การวาง ระบบน้ำ ในแปลงเกษตร ทำยังไง มีอะไรบ้าง

ระบบน้ำ

เชื่อว่าเมื่อพูดถึงเรื่องของการเกษตร ทุกคนย่อมต้องรู้อยู่แล้วว่า “น้ำ” มีความสำคัญมากเพียงใด ดังนั้น ระบบน้ำ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่เกษตรกรในทุกที่บนโลก ต้องดำเนินการติดตั้งเอาไว้ในพื้นที่การเกษตรของตนเอง ไม่ได้มีเพียงประเทศไทยของเราเท่านั้น โดยองค์ประกอบของระบบน้ำภายในแปลงเกษตรในแต่ละที่ก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความต้องการน้ำ ชนิดของพืชที่ปลูก และ ลักษณะภูมิประเทศ มาดูกันว่ามีเรื่องน่าสนใจอะไรบ้าง ที่เกี่ยวข้องกับระบบการลำเลียงน้ำภายในแปลงเกษตร ตามเนื้อหาในบทความนี้

ระบบน้ำ 

ความสำคัญของระบบน้ำภายในแปลงเกษตรคืออะไร ?

ระบบน้ำคือการวางแผนเพื่อลำเลียงน้ำ จากแหล่งน้ำไปสู่พืชผลที่ปลูกเอาไว้ เนื่องจากการทำเกษตรกรรม น้ำเปรียบเสมือนกับทุกสิ่งทุกอย่างที่จะขาดไปไม่ได้โดยเด็ดขาด และในประเทศของเราก็ไม่ได้มีฝนตกชุกชุมอยู่ตลอดเวลา แถมในช่วงที่ฝนตกก็อาจจะตกเยอะเกินไป จนทำให้ไม่เหมาะกับการทำการเกษตรในบางพื้นที่ ดังนั้นเกษตรกรจึงได้มีแนวคิดที่จะติดตั้งระบบน้ำภายในแปลงเกษตร เพื่อลำเลียงน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด วัตถุประสงค์หลักก็จะเป็น “ผลผลิตทางการเกษตร” นั่นเอง

หลักการทำงานของระบบน้ำภายในแปลงการเกษตร

หากพูดถึงหลักการในการติดตั้งระบบน้ำเอาไว้ภายในแปลงเกษตร ค่อนข้างที่จะอธิบายได้ง่ายเลยทีเดียว เนื่องจากระบบไม่ได้มีอะไรที่ซับซ้อนเลยแม้แต่น้อย และวัตถุประสงค์ในการใช้งานเองก็ค่อนข้างชัดเจน นั่นก็คือการนำเอาน้ำจากแหล่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำประปาหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ จากนั้นก็ลำเลียงน้ำผ่านท่อเพื่อนำไปใช้บริเวณที่ต้องการ โดยในการวางระบบน้ำ มีอุปกรณ์หลัก ๆ ดังต่อไปนี้

  • แหล่งน้ำ

นี่คือจุดเริ่มต้นของระบบน้ำภายในแปลงเกษตร โดยจุดเริ่มต้นอาจมาจากน้ำประปา หรือ น้ำจากแหล่งที่มาตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น ห้วย หนอง คลอง บึง ที่ทำหน้าที่กักเก็บน้ำฝนเอาไว้ใช้ในช่วงเวลาที่ไม่มีฝนตก ส่วนมากแล้วแปลงเกษตรจะมีการสร้างแหล่งน้ำเอาไว้ให้อยู่ใกล้ที่สุด เพื่อความสะดวกในการใช้น้ำ และความชุ่มชื้นของดินในบริเวณรอบข้างอีกด้วย

  • เครื่องสูบน้ำ

เมื่อมีแหล่งน้ำในแปลงเกษตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ภายในระบบน้ำจะขาด “เครื่องสูบน้ำ” ไปไม่ได้โดยเด็ดขาด เพราะนี่คือสิ่งที่จะทำให้คุณสามารถเคลื่อนย้ายน้ำอีกที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่งได้ ด้วยการทำงานที่จะสร้างความแตกต่างของแรงดัน ทำให้สามารถสูบเอาน้ำจากแหล่งน้ำ ส่งต่อไปยังท่อเพื่อนำน้ำไปใช้เพื่อการเกษตร เครื่องสูบน้ำที่นิยมในแปลงเกษตรในประเทศไทย จะมี 2 รูปแบบ คือ “แบบน้ำมัน” และ “แบบไฟฟ้า”

  • ระบบท่อประธาน

ถ้านำเอาระบบน้ำในแปลงเกษตร เปรียบเทียบกับร่างกายของมนุษย์ ก็จะเปรียบได้กับ “ระบบไหลเวียนเลือด” เครื่องสูบน้ำก็เปรียบเสมือนหัวใจ ที่สูบเอาน้ำไปจ่ายในบริเวณต่าง ๆ แน่นอนว่า หลอดเลือดใหญ่ของระบบน้ำก็จะเป็น “ท่อประธาน” หรืออาจเรียกได้หลาย ๆ ชื่อคือ ท่อหลัก หรือ ท่อเมน ส่วนมากจะมีขนาดใหญ่มากกว่า 2 นิ้ว ขึ้นอยู่กับความต้องการปริมาณน้ำ หน้าที่หลักคือการจ่ายน้ำในเส้นทางหลัก ไปยังบริเวณที่ต้องการใช้น้ำ

ระบบน้ำ

  •  ระบบท่อย่อย

จากหัวข้อเมื่อสักครู่ เมื่อมีหลอดเลือดใหญ่ ก็ต้องมีเส้นเลือดฝอย และภายในระบบน้ำหลอดเลือดฝอยจะถูกเรียกว่า “ท่อน้ำย่อย” ทำหน้าที่กระจายน้ำที่ได้รับมาจากท่อประธาน ออกไปในบริเวณที่ต้องการอีกทีหนึ่ง ส่วนมากจะเป็นท่อขนาดเล็ก มักจะทำการเชื่อมต่อเข้ากับหัวจ่ายน้ำในรูปแบบต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น สปริงเกอร์ , ก๊อกน้ำ , หัวน้ำหยด หรือ สายยาง เป็นต้น

  • หัวจ่ายน้ำต่าง ๆ

เพื่อให้ระบบน้ำทำงานได้ครบตามวัตถุประสงค์ สิ่งสุดท้ายที่ขาดไปไม่ได้คือ “หัวจ่ายน้ำ” ซึ่งจะทำหน้าที่ปล่อยน้ำจากระบบท่อเพื่อใช้งาน สามารถใช้งานได้หลายรูปแบบตามความต้องการ อาทิเช่น ติดตั้งสปริงเกอร์ในบริเวณที่ต้องการรดน้ำในปริมาณมาก , ติดตั้งหัวน้ำหยดในบริเวณที่ไม่ต้องการน้ำมาก แต่ต้องการน้ำที่สม่ำเสมอ หรือ ติดตั้งวาล์วสำหรับจ่ายน้ำ (ก๊อก) เพื่อนำน้ำมาใช้งานในวัตถุประสงค์อื่น ๆ เป็นต้น

เทคนิคการวางระบบท่อภายในแปลงเกษตรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

จากส่วนประกอบของระบบน้ำ ที่เราได้กล่าวถึงไปเมื่อสักครู่นี้ จะเป็นการกล่าวถึงระบบในภาพรวมเท่านั้น ที่จริงยังสามารถแยกย่อยอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกมาได้อีกมากมาย และวิธีการติดตั้งของแต่ละแปลงเกษตรก็จะแตกต่างกันออกไป สำหรับผู้ที่อยากให้ระบบน้ำมีประสิทธิภาพสูงสุด ลองทำตามเทคนิคดังต่อไปนี้ มั่นใจได้เลยว่าช่วยได้ไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน

ท่อ ppr

  • ติดตั้งฟุตวาล์วอยู่เสมอ ฟุตวาล์วจะติดตั้งบริเวณเครื่องสูบน้ำ มีหน้าที่ป้องกันการไหลย้อนของน้ำ และ ช่วยกรองสิ่งแปลกปลอมไม่ให้เข้าไปอุดตันในระบบน้ำอีกด้วย
  • หมั่นตรวจสอบและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างยาวนานมากที่สุด ควรดูแลระบบน้ำอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการทำความสะอาด และ การซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
  • เลือกวิธีการติดตั้งให้ถูกต้อง ควรดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบให้ถูกตามหลัก รวมไปถึงขนาดของอุปกรณ์จะต้องเหมาะสม เพื่อให้ระบบทำงานได้ดีที่สุด พร้อมกับอายุการใช้งานที่ยืนยาว
  • ควรมีเครื่องวัดความดันภายในท่อ เครื่องวัดค่าต่าง ๆ อาจไม่ได้จำเป็นมากนัก แต่เมื่อมีไว้จะช่วยให้คุณปรับปรุงคุณภาพน้ำในแปลงเกษตรได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการ วัดแรงดัน หรือ วัดคุณภาพน้ำ เป็นต้น
  • ศึกษาวิธีการใช้งานระบบน้ำอย่างถูกต้อง คงจะไม่ใช่เรื่องดี หากเกิดข้อผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วจะต้องเรียกช่างมาซ่อมอยู่ตลอด เกษตรกรควรมีความรู้เกี่ยวกับระบบน้ำในสวนของตนเองให้ได้มากที่สุด

วาล์ว

UDWASSADU จำหน่ายสินค้าสำหรับระบบน้ำที่มีคุณภาพ พร้อมรับประกันสินค้าทุกชิ้น

อีกหนึ่งเคล็ดลับ ที่จะช่วยให้ระบบน้ำภายในแปลงเกษตรของคุณมีคุณภาพที่ดีที่สุด เริ่มต้นได้ง่าย ๆ เพียง “เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ” ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ เครื่องสูบน้ำ , วาล์วต่าง ๆ , สายไฟ , ท่อ หรือ หัวจ่ายน้ำ ทุกส่วนล้วนมีหน้าที่สำคัญของตัวมันเอง หากละเลยเลือกใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้คุณภาพ นอกจากทำให้ระบบน้ำทำงานได้ไม่เต็มสมรรถนะ ยังทำให้อายุการใช้งานของระบบน้ำสั้นอีกด้วย การเลือกร้านสำหรับซื้ออุปกรณ์ภายในระบบจึงเป็นสิ่งสำคัญ แน่นอนว่า UDWASSADU มีสินค้าทุกอย่างที่คุณต้องการรวมเอาไว้ในที่เดียว

อุปกรณ์สำหรับระบบน้ำที่มีจำหน่ายใน UDWASSADU 

    • ท่อ PPR: ท่อ PPR เป็นท่อที่มีความแข็งแรงทนทานมากกว่าท่อ PVC ซึ่งมีความเปราะบางแตกง่าย โดยการใช้งานท่อ PPR จะใช้ในการลำเลียงน้ำจากแหล่งน้ำทั้ง บ่อน้ำ ห้วย คลอง แม่น้ำหรือน้ำประปา เพื่อนำน้ำมาใช้ทำการเกษตร
    • อุปกรณ์วาล์วทองเหลือง: อุปกรณ์ชนิดนี้เป็นส่วนสำคัญ สำหรับระบบไหลเวียนของน้ำหรือของเหลวภายในท่อ โดยวาล์วจะทำหน้าที่กำหนดการเปิดปิดของน้ำที่จะไหลผ่าน ไม่ว่าจะเป็นอัตราความเร็ว หรือทิศทางน้ำทั้งหมดนี้เกี่ยวของกับวาล์วทั้งสิ้น
    • วาล์วตัดตอน (Isolating valves) เป็นวาล์วที่เปิดสุด ปิดสุด เหมาะสำหรับการใช้งานเพื่อตัดตอนน้ำไม่ให้ไหลออกจากระบบ วาล์วตัดตอนมีหลายประเภท อาทิ  Gate Valves วาล์วที่ไม่สามารถปรับระดับความแรงของน้ำได้ นิยมใช้กับน้ำที่อุณหภูมิสูง Ball Valves วาล์วที่นิยมใช้ในบ้านทั่วไป แข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน
    • วาล์วควบคุม (Control valves) เป็นวาล์วที่ใช้ควบคุมภายในระบบท่อ สามารถควบคุมได้ทั้ง ปริมาณ แรงดันน้ำ ไปจนถึงควบคุมอุณหภูมิของน้ำได้ด้วย มีวาล์วควบคุม มีหลายแบบ อาทิ วาล์วรูเข็ม (Needle Pin) เหมาะสำหรับระบบที่ต้องการความละเอียดสูง และ Globe Valve เป็นวาล์วที่เหมาะกับระบบที่มีแรงดันแตกต่างกันมาก สามารถควบคุมความดันได้ทั้งระยะใกล้และไกล

วาล์วน้ำ

บทส่งท้าย

เรื่องของระบบน้ำที่จริงแล้วยังมีเนื้อหาที่ลึกซึ้งมากกว่านี้ ซึ่งบทความนี้เราได้นำเสนอภาพรวมของ ระบบน้ำ เพื่อให้ผู้ที่ไม่มีพื้นฐานเลยเข้าใจได้ง่ายที่สุด สำหรับเนื้อหาที่มากกว่านี้เราจะนำเสนอในบทความถัด ๆ ไป หากคุณชื่นชอบเนื้อหาในบทความนี้ สามารถติดตามเนื้อหาต่อไปที่เราจะอัปเดตอยู่เรื่อย ๆ และอย่าลืมว่า UDWASSADU ของเรา คือร้านขายวัสดุก่อสร้างที่มีทุกสิ่งที่คุณตามหา ทั้งงานระบบท่อ ระบบระบายอากาศ ไปจนถึง ฉนวนกันความร้อน เรามีหมด สนใจซื้อสินค้า หรือ อยากสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ LINE : @udirons