ร้านวัสดุก่อสร้าง เป็นอีกหนึ่งธุรกิจ ที่ผ่านช่วงวิกฤติล้มลุกคลุกคลาน มาในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เนื่องจากในช่วงเวลานั้น หลายธุรกิจได้หยุดชะงักลงอย่างกะทันหัน งานก่อสร้างก็เช่นเดียวกัน เมื่อการก่อสร้างในหลาย ๆ จุดหยุดชะงัก แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบโดยตรงมาสู่ร้านขายวัสดุก่อสร้าง หลังจากผ่านวิกฤตินั้นมาแล้ว ในตอนนี้ในวันที่วิกฤติทุกอย่างเริ่มคลี่คลาย ทุก ๆ ธุรกิจเริ่มกลับมาเดินหน้าต่อ มาดูกันว่าแนวทางของธุรกิจร้านขายวัสดุก่อสร้าง จะเปลี่ยนไปมากน้อยเพียงใด ในยุคสมัยที่ทุกอย่างเริ่มเปลี่ยนไปอย่างในทุกวันนี้
เมื่อ ร้านวัสดุก่อสร้าง ไม่ได้เป็นธุรกิจที่ง่ายเหมือนในอดีตอีกต่อไป
ในอดีตนั้นการเปิดร้านวัสดุก่อสร้างขึ้นมาได้ ย่อมแสดงให้เห็นถึงความร่ำรวยของเจ้าของร้าน โอกาสประสบความสำเร็จ ของเส้นทางในธุรกิจประเภทนี้ค่อนข้างง่าย เนื่องจากเมืองไทยมีการก่อสร้างเกิดขึ้นใหม่ในตลอดทั้งปี หลังจากผ่านวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งในช่วงปี 2540 เราก็จะได้เห็นการเติบโตของธุรกิจก่อสร้างที่ทำให้หลาย ๆ คนรวยขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว
แต่หลังจากประเทศไทยเข้าสู่ช่วงเวลาวิกฤตอีกครั้ง จากเชื้อโควิด-19 ทำให้หลาย ๆ อย่างเริ่มเปลี่ยนไป สิ่งที่เลวร้ายที่สุดคือ “พฤติกรรมของผู้ซื้อที่เปลี่ยนไป” ไม่ใช่แค่เพียงการซื้อข้าวของเครื่องใช้เล็ก ๆ น้อย ๆ เพียงเท่านั้น แต่ส่งผลกระทบไปจนถึงการซื้ออสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ที่เริ่มลดน้อยลง ทำให้ยอดขายของร้านขายวัสดุก่อสร้างเองก็ตกลงเช่นเดียวกัน ถึงแม้ตอนนี้ธุรกิจของประเทศจะเริ่มกลับมาลืมตาอ้าปากได้แล้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่าหลาย ๆ อย่างนั้นไม่เหมือนเดิม หากไม่เปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัย ก็คงยากที่จะเดินตามไปในเส้นทางธุรกิจนี้
เคล็ดลับความสำเร็จของร้านวัสดุก่อสร้าง “ในอดีต”
การเปิดร้านขายวัสดุก่อสร้างในอดีต มีเคล็ดลับความสำเร็จที่ชัดเจน ว่ากันว่าหากทำตามตำราเป๊ะ ๆ โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการทำธุรกิจน้อยมาก ๆ จากการรวบรวมข้อมูลจากร้านที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ ทำให้เราได้สูตรสำเร็จของการเปิดร้านขายวัสดุก่อสร้างดังต่อไปนี้
- ทำเลต้องดี มีแนวโน้มที่ร้านวัสดุก่อสร้างที่ใกล้ต่อแหล่งก่อสร้างมากที่สุด จะเป็นร้านที่ขายสินค้าได้มากที่สุด รวมไปถึงเส้นทางคมนาคมเองต้องสะดวก มีที่จอดรถที่สามารถจอดรถบรรทุกได้ เป็นต้น
- เริ่มต้นในช่วงเวลาที่เหมาะสม “จังหวะ” และ “เวลา” เป็นตัวแปรที่ควบคุมได้ยาก แต่ก็มีบทบาทสำคัญมาก ๆ ในการทำธุรกิจ หากเปิดร้านในจังหวะที่เหมาะสม โอกาสประสบความสำเร็จก็ไม่ยากเกินเอื้อม
- ต้องมีความรู้เกี่ยวกับวัสดุ ผู้ที่มีความรู้ย่อมบริหารธุรกิจได้ดีกว่าผู้ที่ไม่รู้ การเป็นผู้ประกอบการที่มีความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ขาย ย่อมได้เปรียบกว่า ทั้งในด้านของการต่อรอง ความต้องการของท้องตลาด เป็นต้น
- สามารถให้คำแนะนำลูกค้าได้ การบริการในร้านเองก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะสามารถชนะใจลูกค้าได้มากที่สุด การบริการที่ดีจะช่วยสร้างฐานลูกค้าให้มั่นคง และขยายฐานลูกค้าแบบปากต่อปากได้อย่างรวดเร็ว
- มีพันธมิตรทางการค้าที่ดี การมี “Connection” ทางการค้า ช่วยให้คุณสามารถได้ข้อเสนอที่ดีที่สุด ทั้งในเรื่องของต้นทุนสินค้า เครือข่ายของผู้ค้าด้วยกันที่ช่วยระบายสินค้าในยามที่จำเป็น ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจัยเหล่านี้จะเป็นเคล็ดลับความสำเร็จของธุรกิจรูปแบบเก่า แต่ในปัจจุบันก็ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ธุรกิจร้านวัสดุก่อสร้างเติบโตได้เช่นเดียวกัน และแน่นอนว่าร้าน UDWASSADU ของเรา มีปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาครบทุกข้อ ไม่ว่าจะเป็นทำเลของร้านที่เปิดอยู่ติดกับถนนลำลูกกาคลอง 7 มีพื้นที่กว้างขวางกว่า 5 ไร่ เดินทางมาซื้อที่หน้าร้านได้อย่างสะดวก มีการสต๊อกสินค้าเอาไว้ในโรงงาน เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าตลอดทั้งปี พร้อมกับมีทีมงานที่คอยอำนวยความสะดวกที่หน้าร้านตลอดเวลาทำการ หากมีข้อสงสัยในจุดไหนสามารถสอบถามทีมงานของเราได้ในทันที
4 ปัจจัยที่ทำให้ร้านวัสดุก่อสร้าง “ในปี 2023” ควรริเริ่มการเปลี่ยนแปลง
หลังจากรู้ถึงปัจจัยทำให้ร้านอุปกรณ์ก่อสร้างในรูปแบบเดิม ประสบความสำเร็จกันไปแล้ว ในหัวข้อนี้เราจะมากล่าวถึงทิศทางของการดำเนินธุรกิจร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้างในปี 2023 กันบ้าง มาดูกันว่าในปัจจุบันมีอะไรที่เปลี่ยนไปจากเดิมกันบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปชมกันเลย !
1.“Data Analytics” ตัวแปรใหม่ของการทำธุรกิจ
เคยมีคำกล่าวเอาไว้ว่า “ข้อมูล = ทองคำ” คำกล่าวนี้ไม่ได้เกินจริงแต่อย่างใด เพราะการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ช่วยให้การดำเนินธุรกิจสามารถวางแผนการได้ง่ายยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ร้านวัสดุก่อสร้างที่สามารถนำข้อมูลยอดขายสินค้ามาวิเคราะห์ เพื่อตัดสินใจสั่งสต๊อกสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการ หรือ การคำนวณสินค้าคงคลัง เพื่อมองหาสินค้าที่ขายไม่ค่อยดี เป็นต้น
2.นวัตกรรมเกี่ยวกับการก่อสร้างที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา
นวัตกรรมการก่อสร้างในปัจจุบันพัฒนาขึ้นมาก ในตอนนี้การสร้างบ้านสักหลัง ไม่จำเป็นต้องมานั่งก่ออิฐเหมือนแต่ก่อนแล้ว เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์การก่อสร้างใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะ “Precast Concrete” ที่ทำให้การสร้างอาคารสักหลัง ง่ายเหมือนกับการประกอบตัวต่อ ซึ่งในส่วนนี้ร้านวัสดุก่อสร้างก็ต้องปรับตัวตามนวัตกรรมให้ทัน
3.การแข่งขันที่สูงมากยิ่งขึ้น
การเปิดร้านวัสดุก่อสร้างในตอนนี้ มีคู่แข่งเกิดขึ้นมากมาย และส่วนมากคู่แข่งนั้นก็มาในรูปแบบของ “ผู้ค้ารายใหญ่” ซึ่งเป็นร้านชื่อดังที่รวบรวมวัสดุก่อสร้างเอาไว้มากมาย มีสาขาที่งอกเงยขึ้นมาอย่างรวดเร็วในทั่วประเทศ หากอยากจะรอดในสถานการณ์เช่นนี้ ต้องเลิกยึดติดกับการค้าขายในแบบเดิม ๆ เปลี่ยนรูปแบบให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ที่ต้องการซื้อสินค้าเข้าถึงร้านได้ง่ายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหน้าร้านหรือทางออนไลน์ก็ตาม
4.ความรู้เรื่องการตลาดมีผลกระทบต่อธุรกิจมากยิ่งขึ้น
“เทคนิคทางการตลาด” ในตอนนี้มีความสำคัญกับทุกรูปแบบธุรกิจ ไม่เว้นแม้แต่ร้านวัสดุก่อสร้างก็ตาม จากเดิมที่ร้านจะเน้นไปที่การสร้างลูกค้าประจำ ในตอนนี้ไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว เพราะนอกจากการที่จะเอาชนะใจลูกค้าประจำให้ได้ ต้องเริ่มสร้างฐานลูกค้าใหม่ให้มากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ เทคนิคทางการตลาดจึงเข้ามามีส่วนสำคัญในตอนนี้ เพราะสามารถนำเสนอร้านของคุณ ไปสู่สายตาของผู้ที่ต้องการวัสดุก่อสร้างได้ง่ายยิ่งขึ้น
4 ปัจจัยที่ทำให้หลายธุรกิจร้านวัสดุก่อสร้างไปไม่รอด
สำหรับความสำเร็จในอดีตที่ผ่านมา แม้จะมีสูตรสำเร็จอย่างไรก็ตาม หรือจะมีแนวทางการทำธุรกิจมากแค่ไหน แต่ยังไงโอกาสรอดในธุรกิจวัสดุก่อสร้างเป็นไปได้ยาก การทำบริษัทหรือร้านมากกว่า 90% มักจะไม่รอด และนี้คือตัวเลขของอัตราการปิดบริษัท
- 20% ล้มเหลวใน 2 ปีแรก
- 45% ล้มเหลวใน 5 ปีแรก
- 65% ล้มเหลวใน 10 ปีแรก
ทั้งนี้ยังมีหลายปัจจัยที่ทำให้หลายธุรกิจไปไม่ถึงฝั่งฝัน โดยเรารวบรวมปัจจัย ก่อนตัดสินใจเปิดธุรกิจมาให้แล้วจะมีอะไรบ้างไปดูกัน
1.ขาดประสบการณ์ในการทำธุรกิจ
ประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจ ถึงแม้จะฝึกฝนมากน้อยแค่ไหน แต่ถ้าหากขาดประสบการณ์ โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็ถือเป็นเรื่องยาก เพราะการทำธุรกิจไม่เหมือนกับการเป็นลูกจ้าง ที่เมื่อมีความผิดแค่ไหน ก็ยังมีเงินเดือนใช้จ่ายในสิ้นเดือน แต่ถ้าเป็นเจ้าของธุรกิจการเจ๊งเท่ากับหมดตัว
2.ไม่มีการวางแผนธุรกิจ
การทำธุรกิจแล้วไม่มีการวางแผนที่ดี ก็เหมือนกับการต่อสู้ในสงครามที่ไม่มีอาวุธ โอกาสพ่ายแพ้จึงมีสูง เพราะฉะนั้นจึงควรวางแผนธุรกิจให้รอบครอบ คำนวณต้นทุนอย่างถี่ถ้วน คำนวณเงินสด เงินทุนหมุนเวียน (Cash Flow) ที่ต้องใช้ในการดูแลธุรกิจให้ดีก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจ
3.ขาดเงินทุนหมุนเวียน
เงินทุนหมุนเวียนเป็นสิ่งที่สำคัญ หากขาดเงินทุนหมุนเวียน โอกาสที่ธุรกิจจะเจ๊งก็มีสูง โดยหลากหลายธุรกิจต้องการใช้เงินทุนจำนวนมาก ยกตัวอย่าง ธุรกิจร้านวัสดุก่อสร้าง ที่ต้องค่าใช้จ่ายมากมาย เช่น ค่าคนงาน และ ค่าสินค้า ซึ่งถ้าหากวางแผนการเงินผิดพลาด เงินทุนหมุนเวียนไม่พอ โอกาสเจ๊งหมดตัวก็สูงตามมา
4.แยกกระเป๋าเงินให้เหมาะสม
สำหรับใครที่เริ่มค้าขายได้ เงินทองเริ่มไหลเข้ามา แต่ไม่มีการแยกกระเป๋าเงินให้ชัดเจน ว่าเงินที่เข้ามาควรอยู่ที่ไหน เป็นเงินส่วนตัวหรือเงินของบริษัท ถ้าหากไม่มีการแยกกระเป๋าให้ชัดเจน โอกาสที่จะใช้จ่ายเงินเกินตัว ก็มีโอกาสท่ีบริษัทจะเจ๊งเหมือนกัน
สรุป
เนื้อหาในบทความนี้ เป็นการเล่าเรื่องราวของการเดินทางของ ร้านวัสดุก่อสร้าง ที่มีชื่อว่า UDWASSADU ตลอดเส้นทางการเดินทางกว่า 25 ปีของเรา ทำให้เราได้รับรู้อะไรใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นความต้องการที่เปลี่ยนไป เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง ออนไลน์ ไปจนถึงเทคนิคที่จะนำเสนอสินค้าอย่างไรให้เป็นที่น่าสนใจ ในตอนนี้เราก็ยังไม่เคยหยุดพัฒนารูปแบบการให้บริการแม้แต่วินาทีเดียว เราพร้อมมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุด ให้กับลูกค้าทุกท่านที่ซื้อสินค้าของเรา
สุดท้ายนี้เราขอขอบคุณลูกค้าทุกท่าน องค์กรทุกองค์กร ที่ได้สนับสนุนสินค้าทุกชิ้นของเรา พร้อมกับมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการสนับสนุนต่อ ๆ ไปในอนาคต ขอบคุณครับ