ฉนวนกันความร้อน PE กับ PU แบบไหนดีกว่ากัน ?

ฉนวนกันความร้อน PE

ถ้าคุณกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุสำหรับป้องกันความร้อนในบ้านของคุณ ชื่อของ “ฉนวนกันความร้อน PE” และ “ฉนวนกันความร้อน PU” คงเป็นชื่อของฉนวนกันความร้อนที่คุณค้นหาเจออันดับแรก ๆ เนื่องจากได้รับความนิยมค่อนข้างสูง จากราคาที่ถูก การติดตั้งไม่ยุ่งยากสักเท่าไหร่ มักถูกนำไปใช้ในอาคารทุกรูปแบบ แต่ด้วยชื่อที่ดูรวม ๆ แล้วคล้ายกันพอสมควร ทำให้ผู้ที่ยังไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับฉนวนทั้ง 2 แบบอาจเกิดความสงสัย ว่าทั้งคู่เป็นฉนวนชนิดเดียวกันหรือไม่ ? แตกต่างกันอย่างไร ? บทความนี้จะเป็นคำตอบให้คุณในทุก ๆ ข้อสงสัย

ทำความรู้จักกับ ฉนวนกันความร้อน PE และ PU ฉนวนยอดนิยมในไทย

ก่อนอื่นเราต้องรู้จักกับทั้ง ฉนวนกันความร้อนPE และ PU กันเสียก่อน ทั้งสองมีความคล้ายกันมากกว่าในเรื่องของชื่อ แต่เป็นฉนวนที่มีคุณสมบัติใกล้ ๆ กัน เนื่องจากวัสดุตั้งต้นนั้นมาจากชนิดคล้ายกัน แตกต่างกันแค่เพียงคุณสมบัติทางเคมีบางอย่างเท่านั้น โดยสามารถเจาะลึกฉนวนทั้ง 2 ชนิดได้ดังต่อไปนี้

ฉนวนกันความร้อน

·       ฉนวนกันความร้อน PE

ฉนวนกันความร้อน PE จะมาในลักษณะ “ฉนวนกันความร้อนรูปแบบแผ่น” นิยมนำไปติดกับแผ่นหลังคาชนิดต่าง ๆ มีฟอยล์ห่อหุ้ม มีราคาถูก ผลิตมาจากโพลีเอธีน (Poly Etylene) หนึ่งในชนิดของพลาสติกที่นิยมใช้มากที่สุดในโลก เนื่องจากมีราคาที่ถูกที่สุด หากถามว่า ฉนวนกันความร้อนPE ดีไหม ? ต้องยอมรับว่าดีในระดับหนึ่ง แต่ในอาคารที่มีงบประมาณการก่อสร้างสูง ๆ มักจะไม่เลือกฉนวนชนิดนี้ไปใช้งานสักเท่าไหร่ เนื่องจากขอเสียของฉนวนชนิดนี้คือ ไม่มีความสามารถต้านทานไฟได้นั่นเอง

·       ฉนวนกันความร้อน PU

ฉนวนความร้อน PU เป็นฉนวนที่มีลักษณะเป็น “ฉนวนกันความร้อนแบบโฟม” การติดตั้งจะใช้วิธีการฉีดพ่น ซึ่งจำเป็นจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในขั้นตอนนี้ เนื่องจากจะมีการฟุ้งกระจายของสารเคมี จำเป็นต้องมีเครื่องมือป้องกันเฉพาะเท่านั้น ถูกสร้างขึ้นมาจากโพลียูลีเทน (Polyurethane) กันความร้อนได้ดี ดูดซับเสียงรบกวนที่เกิดจากการกระทบได้ ป้องกันน้ำช่วยป้องกันการรั่วซึม ข้อเสียคือไม่มีคุณสมบัติกันไฟ แม้จะชื่อคล้ายฉนวนกันความร้อน PE แต่คุณสมบัติโดยรวมถือว่าแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง  

ฉนวนกันความร้อน PE

เปรียบเทียบคุณสมบัติให้เห็นชัด ๆ ระหว่างฉนวนกันความร้อน PE และ PU

ฉนวนกันความร้อน PE และ PU ได้รับการตั้งข้อสงสัยมากมายบนเว็บไซต์ Pantip เว็บบอร์ดที่มีเอาไว้ตั้งกระทู้เพื่อนำเอาไว้แสดงความคิดเห็น ยังมีอีกหลาย ๆ คนที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าควรเลือกใช้ฉนวนชนิดใดดี ระหว่างฉนวนทั้ง 2 ชนิด เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจมากยิ่งขึ้น ในบทความนี้เราจะนำเอาความแตกต่างของฉนวนทั้งคู่ พร้อมกับหยิบยกเลยว่าในคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เรายกมานั้น ฉนวนชนิดไหนทำได้ดีมากกว่ากัน เพื่อให้คุณได้รู้ว่า ฉนวนที่เหมาะกับคุณคือชนิดไหนกันแน่

·       ราคา

หากในเรื่องของราคา ฉนวนกันความร้อน PE จะถูกมากกว่าพอสมควร เนื่องจากการติดตั้งฉนวนกันความร้อน PU จะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ และอุปกรณ์สำหรับการติดตั้งที่ยุ่งยากกว่า ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่มเข้ามา แตกต่างจากฉนวนแบบ PE ที่สามารถติดตั้งด้วยตนเองได้ง่าย ๆ ด้วยทักษะทางการช่างพื้นฐานเพียงเท่านั้น ถ้าคุณต้องการฉนวนราคาถูกฉนวน PE คือคำตอบของคุณอย่างแน่นอน

·       คุณสมบัติพิเศษของฉนวน

คุณสมบัติทางฉนวนนั้นค่อนข้างตัดสินได้ยาก เนื่องจากมีปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่ต้องคำนึงถึง แต่จากการหาข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งที่มา ถ้าวัดกันแบบเท่าเทียมกัน โดยใช้ ฉนวนกันความร้อนPE และ PU ที่มีความหนาเท่ากัน ผลลัพธ์ที่ออกมานั้นไม่แตกต่างกันสักเท่าไหร่ ด้วยสารตั้งต้นที่มาจากโพลีเมอร์คล้าย ๆ กัน ในเรื่องของคุณสมบัติการกันไฟก็ทำได้ไม่ดีเหมือนกัน ในข้อนี้เราคงต้องขอให้ทั้งคู่ “เสมอกัน” แต่จากกรรมวิธีการติดตั้ง ทำให้ส่วนมากแล้ว ฉนวน PU จะมีความหนามากกว่า ทำให้ทางด้านการใช้งานจริง จะมีคุณสมบัติที่ดีกว่านั่นเอง

·       การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ในตอนนี้เราต้องใส่ใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น สาเหตุที่เรากำลังหาข้อมูลของฉนวนกันความร้อน เนื่องจากโลกมีมลภาวะต่าง ๆ ส่งผลให้มีอุณหภูมิที่ร้อนเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี ดังนั้นการเลือกฉนวนกันความร้อน หากมีคุณสมบัติที่ช่วยให้โลกไม่ต้องรับภาระมากขึ้นก็จะดีกว่า ซึ่งสำหรับข้อนี้ ฉนวนกันความร้อนPE ชนะขาดอย่างไม่มีข้อครหา เนื่องจากเมื่อฉนวน PE ถูกรื้อถอนออกมาจากอาคารแล้ว สามารถนำไปรีไซเคิลได้ แตกต่างจากฉนวนกันความร้อน PU ที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้นั่นเอง

ฉนวน PE กับ PU ยังมีฉนวนกันความร้อนแบบไหนอีก

นอกจากฉนวน PE กับ  PU ยังมีฉนวนกันความร้อนอีกมากมาย ขึ้นอยู่กับวัสดุในการทำฉนวนกันความร้อนขึ้น โดยแต่ละประเภทมีคุณสมบัติ และมีจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกันไป แต่มีฉนวนกันความร้อนแบบไหนบ้างไปดูกัน

  • ฉนวนใยแก้ว ทำมาจากเส้นใยไฟเบอร์ขนาดเล็กๆ คล้ายกับรูพรุน โครงสร้างของเส้นใยที่ไม่ทึบ โดยมีจุดเด่นตรงที่ช่วยลดปริมาณความร้อน ซึ่งช่วยให้อากาศเย็นมากขึ้น ระบายความร้อนได้ดี นอกจากนี้ยังมีแผ่นฟอยล์ที่ช่วยกันความร้อนไม่ให้ออกจากภายในฉนวน นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติที่กันเสียง และมีความยืดหยุ่นสูง รวมถึงมีน้ำหนักเบา
  • ฉนวนใยหิน คือ เส้นใยสังเคราะห์ที่ทำมาจากหินบะซอลต์และโดโลไมท์ มาหลอมด้วยอุณหภูมิที่สูงมาก จากนั้นนำมาปั่นให้เป็นเส้นใย ซึ่งฉนวนใยหินไม่ถูกเผาไหม้ที่จุดหลอมเหลว 1,000 องศาเซลเซียส โดยฉนวนใยหินเหมาะสำหรับการใช้งานในโรงงานเป็นหลัก เพราะสามารถทนความร้อนได้สูง
  • ฉนวนอะลูมิเนียม เป็นแผ่นอะลูมิเนียม 2 หน้า พื้นผิวเรียบ และมีความเหนียว ดังนั้นจึงทำให้แข็งแรง ไม่ฉีกง่าย โดยหน้าที่ของอะลูมิเนียมคือ การสะท้อนความร้อน ซึ่งด้วยเป็นแผ่นอะลูมิเนียม 2 หน้าทำให้ช่วยการสะท้อนความร้อนได้สูงมากยิ่งขึ้น 95% แต่มีข้อเสียตรงที่ไม่สามารถกันเสียงได้

ฉนวนกันความร้อน

เลือกฉนวนกันความร้อนไม่ยากอย่างที่คุณคิด เพียงทำตามทริคง่าย ๆ ที่เราแนะนำ

จากความแตกต่างของ ฉนวนกันความร้อนPE และ PU ทำให้เราได้รู้แล้วว่า ฉนวนแต่ละชนิด แม้จะมีชื่อที่คล้าย ๆ กัน แต่คุณสมบัติทางด้านการใช้งานนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง หากคุณยังไม่มั่นใจว่าจะเลือกฉนวนด้วยตนเองไม่ได้ ลองนำเทคนิคต่อจากนี้ไปใช้ รับรองว่าได้ฉนวนที่คุณกำลังตามหาอย่างแน่นอน

  1.   งบประมาณที่มี ชนิดของฉนวนแต่ละรูปแบบมีราคาแตกต่างกัน ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่างบประมาณของคุณมีมากน้อยแค่ไหน
  2.   ภูมิอากาศในที่ตั้งของบ้าน สภาพอากาศของที่ตั้งอาคารสำคัญมาก หากอยู่ในแหล่งที่มีความร้อนสูงมาก ควรเลือกชนิดของฉนวนที่คุณสมบัติป้องกันความร้อนได้สูง
  3.   ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ง่ายที่สุดสำหรับการติดตั้งฉนวนกันความร้อน เพียงคุณมองหาผู้เชี่ยวชาญที่มอบคำแนะนำดี ๆ ให้คุณได้เท่านั้น

จากเทคนิคที่เรากล่าวไปทั้ง 3 ข้อ ถ้าคุณไม่อยากทำตามเทคนิคแบบแยกไปทีละข้อ UDWASSADU ช่วยคุณได้ เราคือผู้เชี่ยวชาญทางด้านของวัสดุก่อสร้างทุกรูปแบบ เรามีฉนวนกันความร้อนคุณภาพดีให้คุณได้เลือกใช้ มาจากแบรนด์ชั้นนำไม่ว่าจะเป็น ตราช้าง , Rockwool และ MicroFiber ด้วยราคาที่ทำให้งบประมาณการสร้างบ้านไม่บานปลาย พร้อมด้วยคำแนะนำดี ๆ ที่พร้อมมอบให้คุณอย่างจริงใจมากที่สุด และยังมีสิทธิพิเศษดี ๆ อีกมากมาย

สรุป

สุดท้ายนี้หากคุณกำลังมองหาฉนวนกันความร้อน UDWASSADU ต้องขอแนะนำว่า นอกจากฉนวนกันความร้อน PE และ PU ยังมีฉนวนชนิดอื่น ๆ ให้คุณเลือกอีกมากมาย ฉนวนกันความร้อน ราคาต่อตารางเมตร  ลองค้นหาฉนวนชนิดอื่น ๆ ดูก่อนแล้วค่อยตัดสินใจก็ไม่สายเกินไป ภายในเว็บไซต์ของเราก็มีบทความก่อนหน้านี้ ที่ได้แนะนำชนิดของฉนวนกันความร้อนต่าง ๆ ไปแล้ว สามารถอ่านข้อมูลได้เลย เพียง “คลิกที่นี่” ส่วนผู้อ่านที่กำลังสนใจสั่งซื้อฉนวนกันความร้อนกับเรา ติดต่อผ่านช่องทางการติดต่อต่าง ๆ ของเราได้เลย ตลอดช่วงเวลา 08:00-17:00