วิธีติดตั้ง หัวจ่ายแอร์ Grille ให้ถูกต้อง ตามแบบโรงงาน

หัวจ่ายแอร์

หัวจ่ายแอร์ Grille นอกจากจะมีหลากรูปแบบตามความเหมาะสมของการกระจายลมในพื้นที่ต่าง ๆ ให้ทั่วถึงทุกจุดแล้ว การติดตั้งให้ถูกหลักการใช้งานเองก็เป็นเรื่องที่ต้องนำมาคำนึงใส่ใจให้ถี่ถ้วน เพราะการติดตั้ง หัวจ่ายแอร์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม ก็มีสิ่งที่ต้องระวังที่แตกต่างกัน ไม่สามารถนำมาทดแทนกันได้ บทความนี้ จึงจะพาไปดูข้อควรระวังต่าง ๆ ในการติดตั้งหัวจ่ายแอร์ Grille ให้ถูกต้องตามหลักโรงงานกันว่ามีอะไรบ้าง

หัวจ่ายลมจากเพดานแบบสี่เหลี่ยม เวลาติดตั้งใกล้กระจกควรดูอะไร

หัวจ่ายแอร์

จากแบบการวางผังโรงงานของงานวิศวกรรมระบบปรับอากาศ ในส่วนการกระจายลมส่วนใหญ่จะนิยมใช้แบบหัวจ่าลมส่งที่มีลักษณะเป็นแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบบทรงกลม ซึ่งจะติดตั้งที่ฝ้าเพดาน

โดยรูปแบบของการกระจายลมแบบสี่เหลี่ยมจะมี 4 รูปแบบด้วยกัน ตามทิศทางการกระจายลม ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้แบบกระจายลม 4 ทิศทางเป็นหลัก แต่ถ้าจะติดตั้งบริเวณใกล้กับผนังกระจกแล้ว จะต้องเลือกรูปแบบการกระจายลมที่มีทิศทางกระจายลมไม่พุ่งตรงไปที่ผนังกระจก มิฉะนั้น ขณะใช้งานอาจเกิดการการควบแน่นของหยดน้ำที่ด้านนอกผนังกระจกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวันที่อากาศภายนอกมีความชื้นสูง 

ดังนั้น จึงควรพิจารณาเปลี่ยนรูปแบบของทิศทางการกระจายลมเป็นแบบการกระจายลมแบบ 3 ทาง แบบการกระจายลมแบบ 2 ทาง แบบการกระจายลมแบบ 1 ทาง ซึ่งทั้งนี้ก็แล้วแต่ว่าจะโครงสร้างเช่นไร เพื่อไม่ให้ลมเย็นปะทะกับผนังกระจกโดยตรง

แต่หากเปลี่ยนรูปแบบของการกระจายลมไม่ได้เนื่องจากเหตุผลใด ๆ ก็ตาม ก็อาจจะให้ผู้รับเหมาตัดแผ่นสังกะสีไปปิดส่วนของด้านที่ไม่ต้องการให้มีลมเย็นออกมา แต่การกระทำแบบนี้ อาจทำให้เกิดเสียงดังขึ้นเนื่องจากพื้นที่ที่ลมผ่านของหัวกระจายลมจะลดลง ซึ่งต้องแก้ไขโดยลดความเร็วของลมลงตามความต้องการนั่นเอง 

สิ่งควรรู้สำคัญในการติดตั้งหัวจ่ายแอร์ Grille ให้ถูกต้อง

  1. พยายามหลีกเลี่ยงการติด Diffusers หรือ Grilles ที่ใต้ท้องหรือด้านข้างท่อลมหลักโดยตรง เพราะจะมีเสียงลมผ่านจากท่อดังออกมาข้างนอก และไม่มีทางทำให้เสียงลดลงได้
  2. อย่าติดตั้ง Light Troffer (หัวจ่ายลมแบบ Slot และดวงโคมแบบ Fluorescent อยู่ในตัวเดียวกัน) ที่ท่อลมหรือโซนเดียวกับ Diffusers หรือ Registers เนื่องจากที่ Troffer มีความเสียดทานมากกว่า ซึ่งจะทำให้ปริมาณลมไปจ่ายที่ Diffusers หรือ Registers มีปริมาณมากกว่าที่กำหนดจนทำให้เกิดเสียงดัง
  3. พยายามหลีกเลี่ยงการติด Diffusers และ Registers ที่ท่อลมเดียวกัน เป็นเพราะว่า Diffusers นั้นมีความเสียดทานมากกว่า จะทำให้ปริมาณลมไปจ่ายที่ Registers มากกว่าที่กำหนดจนทำให้เกิดเสียงดังได้
  4. อย่าใช้ Diffusers หรือ Registers จ่ายลมไปยังทางที่หลอดไฟชนิดติดตั้งที่ฝ้าหรือจ่ายลมเลียดไปใกล้กับฝ้า เพราะนั่นจะทำให้ฝ้ามีฝุ่นเกาะและอุณหภูมิภายในห้องไม่เท่ากันทุกจุด
  5. หากเป็นไปได้ให้ติด Extractor แบบปรับแต่งมุมดักลมได้ที่ท่อแยกลมเข้ากันกับ Register ทุกแห่งเพื่อให้ลมเข้าได้เต็มท่อ
  6. Register ลมกลับควรติดอยู่บริเวณที่ไกลจากหัวจ่ายลม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบริเวณมุมห้องที่ลมจ่ายไปไม่ถึง
  7. อย่าใช้หัวจ่ายแบบ Low Induction และระยะ Throw ที่สั้นกับห้องที่ต้องการลมหมุนเวียนมาก เพราะจะทำให้อากาศภายในห้องหมุนเวียนได้ไม่ดี
  8. ควรเลือกหัวจ่ายแบบที่มีกลไกปรับแต่งการปิดและเปิดของแดมเปอร์ที่เข้าถึงได้ง่าย ซึ่ง Diffusers ที่สามารถถอดไส้กรองออกได้โดยไม่ต้องถอดกรอบนั้นเป็นที่นิยมกันมาก ซึ่งง่ายต่อการปรับแต่งแดมเปอร์ที่ซ่อนอยู่ภายใน ในขณะที่ความยุ่งยากมักจะเกิดขึ้นกับ Register ซึ่งมีแดมเปอร์ซ่อนอยู่ภายใน และกลไกหรืออุปกรณ์ปรับแต่งแดมเปอร์ติดอยู่ไม่ตรงกับช่องเปิดที่หน้า Grille ทำให้สอดอุปกรณ์เข้าไปปรับไม่ได้
  9. หากเป็นไปได้ ให้ท่อแยกที่ต่อเข้า Diffusers ที่ใต้เมนของท่อลมควรมีความยาวไม่น้อยกว่า 2 เท่าของขนาดหัวจ่าย เพื่อให้ลมแผ่กระจายเต็มท่อก่อนถึงหัวจ่ายลม หรือใส่ Plenum ที่หัวจ่ายแบบ Diffuser ก็ได้เช่นกัน
  10. หัวลมกลับรวมทั้งท่อลมที่ต่อเข้ากล่องลมกลับซึ่งใช้ร่วมกัน ควรเลือกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น หากไม่ใช้พัดลมดูดกลับไป
  11. ถ้าไม่จำเป็น ให้พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ลมกลับจากห้องหนึ่งผ่านเข้าอีกห้องหนึ่ง ไปยังหัวลมกลับ โดยห้องที่ติดหัวลมกลับเอาไว้ ความเร็วลมจะสูงเป็นบางครั้ง อันเป็นเหตุทำให้รู้สึกหนาว
  12. การใช้หัวลมกลับติดที่ Door Louvers กับห้องที่จ่ายลมโดยใช้ความดันต่ำเป็น Laminar Flow เช่น ใช้ฝ้าเจาะรูจ่ายลม จะใช้ไม่ได้ผลที่ดีนัก
  13. หัวจ่ายที่มีทั้งการจ่ายลมและรับลมกลับในหัวเดียวกันนั้นไม่ควรใช้ เพราะจะเกิด Short Circuit ลมที่จ่ายหมุนวนเข้าช่องลมกลับ ทำให้ลมหมุนเวียนภายในห้องดังกล่าวลดน้อยลง
  14. ปริมาณลมที่จ่ายออกจาก Diffusers แต่ละหัวควรเป็นดังนี้
ความสูงของห้อง 8 ฟุต 9 ฟุต 10 ฟุต 12 ฟุต
ปริมาณลมที่จ่ายแต่ละทิศทาง 150 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที 250 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที 400 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที 600 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที

หัวจ่ายแอร์

  1. สำหรับความสูงของห้องที่สูงกว่า 12 ฟุต ให้เพิ่มลม 200 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที ต่อความสูง 1 ฟุต เช่น หัวจ่ายแบบ 4 ทิศทาง, ห้องสูง 9 ฟุต แต่ละหัวจ่ายจะจ่ายลมได้ไม่เกิน
    250 x 4 = 1 ,000 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที เป็นต้น
  2. ความเร็วลมที่ผ่านเข้าหัวลมกลับควรอยู่ในช่วง 300 – 500 ฟุตต่อนาที พื้นที่ที่มีประสิทธิภาพของหัวลมกลับทั่วไปประมาณ 75 เปอร์เซนต์ของขนาด Grille
  3. ความเร็วลมของ Diffusers และ Registers ไม่ควรเกิน 600 – 700 ฟุตต่อนาที ทั้งนี้ต้องเช็ค Throw และความดังของเสียง (NC) ควบคู่กันด้วย
  4. Linear Diffuser ที่มีขนาดช่อง Slot 1/2 นิ้ว ปริมาณลมที่จ่ายออกไม่ควรเกินกว่า 30 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที ต่อ Slot ต่อฟุต เช่น ใช้ 4 Slot ยาว 10 ฟุต จะจ่ายลมได้เท่ากับ
    30 x 4 x 10 = 1,200 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที
  5. ท่อแยกที่ต่อเข้ากล่องลมที่ Linear Diffusers ควรห่างกันประมาณ 4 ฟุต และมีแดมเปอร์ไว้ปรับปริมาณลมทุกท่อ
  6. Door Louvers ควรเป็นแบบใบหยักเพื่อป้องกันการมองลอดเข้าไปในห้อง และความเร็วลมที่ผ่านไม่เกิน 300 ฟุตต่อนาทีจะเป็นการดีที่สุด
  7. Louvers ที่ติดผนังนอกอาคารต้องมีมุมใบเอียง 40 ถึง 50 องศา กับแนวระดับ และมีชายยื่นลงมากันฝนได้กับต้องมีตะแกรงไม่เป็นสนิม และมีขนาดช่องกว้าง 1/2 นิ้วติดไว้ เพื่อป้องกันกระดาษ และใบไม้ไม่ให้ปลิวเข้ามาในท่อลม Filter และ Volume Damper ก็ควรจะมีท่อลมบริสุทธิ์ติดตั้งเอาไว้
  8. Louvers ของลมบริสุทธิ์และระบายอากาศควรอยู่ห่างกัน เพื่อป้องกันลมที่ระบายออกมาเหล่านั้น ไหลวนไปเข้า Louvers ของลมบริสุทธิ์
  9. ในกรณีที่พัดลมระบายอากาศติดตั้งอยู่ใกล้ช่องระบายอากาศสู่ภายนอกอาคาร อาจใช้ Gravity Damper ติดแทน Louver ได้ และต้องเป็นแบบป้องกันฝนสาดได้ด้วย ด้านในอาคารต้องติดตะแกรงป้องกันแมลงไว้ด้วย พร้อมทั้งมี Access Door ที่ท่อลมไว้ตรวจสอบตะแกรง
  10. Door Louver หรือ Undercut ใต้ประตูจะต้องเลือกขนาดให้เหมาะสม ความเร็วลมไม่ควรเกิน 300 ฟุตต่อนาที หากเลือกขนาดเล็กเกินไป ความดันในห้องจะมากกว่าภายนอกทำให้ปิดและเปิดประตูลำบาก
  11. ประตูเข้าห้องเครื่องส่งลมเย็นต้องเป็นแบบเปิดออก เพราะว่าเวลาเดินเครื่อง ความดันภายในจะน้อยกว่าภายนอก เป็นผลทำให้ประตูไม่สามารถเปิดออกได้หากเป็นแบบเปิดเข้า
  12. Grille และ Register แบบติดผนังถ้าตั้งใบตรง (0 องศา) ระยะ Throw จะไกล และ Drop น้อย หากตั้งใบเอน (22 องศา) ทำให้เป่าลมกระจายได้ระยะ Throw สั้นแต่ Drop จะมาก
  13. การที่ติด Register ในระดับสูงใกล้ฝ้า จะเกิดปัญหาฝุ่นเกาะฝ้าในแนวจ่ายลม ดังนั้นหัวจ่ายควรติดในระดับต่ำจากแนวฝ้าประมาณ 20 เซนติเมตร สำหรับฝ้าต่ำ และปรับแนวลมให้กดลงจากแนวระดับนิดหน่อย 
  14. หัวลมระบายอากาศในบาร์ ไนท์คลับ ครัว ห้องน้ำ และห้องกินข้าว ควรติดใกล้ฝ้าเพื่อดูดอากาศร้อน กลิ่น และควันซึ่งลอยขึ้นสูง
  15. แนวทางในการเลือกใช้หัวจ่ายลม

หัวจ่ายแอร์ Grille

ชนิดหัวจ่ายลม CFM / ตารางฟุตพื้นที่ห้อง Max Air Change / HR (Based on 10 FT, Ceiling)
Grille 3 ถึง 6 7
Linear Slot Diffuser 4 ถึง 10 12
ผนังเจาะรู 5 ถึง 15 18
Diffuser 5 ถึง 25 30
ฝ้าเจาะรู 5 ถึง 50 60

สรุป

ด้วยวิธีการติดตั้งที่แตกต่างกันในหัวจ่ายแอร์ Grille แต่ละประเภท ข้อควรระวังในการติดตั้งให้ถูกวิธีนั้นจึงมีหลากหลายแตกต่างกันไปตามรูปแบบของหัวจ่ายแอร์ Grille โดยหากใครที่กำลังมองหา หัวจ่ายลมแอร์รูปแบบใดอยู่ล่ะก็ เว็บไซต์ UDWASSADU คือแหล่งรวมสินค้าวัสดุงานช่างเกี่ยวกับระบบปรับอากาศที่มีพร้อมไปด้วยของต่าง ๆ มากมายที่ได้คุณภาพเป็นสากล พร้อมบริการจัดส่งที่รวดเร็ว ตรงตามกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันเอาไว้อีกด้วย

REF

http://www.iecm.co.th/iso_knowledge_ac.htm