11 ข้อควรรู้ ในการทำ โรงเรือนอย่างง่าย งบไม่มาก ก็ทำได้

ทำโรงเรือนอย่างง่าย

คุณรู้หรือไม่ ? ว่าคุณสามารถทำโรงเรือนอย่างง่ายด้วยตนเอง ด้วยงบประมาณที่คุ้มค่าที่สุด ไม่ว่าคุณจะเป็นเกษตรกรมืออาชีพ หรือเป็นเพียงผู้ที่ชื่นชอบการปลูกต้นไม้ก็ตาม การมีโรงเรือนจะช่วยทำให้พืชที่คุณปลูกนั้นอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมมากที่สุด ช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งรบกวนจากภายนอกเข้าไปทำร้ายพืชของคุณได้ มาดูกันว่าในการทำโรงเรือนด้วยตนเอง มีสิ่งใดที่ควรรู้กันก่อนบ้าง ซึ่งเราได้รวบรวมเรื่องน่าสนใจมาฝากถึง 10 ข้อด้วยกัน ดังนี้

ทำโรงเรือนอย่างง่าย

11 ข้อควรรู้ในการทำ โรงเรือนอย่างง่าย

สำหรับใครที่อยากทำ โรงงานอย่างง่าย ด้วยงบไม่มาก มีข้อควรรู้ในการทำโรงเรือน ตั้งแต่ขนาดของโรงเรือน, พืชที่ต้องการปลูก, ตั้งงบประมาณการก่อสร้าง, ตำแหน่งของโรงเรือน ไปจนถึงระบบสำหรับระบายอากาศ โดยข้อควรรู้ทั้งหมดมีดังนี้

1.ทำโรงเรือนอย่างง่าย ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงต้องมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลพืชที่ต้องการ 

ก่อนการทำโรงเรือนอย่างง่ายเอาไว้ใช้งาน คุณควรเริ่มต้นจากตนเองเสียก่อน ว่าในตอนนี้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปลูกพืชชนิดนั้น ๆ มากน้อยเพียงใด ถึงแม้จะมีโรงเรือนที่ดีมากเพียงใด แต่ถ้าผู้ที่ปลูกพืชไม่มีความรู้เกี่ยวกับการดูแล โรงเรือนที่สร้างขึ้นมาก็ไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด ถือเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ

โดยในการดูแลพืชที่ต้องการ มีหลากหลายประเภท เพราะพืชและผัก แต่ละประเภทมีความต้องการที่แตกต่างกัน อาทิ ไม้ประดับ อย่าง เฟิน กล้วยไม้ นิยมทำเป็นโรงเรือนโปร่งไม่มีผนัง ทำคอนกรีตหลังคาพรางแสงด้วยซาแรน หรือ แคคตัวและไม้อวบน้ำ เป็นพืชที่ไม่ต้องการความชื้นสูง ต้องการปริมาณแสงมาก มีหลังคาป้องกันฝนแบบโปร่งแสง เป็นต้น

2.เข้าใจถึงความสำคัญที่แท้จริงของโรงเรือน 

การสร้างโรงเรือนปลูกผักนั้นไม่ได้ยาก แต่คุณจะต้องรู้ถึงความสำคัญของการสร้างโรงเรือนขึ้นมา โดยโรงเรือนถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุด ต่อการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูก ไม่ว่าจะเป็น ผัก ดอกไม้ สมุนไพร ไปจนถึงพืชประดับต่าง ๆ และยังช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืชที่จะเข้ามาทำให้พืชเกิดความเสียหายอีกด้วย

ทำโรงเรือนอย่างง่าย

3.ขนาดของโรงเรือนที่เหมาะสมต่อพืชที่ปลูก

คุณควรต้องรู้ก่อนว่าในการทำโรงเรือนอย่างง่ายครั้งนี้ คุณต้องใช้ขนาดของโรงเรือนอยู่ที่เท่าไหร่ เนื่องจากพืชแต่ละชนิดมีความต้องการในด้านของพื้นที่แตกต่างกันออกไป เพราะพืชทุกชนิดจะมีการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันออกไป หากโรงเรือนมีขนาดเล็กเกินไป ก็ส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของพืชได้โดยตรง

ตัวอย่างขนาดโรงเรือนปลูกผลไม้ 

  • ขนาด 6×12
  • ขนาด 6×18
  • ขนาด 6×20
  • ขนาด 6×21
  • ขนาด 6×30
  • ขนาด 7×20
  • ขนาด 7×21
  • ขนาด 8×21 

นอกจากขนาดของโรงเรือนปลูกแล้ว ยังมีโครงเหล็กแป๊ปประปา หลังคาพลาสติกหา มุ้งตาข่ายขนาดอย่าง 16-20-32-40-50 ตา มีทรงทั้งหมดหลายทรง เช่น ทรงโค้งขาตรง, ทรงกอไก่ และทรงจั่ว 2 ชั้น เป็นต้น

4.วัสดุที่เหมาะสมสำหรับโรงเรือนที่ต้องการ 

ถึงแม้ว่าการทำโรงเรือนอย่างง่ายส่วนมาก เราจะพบวัสดุสำหรับการสร้างเป็นแผ่นพลาสติกขนาดใหญ่ ไปจนถึงแผ่นไฟเบอร์กลาส แผ่นพอลิคาร์บอเนต แผ่นอะคริลิก ขึ้นอยู่กับงบประมาณของผู้สร้าง ซึ่งต้องอย่าลืมคำนวณในส่วนของโครงสร้างของโรงเรือน ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อความแข็งแรงมั่นคงของโรงเรือนที่คุณกำลังสร้าง

5.ตั้งงบประมาณของการสร้างโดยละเอียด 

การสร้างโรงเรือนราคาประหยัด จะต้องอยู่ในการควบคุมตั้งแต่การออกแบบ การเลือกซื้อวัสดุ และส่วนที่สำคัญที่สุดคือการกำหนดงบประมาณ หากต้องการได้งบประมาณที่ประหยัดมากที่สุด อาจต้องมองหาวัสดุเหลือใช้มาเป็นส่วนประกอบ และต้องลองมองหาแหล่งซื้อขายวัสดุอุปกรณ์ที่มีราคาถูก ก็จะเป็นการประหยัดงบประมาณได้ในระดับหนึ่ง

6.ภายในโรงเรือนต้องมีการเดินระบบต่าง ๆ อย่างเหมาะสม 

ภายในโรงเรือนขนาดเล็กทำเอง ไม่ใช่แค่จะมีโครงสร้างที่แข็งแรง มีวัสดุที่โปร่งแสงเพื่อให้พืชได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้โดยตรง แต่จะต้องคำนึงไปถึงงานระบบต่าง ๆ อีกด้วย โดยเฉพาะการปลูกพืชที่จะต้องมีการควบคุมพิเศษ อาจจำเป็นต้องจัดเตรียมระบบไฟ ระบบน้ำ รวมถึงระบบระบายอากาศเอาไว้ การวางแผนงานระบบตั้งแต่ช่วงแรก จะทำให้โรงเรือนออกมาเป็นรูปเป็นร่างมากที่สุด ดีกว่าการสร้างแล้วค่อยมาติดตั้งระบบต่าง ๆ ภายหลัง

ทำโรงเรือน

7.ตำแหน่งของโรงเรือนต้องรับแสงอาทิตย์ในปริมาณที่เหมาะสม 

เคล็ดลับสำคัญของการทำโรงเรือนอย่างง่าย ให้ได้ผลดีต่อการปลูกพืชมากที่สุดคือ “แสงแดด” โรงเรือนที่เราคุ้นเคยจะใช้วัสดุโปร่งแสงเป็นหลัก เพราะต้องการให้แสงแดดส่องถึงพืชได้อย่างเหมาะสม แต่ในส่วนนี้ก็ขึ้นอยู่กับพืชที่ปลูกอีกด้วย เนื่องจากพืชหลาย ๆ ชนิดก็ไม่ได้ชอบแสงแดดมากขนาดนั้น ดังนั้นการควบคุมปริมาณของแสง จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ควรคำนึงถึงก่อนการสร้างโรงเรือน

8.ควรมีการจัดพื้นที่ภายในโรงเรือนให้ใช้ประโยชน์ได้สูงที่สุด 

ระหว่างการออกแบบโครงสร้างโรงเรือน นอกจากพื้นที่สำหรับการปลูกพืช ต้องนึกถึงพื้นที่สำหรับการใช้สอยอื่น ๆ อีกด้วย อย่างเช่นทางเดินสำหรับเดินดูพืชแต่ละต้น ไปจนถึงพื้นที่สำหรับติดตั้งปลั๊กไฟ ติดตั้งก๊อกน้ำ ไปจนถึงอุปกรณ์จำเป็นต่าง ๆ ภายในโรงเรือน หากมีพื้นที่เพียงพอต่อการจัดวางสิ่งของต่าง ๆ ก็ไม่ควรมองข้ามการจัดการส่วนนี้ และอย่าลืมจัดการพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพด้านการใช้งานมากที่สุด

9.หากจะให้ดีควรมีระบบควบคุมความชื้นภายในโรงเรือน 

แม้จะเป็นการทำโรงเรือนอย่างง่าย ก็สามารถทำให้เป็นโรงเรือนที่มีคุณภาพได้ การปลูกพืชในโรงเรือนทำให้สามารถจำลองสภาพอากาศที่พืชชนิดนั้น ๆ ต้องการมากขึ้นสุดขึ้นมาได้ สังเกตได้ง่าย ๆ จากที่ประเทศเขตร้อนอย่างบ้านเรา สามารถปลูกพืชจากเมืองหนาวได้นั่นเอง โรงเรือนเป็นการจำลองสภาพแวดล้อม ที่พืชชนิดนั้น ๆ ต้องการมากที่สุด ซึ่ง “ความชื้น” และ “อุณหภูมิ” คือส่วนสำคัญมาก ๆ ที่จะต้องควบคุมให้ได้สมบูรณ์มากที่สุด

10.ตั้งโรงเรือนให้ถูกทิศ

ทิศทางเป็นสิ่งสำคัญในการตั้งโรงเรือน ทั้งเรื่องการเดินทางของสายลม และแสงแดง สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับพืชที่ปลูกทั้งสิ้น โดยการตั้งโรงเรือนควรคำนึงถึงสภาพแสงที่พอเหมาะกับพืช ควรตัดกิ่งให้เรียบร้อยหากมีต้นไม้ใหญ่อยู่บริเวณรอบโรงเรือน หรือ หากตั้งโรงเรือนแบบขวางทางลมอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อวัสดุในโรงเรือนได้

ทำโรงเรือน

11.ระบบสำหรับระบายอากาศเป็นสิ่งสำคัญของโรงเรือนที่ดี 

เรื่องน่าสนใจสุดท้ายที่เราอยากแนะนำในบทความนี้ นอกจากวิธีทำโรงเรือนปลูกผักแบบง่าย ที่สามารถทำตามข้อแนะนำทั้งหมดที่เราได้กล่าวไป การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ ก็ช่วยยกระดับคุณภาพของโรงเรือนที่คุณสร้างได้อีกด้วย “ระบบระบายอากาศ” คือหนึ่งในหัวใจสำคัญของการสร้างโรงเรือน ซึ่งสามารถใช้พัดลมระบายอากาศมาใช้เพื่อควบคุมทั้ง อุณหภูมิ ความชื้น และเมื่ออากาศหมุนเวียน ก็จะทำให้พืชเกิดการสังเคราะห์แสงได้ดีขึ้นอีกด้วย

ระบบระบายอากาศ (Ventilation System) คือ ระบบการระบายอากาศทำให้อากาศเกิดการไหลเวียน และถ่ายเทภายในอาคาร โดยมีการออกแบบให้มีช่องระบายอากาศเข้า-ออก รวมถึงการเติมอากาศบริสุทธิ์ เข้าไปในโรงเรือนโดยตรง ผ่านระบบท่อลม หรือการเติมอากาศด้วยการติดตั้ง พัดลมระบายอากาศ 

โดยระบบระบายอากาศที่ดีภายในโรงเรือนที่ดี มีดังนี้

    • ขจัดความร้อนส่วนเกิน: การขจัดความร้อนส่วนเกินทั้งไฟส่องสว่างภายในเรือนเรือน หรือ กระบวนการของพืชบางชนิดที่ปล่อยความร้อน จึงต้องระบายอากาศออก
  • การควบคุมความชื้น: ความชืนที่สะสมอย่างรวดเร็วจะทำให้ เชื้อรา สัตว์รบกวน และโรคต่างๆ ซึ่งระบบระบายอากาศที่ดีจะช่วยให้ความชื้นออกไปได้
  • ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืช: เมื่อากาศนิ่ง อากาศจะเป็นตัวเลือกหลักในการแพรพันธุ์ของโรคและแมลงศัตรูพืช โรคราแป้ง เชื้อรา ดังนั้นจึงต้องติดตั้งพัดลมระบายอากาศเพื่อให้ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืช
  • การควบคุมคาร์บอนไดออกไซด์: การที่โรงเรือนลดปริมาณ C02 สำหรับการสังเคราะห์ด้วยแสงลง โรงเรือนจะต้องชะลอกระบวนการลง โดยมีการเติมอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกเข้าสู่โรงเรือน

พัดลมระบายอากาศ

พัดลมระบายกาศที่ UDWASSADU แนะนำ

  • พัดลมระบายอากาศ Panasonic Air Curtains 
  • พัดลมระบายอากาศ Adjustable Pitch Axial Flow Fans
  • พัดลมระบายอากาศ Low-noise type cabinet fan
  • พัดลมระบายอากาศ Panasonic Jet

บทส่งท้าย ทำโรงเรือนอย่างง่าย

เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับเรื่องน่าสนใจทั้ง 10 ข้อเกี่ยวกับการทำโรงเรือนอย่างง่าย หากคุณก็เป็นอีกหนึ่งคนที่มีความสนใจด้านการสร้างโรงเรือน มีความรู้ ความสามารถ และพื้นที่สำหรับการสร้างโรงเรือนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คุณสามารถมองหาวัสดุสำหรับการสร้างโรงเรือนได้ที่ UDWASSADU ร้านขายวัสดุก่อสร้างที่มีสินค้าครบทุกอย่างรอให้คุณได้เลือกซื้อ ตั้งแต่สร้างโครงสร้าง สายไฟ ก๊อกน้ำ ไปจนถึงระบบระบายอากาศในโรงเรือนที่สามารถเลือกซื้อสินค้าทุกอย่างได้ที่นี่ สนใจสั่งซื้อสินค้าติดต่อได้เลยที่ LINE : @udirons