ระบบระบายอากาศในโรงงาน มีอะไรบ้าง ติดตั้งอย่างไร

ระบบระบายอากาศในโรงงาน

สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม สิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยคือ การจัดวางระบบระบายอากาศในโรงงานให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เนื่องจากสภาพแวดล้อมภายในโรงงานอุตสาหกรรม ค่อนข้างที่จะมีอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูงก็อาคารประเภทอื่น ๆ และรูปทรงของตัวอาคาร ไปจนถึงเครื่องจักรต่าง ๆ ภายในอาคารที่มักจะปล่อยความร้อนออกมาอยู่ตลอดเวลาการทำงาน ยังไม่รวมไปถึงก๊าซอันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตสินค้าบางอย่าง บทความนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับระบบระบายอากาศภายในโรงงาน ถ้าพร้อมแล้วไปชมกันเลย !

ระบบระบายอากาศในโรงงาน

ระบบระบายอากาศในโรงงาน เปรียบเสมือนเส้นเลือดในงานอุตสาหกรรม 

ระบบระบายอากาศในโรงงานมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะในโรงงานอุตสาหกรรมส่วนมาก จะไม่มีประตู หรือ หน้าต่าง ที่เพียงพอต่อการระบายอากาศ เหมือนอย่างบ้านเรือนทั่ว ๆ ไป หากไม่มีระบบสำหรับระบายอากาศ จะทำให้อากาศภายในโรงงานนั้นเต็มไปด้วยอากาศเสีย ซึ่งมีความเสี่ยงต่อผู้ดำเนินงานภายในโรงงานนั้น ๆ และในขณะเดียวกันอาจเกิดอันตรายจากการควบแน่นของก๊าซที่มีพิษทั้งหลาย ในกรณีเลวร้ายจะเป็นเรื่องของการระเบิดจากแก๊สที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ดังนั้นระบบระบายอากาศจึงเปรียบเสมือนเส้นเลือดของโรงงานอุตสาหกรรม มีการนำอากาศเก่าไปหมุนเวียนกับอากาศใหม่ เพื่อให้อากาศภายในโรงงานมีประสิทธิภาพสูงที่สุด

ระบบระบายอากาศในโรงงานที่พบได้บ่อยที่สุด 

ภายในระบบระบายอากาศในโรงงานจะมีการแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ส่วน เนื่องจากแต่ละพื้นที่ก็มีความจำเป็นที่จำต้องใช้ระบบระบายอากาศที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในโรงงานส่วนมากแล้วจะมีการแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

  • ระบบระบายอากาศทั่วไป 

ระบบระบายอากาศโดยทั่วไป จะเป็นการใช้พัดลมระบายอากาศขนาดใหญ่เพื่อดูดเอาอากาศภายในโรงงาน ซึ่งเต็มไปด้วยอากาศที่มีความร้อนจากเครื่องจักร ไปจนถึงอากาศที่มีก๊าซที่เป็นอันตรายเจือปนอยู่ นอกจากการดูดอากาศภายในออกไปสู่ภายนอกแล้ว ก็จะมีการนำอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกเข้ามาภายในโรงงานอีกด้วย เพื่อเป็นการหมุนเวียนอากาศบริสุทธิ์ภายในบริเวณนั้นให้ได้มากที่สุด ประโยชน์คือการควบคุมความร้อนภายในโรงงานให้ลดน้อยลง และช่วยทำให้ผู้ดำเนินงานบริเวณนั้น มีอากาศบริสุทธิ์เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย

  • ระบบระบายอากาศเสียเฉพาะที่ 

บางกระบวนการผลิตสินค้า จะทำให้เกิดสิ่งเจือปนอยู่ในอากาศ ไม่ว่าจะเป็น ฝุ่น ควัน ก๊าซพิษ หรือ อื่น ๆ ที่เป็นมลพิษต่อร่างกาย ทำให้ต้องมีระบบระบายอากาศในโรงงานแบบเฉพาะที่ในบริเวณนั้น ๆ ซึ่งจะทำการดูดเอาอากาศที่เกิดจากการทำงานเข้าไปในปล่องในทันที ไม่ปล่อยให้เกิดการกระจายตัวจนเกิดอันตรายต่อผู้อยู่ใกล้เคียง หากนึกภาพไม่ออก เราอยากยกตัวอย่างสิ่งที่เราคุ้นหูคุ้นตากันมากที่สุด คือ “ปล่องดูดควันสำหรับทำอาหาร” หลักการทำงานนั้นก็ใกล้เคียงกัน แต่ในโรงงานจะมีความซับซ้อนมากกว่า และมีกระบวนการกรองอากาศที่ดีกว่า

  • ระบบระบายอากาศแบบ Hvac 

ระบบ Hvac ย่อมาจาก Heating , Ventilation และ Air Conditioning เป็นระบบระบายอากาศที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ “ปรับปรุงคุณภาพของอากาศ” ในอาคารนั้น ๆ ทั้งในส่วนของ ความร้อน ความบริสุทธิ์ของอากาศ ความชื้น และ อีกหลาย ๆ อย่าง โดยในแต่ละโรงงานก็จะมีการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ภายในระบบจะเชื่อมโยงกันด้วยท่อแอร์ขนาดใหญ่ พร้อมด้วยปล่องอากาศที่ติดตั้งอยู่ทั่วทั้งพื้นที่ เป็นระบบที่จำเป็นต่อทุกโรงงาน รวมไปถึงอาคารขนาดใหญ่อย่าง โรงพยาบาล หรือ ห้างสรรพสินค้า ก็ใช้ระบบระบายอากาศนี้เช่นเดียวกัน

ระบบ hvac

ระบบ Hvac ทำหน้าที่ควบคุมสภาพอากาศ เพื่อให้ภายในอาคาร มีความเย็นสบายและบริสุทธิ์มากที่สุด โดยในระบบ HVAC มีด้วยกัน 10 ส่วนประกอบหลัก ได้แก่ 

1.ระบบหมุนเวียนอากาศย้อนกลับ: คือ การที่ระบบที่เรียกว่า Return Air ส่งอากาศกลับจากอากาศเก่าภายในห้อง ส่งกลับและกรองด้วย Filter เพื่อความสะอาด ก่อนที่จะถูกปล่อยกับสู่ภายในห้องอีกครั้ง

2.ตัวกรอง: คือ การที่ตัวกรองหรือ Filter ทำหน้าที่กรั่นกรองอากาศเก่าที่อยู่ภายในห้อง เพื่อลดปริมาณ สิ่งสกปรกและฝุ่น ก่อนปล่อยเข้าสู่ห้องหรืออาคาร

3.ช่องระบายอากาศเสีย: เป็นพื้นที่ระบายอากาศเสียออกจากระบบ เพื่อทำให้อากาศภายในห้องสะอาดมากยิ่งขึ้น

4.ท่อ: หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่า Air Duct เป็นช่องทางที่อากาศ ไม่ว่าจะเป็น Fresh Air, Return Air และ Supply Air จะไหลผ่าน

5.องค์ประกอบไฟฟ้า: มีหลายภาคส่วนที่ช่วยให้ระบบ HVAC กำเนิดขึ้นได้ ทั้งแหล่งผลิตไฟฟ้า ระบบส่งจ่ายไฟฟ้ากำลัง โหยดหรือภาระทางไฟฟ้า ระบบจำหน่ายไฟฟ้าและฟิวส์ สำหรับการป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร เป็นต้น

6.ยูนิตภายนอก: หรือ Condensing Unit (CDU) เป็นส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่ระบายความร้อนที่รับมาจากภายในห้อง แล้วทิ้งออกบรรยากาศ ซึ่ง Condensing Unit ประกอบไปด้วย คอยล์ร้อน พัดลมระบายความร้อน และคอมเพรสเซอร์

7.โบลเวอร์: พัดลมหอยโข่งหรือโบลเวอร์ เป็นพัดลมอุตสาหกรรมที่ใช้สำหรับงานดูดเป่า ระบายอากาศแบบต่อท่อส่งลม ให้แรงดันมากกว่า 0.5 นิ้วของน้ำ หรือ ความดันที่มากกว่า 1 เมตรน้ำจนถึง 10 เมตรน้ำ ซึ่งสามารถแบ่งพัดลมหอยโข่งได้ตามชนิดใบพัด เช่น Forward Curve, Air Foil และ Backward Curve เป็นต้น 

8.คอยล์ร้อน: หรือ คอนเดนเซอร์ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องปรับอากาศ จะเห็นได้แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ โดยทำหน้าที่ระบายความร้อนสารทำความเย็นในสถานะแก๊ส ให้กลั่นตัวกลายเป็นของเหลว ส่งต่อไปยังอุปกรณ์ความดัน ทั้งคอยล์ร้อนเป็นตัวกลางในการระบายความร้อน 2 แบบ คือ ระบายความร้อนด้วยน้ำ และ ระบายความร้อนด้วยอากาศ 

9.คอมเพรสเซอร์: หรือเครื่องอัดไอ เป็นอุปกรณ์หลักที่ทำหน้าที่ดูดและอัดสารทำความเย็นในสถานะแก๊สคอมเพรสเซอร์ จะดูดสารทำความเย็นที่เป็น Superheat แก๊สความดันต่ำ และอุณหภูมิต่ำจากท่อ เข้าทางดูดของคอมเพรสเซอร์ แล้วอัดแก๊สดังกล่าวให้มีความดันสูงขึ้นและมีอุณหภูมิขึ้นด้วย ส่งเข้าคอนเดนเซอร์ด้วยการระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็นอีกที

10.หน่วยเครื่องส่งลมเย็น: หรือ Air Handling Unit (AHU) เป็นส่วนที่ทำความเย็นให้แก่ห้อง AHU โดยจะประกอบไปด้วย คอยล์เย็นและพัดลมส่งลมเย็น

หน้ากากแอร์

อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบระบายอากาศในโรงงาน 

อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบระบายอากาศในโรงงาน นั้นจะมีทั้งที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และส่วนที่อยู่ภายใน ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดจะต้องทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ หากมีอุปกรณ์ชิ้นไหนที่เกิดความขัดข้อง ชำรุด อาจทำให้คุณภาพของการทำงานทั้งระบบลดน้อยลง ในส่วนต่อจากนี้เราจะมาอธิบายถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่พบได้ในระบบระบายอากาศในโรงงาน ซึ่งเป็นตัวอย่างอุปกรณ์เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ดังนี้

  • ท่ออากาศ ทำหน้าที่ลำเลียงอากาศไปยังบริเวณต่าง ๆ ภายในโรงงาน วัสดุที่ใช้จะเป็นโลหะที่มีขนาดเบา อย่างเช่น อะลูมิเนียม หรือ สังกะสี ทำหน้าที่เหมือนกับถนนของอากาศภายในอาคาร
  • พัดลมดูดอากาศ หากท่ออากาศเปรียบเสมือนถนน พัดลมดูดอากาศก็เป็นเหมือนเครื่องกำหนดทิศทางของอากาศภายในโรงงาน ซึ่งพัดลมในโรงงานจะมีขนาดใหญ่ และส่วนมากทำมาจากโลหะทั้งสิ้น
  • พัดลมจ่ายอากาศ เป็นพัดลมที่ทำหน้าที่จ่ายอากาศบริสุทธิ์ไปยังบริเวณที่ต้องการ มีการทำงานร่วมกับพัดลมดูดอากาศ เพื่อรักษาแรงดันอากาศให้สมดุลภายในโรงงาน
  • แผ่นกรอง หรือ ฟิลเตอร์ รับหน้าที่คอยกรองสิ่งแปลกปลอมที่มากับอากาศ ก่อนที่จะจ่ายอากาศไปในบริเวณที่ต้องการ และยังช่วยป้องกันยืดอายุการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบระบายอากาศอีกด้วย
  • หน้ากากแอร์ หน้ากากแอร์เป็นอีกหนึ่งชื้นส่วนสำคัญของระบบระบายอากาศ หน้าที่หลัก ๆ คือการกระจายลมเย็นจากแอร์ให้ทั่วทั้งบริเวณ และยังแบ่งออกเป็นหน้ากากชนิดอื่น ๆ อีกหลายรูปแบบ

หน้ากากแอร์

บทส่งท้าย 

เมื่อได้รู้ถึงความสำคัญของ ระบบระบายอากาศในโรงงาน กันไปแล้ว หากคุณเป็นผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาระบบระบายอากาศ หรือ ต้องการอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบระบายอากาศ UDWASSADU มีสินค้าทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับระบบระบายอากาศไว้รองรับความต้องการของคุณ ไม่ว่าจะเป็น ท่อสังกะสี , ท่อเฟล็กซ์ , พัดลมระบายอากาศ , หน้ากากแอร์ ไปจนถึง พัดลมสำหรับจ่ายอากาศ สินค้าทุกชิ้นมาจากแบรนด์คุณภาพ จำหน่ายในราคาสุดคุ้ม พร้อมส่วนลดสุดพิเศษที่จะทำให้คุณต้องอึ้ง สนใจสั่งซื้อสินค้า หรือ ติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE : @udirons