฉนวนแบบโฟม PU ที่จำเป็นจะต้องทำการฉีดพ่นในบริเวณที่ต้องการ ราคาของฉนวนค่อนข้างถูก แต่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งด้วยกรรมวิธีพิเศษ ซึ่งจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ และเครื่องมือเฉพาะทางเท่านั้น ข้อดีคือมีน้ำหนักเบา ดูดซับเสียงรบกวนได้เป็นอย่างดี แต่ข้อเสียคืออายุการใช้งานที่อาจไม่ยืนยาวเมื่อเทียบกับฉนวนประเภทอื่น ๆ และไม่สามารถต้านทานไฟได้เท่าที่ควร
-
ฉนวนกันความร้อนเยื่อกระดาษ
อาจฟังดูไม่น่าเชื่อสักเท่าไหร่ ที่กระดาษจะสามารถป้องกันความร้อนได้ แต่สำหรับฉนวนกันความร้อนแบบ “เยื่อกระดาษ” นี่ถือว่าเป็นฉนวนกันความร้อนที่มีคุณสมบัติดีเยี่ยมอันดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้ ถูกผลิตขึ้นมาจากกระดาษรีไซเคิล เป็นฉนวนกันความร้อนที่มีเส้นใยที่แข็งแรง แต่มีน้ำหนักเบาอย่างไม่น่าเชื่อ สามารถติดตั้งได้ทั้งฉนวนในรูปแบบแผ่น และ ฉนวนกันความร้อนในรูปแบบฉีดพ่น สามารถกันความร้อน พร้อมกับดูดซับเสียงรบกวนได้ในเวลาเดียวกัน มีกระบวนการพิเศษที่ทำให้สามารถต้านทานอัคคีภัยได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่ถูกกับความชื้นเป็นที่สุด
-
ฉนวนกันความร้อนใยหิน
เมื่อดูจากชื่อของฉนวนอาจทำให้หลาย ๆ คนเข้าใจผิด เพราะเคยมีการกล่าวถึงเป็นอย่างมากในโลกอินเทอร์เน็ต ว่าฉนวนกันความร้อนแบบ “ใยหิน” ถูกสร้างขึ้นมาจากใยหินภูเขาไฟ ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้ผู้อาศัยเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังร้ายแรงหลาย ๆ โรค ซึ่งถ้าเกิดฉนวนชนิดนี้ถูกสร้างจากใยหินภูเขาไฟก็อันตรายจริง ๆ แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่เลย วัสดุที่ใช้สร้างคือ “ใยหินสังเคราะห์” ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์แม้แต่น้อย เป็นฉนวนชั้นเยี่ยมที่ป้องกันทั้ง ความร้อน เสียงรบกวน ซ้ำยังทนไฟ มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
-
ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว
ข้อปิดท้ายด้วยฉนวนกันความร้อนแบบ “ใยแก้ว” นี่คงเป็นคำตอบอันดับต้น ๆ ที่จะนึกขึ้นได้ หากมีการตั้งข้อสงสัยว่า ฉนวนกันความร้อนมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ? เพราะนิยมใช้ในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย สามารถติดตั้งได้ทั้งใต้หลังคา และ ติดตั้งภายในผนัง ถูกสร้างจากใยแก้วที่ได้จากการรีไซเคิล เป็นฉนวนที่มีราคาค่อนข้างถูกเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับคุณภาพ คุณสมบัติพิเศษคือเป็นฉนวนชั้นยอดทั้งการป้องกันความร้อน ดูดซับเสียงรบกวน ไม่เป็นเชื้อไฟ ไม่เป็นอาหารของสัตว์ฟันแทะ ข้อเสียคือประสิทธิภาพจะน้อยลง หากได้รับความชื้นที่มากเกินจำเป็น
อยากได้ฉนวนกันความร้อน ราคาถูก คุณภาพดี ต้องทำอย่างไร
หลังจากได้รู้กันไปแล้วว่า ฉนวนกันความร้อนมีประเภทอะไรบ้าง ซึ่งตัวอย่างที่เราได้หยิบยกมานั้นยังไม่ใช่ชนิดของฉนวนกันความร้อนทั้งหมด ยังมีอีกหลายชนิดที่เราไม่ได้กล่าวถึง สำหรับผู้ที่กำลังมองหาฉนวนกันความร้อนคุณภาพดีเพื่อใช้งาน แต่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกซื้ออย่างไรดี เราขอแนะนำให้คุณรู้จักกับร้านขายวัสดุก่อสร้าง UDWASSADU ของเรา สินค้าประเภทฉนวนกันความร้อนเป็นหนึ่งในสินค้าขายดีของเรา เราพร้อมจำหน่ายสินค้าคุณภาพดีในราคาสุดพิเศษให้กับคุณ หากยังไม่มั่นใจว่าจะเลือกใช้ฉนวนประเภทไหนดี เราก็มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
ฉนวนกันความร้อนจาก UDWASSADU มียี่ห้อไหนบ้าง
- ฉนวนกันความร้อน จาก SCG : ฉนวนกันความร้อนจาก SCG เป็นฉนวนใยแก้ว ทำมาจากการหลอมแก้วเป็นวัตถุดิบคุณภาพสูงภายในประเทศ ซึ่งใช้อุณหภูมิสูงในการหลอมละลายและปั่นเส้นใยขนาดเล็ก สามารถใช้เพื่อป้องกันความร้อนและยังดูดซับเสียงได้หลากหลายประเภท
- ฉนวนใยหิน จาก Rockwool : Rockwool เป็นฉนวนกันความร้อนและกันเสียง ผลิตจากแร่ใยหินประเภทหินบะซอลท์ และหินภูเขาไฟ โดยนำหินมาหลอมที่อุณหภูมิมากกว่า 1000 องศาเซลเซียส แล้วมาปั่นเป็นเส้นใยของหิน แล้วนำมาเชื่อมเป็นเส้นใย ซึ่ง Rockwool สามารถป้องกันเสียงได้มากกว่า 7-10 เดซิเบล หรือประมาณเสียงเบาลด 50%
- ฉนวนใยหิน รุ่น Safe ‘n’ Silent Pro 380: เป็นฉนวนใยหินที่เหมาะสำหรับการใช้งานกับผนังเบา อย่างเช่น อาคารสำนักงาน โรงเรียน และโรงพยาบาล โดยรุ่นดังกล่าวมีความแข็งแรงทนทาน ไม่ซับน้ำและยังทนไฟได้อีกด้วย
- ฉนวนกันความร้อน รุ่น Cool ‘n’ Comfort SL: ฉนวนประเภทนี้เหมาะสำหรับการใช้งานกับหลังคา ซึ่งเป็นตัวช่วยระบายอากาศ ที่ทำให้รู้สึกสบายตัวมากขึ้น โดยคุณสมบัติความทนทาน ไม่เสียหายเมื่อโดนน้ำ
- ฉนวนกันความร้อน รุ่น Thermalrock S (Slab): ฉนวนใยหินประเภทนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานแบบฉนวนทั่วไป ซึ่งสามารถใช้ได้หลากหลายรูปแบบทั้ง ดาดฟ้า อาคารเชิงพาณิชย์ อาคารที่พัก โดยรุ่น Thermalrock เป็นรุ่นที่ติดตั้งได้ง่าย ไม่ยุบตัวแน่นอน
- ฉนวนใยแก้ว จาก ไมโครไฟเบอร์: ฉนวนใยแก้วสำหรับไมโครไฟเบอร์มีหลากหลายประเภท ทั้ง สำหรับงานท่อปรับอากาศ, งานทนอุณหภูมิ HI-TEMP, งานหุ้มท่อน้ำร้อน-น้ำเย็น, งานปูเหนือเพดาน และ งานหลังคา/งานผนัง เป็นต้น
บทส่งท้าย
ฉนวนกันความร้อน มีอะไรบ้าง ? สุดท้ายนี้เราอยากแนะนำให้เลือกซื้อฉนวนกันความร้อนให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพราะฉนวนกันความร้อนที่ดีที่สุดนั้นไม่มีอยู่จริง สิ่งที่จะทำให้คุณภาพของฉนวนกันความร้อนออกมาดีที่สุด คือการเลือกใช้ฉนวนให้เหมาะกับความต้องการที่แท้จริง ถ้าคุณยังไม่มั่นใจว่าจะตัดสินใจเลือกซื้อฉนวนกันความร้อนได้ถูกประเภทหรือไม่ ติดต่อสอบถามกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้เสมอ เพียงติดต่อมาที่ LINE : @udirons