วิธี บำบัดน้ำเสีย จากโรงงานอุตสาหกรรมและบ้านเรือน

บำบัดน้ำเสีย

คุณรู้หรือไม่ ? ว่ามนุษย์ของเรานั้น โดยเฉลี่ยแล้วจะสร้างน้ำเสียถึงวันละ 150 ลิตร จากกิจวัตรประจำวันไม่ว่าจะเป็น การอาบน้ำ ทานอาหาร ทำงานบ้าน และ อื่น ๆ ซึ่งทำให้ “การ บำบัดน้ำเสีย” เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามด้วยประการทั้งปวง เนื่องจากน้ำเสียที่เราสร้างขึ้นมา ถ้าไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี น้ำเหล่านั้นก็จะถูกส่งกลับไปยังธรรมชาติ จนทำให้เกิดการปนเปื้อนตามแหล่งน้ำธรรมชาติ และตัวเลข 150 ลิตรต่อวันนั้นเพียงแค่ 1 คนเท่านั้น ลองคิดดูว่า ทั้งประเทศในแต่ละวันจะมีน้ำเสียปริมาณมหาศาลขนาดไหน

บำบัดน้ำเสีย

เมื่อการบำบัดน้ำเสียเริ่มต้นได้ง่าย ๆ ที่บ้าน

การบำบัดน้ำเสีย คือการทำให้ “น้ำเสีย” ที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ได้รับการขจัดสิ่งเจือปนต่าง ๆ ภายในน้ำ จนกลายเป็นน้ำที่มีคุณภาพดีขึ้น เพียงพอที่จะส่งออกไปตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ในกระบวนการในการบำบัดน้ำเสีย สามารถทำได้จากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะของบริเวณนั้น ๆ โดยทุกบ้านควรมีการจัดวางระบบสำหรับจัดการน้ำเสียอย่างเช่น บ่อเกรอะ บ่อดักขยะ บ่อดักไขมัน และรู้จักวิธีการจัดการน้ำเสียอย่างถูกต้อง ซึ่งเราอยากให้ทุกคนมีความรู้ในเรื่องนี้ เพราะจะช่วยทำให้โลกของเราน่าอยู่มากกว่านี้อีกหลายเท่าเลยทีเดียว

หลักการบำบัดน้ำเสียฉบับเบื้องต้น เข้าใจง่ายภายใน 5 นาที

เนื่องจากบทความนี้ เราอยากให้ทุกคนเข้าใจถึงวิธีบำบัดน้ำเสียในชุมชน เพื่อให้รู้ว่ากว่าที่จะปล่อยน้ำไปสู่แหล่งน้ำสาธารณะนั้นมีกระบวนการที่ยุ่งยากมากเพียงใด ซึ่งการบำบัดน้ำเสียควรเริ่มต้นที่ครัวเรือน เพื่อช่วยลดภาระให้กับหน่วยบำบัดน้ำเสียในประเทศไทยมากกว่า 100 แห่ง เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา มาดูกันเลยว่าวิธีบำบัดน้ำเสีย สามารถทำได้กี่วิธี ตามเนื้อหาดังต่อไปนี้

  •  การบำบัดแบบกายภาพ

การบำบัดน้ำเสียแบบ “กายภาพ” เป็นการจัดการกับสิ่งที่เจือปนขนาดใหญ่ภายในน้ำ โดยใช้วิธีการทางกายภาพอย่างเช่น การใช้ตะแกรง การตกตะกอน การยกให้ลอย สิ่งที่จะถูกแยกออกจากน้ำ ส่วนมากจะเป็นเศษขยะ เศษอาหาร หรือ สิ่งของต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นของแข็งทั้งหมด

การบำบัดน้ำเสีย

  • การบำบัดทางเคมี

ในการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธี “ทางเคมี” มักจะทำหลังจากผ่านกรรมวิธีทางกายภาพมาแล้ว ในกระบวนการนี้น้ำจะไม่ค่อยมีสิ่งเจือปนที่มีขนาดใหญ่สักเท่าไหร่ ซึ่งในกระบวนการนี้จะใช้สารเคมีที่เร่งให้เกิดปฏิกิริยาอย่างการตกตะกอน เพื่อแยกเอาสารแขวนลอยขนาดเล็กออกจากน้ำ และใช้สารเคมีเพื่อปรับปรุงคุณภาพของน้ำ รวมไปถึงการกำจัดเชื้อโรคต่าง ๆ ในกระบวนการนี้เช่นเดียวกัน

  • การบำบัดทางชีวภาพ

ในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย “ทางชีวภาพ” ค่อนข้างเป็นวิธีที่ซับซ้อนมากที่สุด เนื่องจากในวิธีนี้จะเป็นการใช้สารจุลินทรีย์ในการกำจัดของเสียที่อยู่ภายในน้ำ ส่วนมากวิธีนี้จะเป็นหน่อยงานรัฐ หรือ องค์กรขนาดใหญ่อย่างโรงงานอุตสาหกรรม เป็นวิธีที่ทำให้น้ำเสียกลับมามีความบริสุทธิ์ได้มากที่สุดจากทุกวิธีในการบำบัดน้ำเสียที่เรากล่าวมา

 การบำบัดน้ำเสียแบ่งได้ตามขั้นตอนดังนี้

1.การบำบัดขั้นต้น

การบำบัดน้ำขั้นต้น เป็นการบำบัดเพื่อแยกของแข็งขนาดใหญ่ เช่น กระดาษ พลาสติก เศษอาหาร รวมถึงทราย กรวด ออกจากน้ำเสีย โดยการบำบัดน้ำขั้นต้น ต้องใช้อุปกรณ์ในการแยกอย่าง ตระแกรงละเอียด ตระแกรงหยาบ ถังตกตะกอนเบื้องต้น ถังดักกรวดทราย และเครื่องกำจัดไขฝ้า ซึ่งการบำบัดในขั้นนี้สามารถจัดการของเสียได้ร้อยละ 50-70 

2.การบำบัดขั้นที่สอง

การบำบัดน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการบำบัดขั้นต้นและผ่านการบำบัดมาเรียบร้อย แต่ยังมีของแข็งที่แขวนลอยขนาดเล็กอยู่ ดังนั้นจึงต้องมาถึงกระบวนการบำบัดน้ำเสียในขั้นที่สอง เป็นการบำบัดแบบทางชีวภาพที่จะอาศัยหลักการเลี้ยงจุลินทรีย์ในระบบภายใต้สภาวะที่สามารถควบคุมได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกินสารอินทรีย์ได้รวดเร็วกว่าที่เกิดตามธรรมชาติ 

จากนั้นแยกตะกอนจุลินทรีย์ออกจากน้ำทิ้ง โดยการใช้ถังตกตะกอน ทำให้น้ำที่ทิ้งมีคุณภาพที่ดีขึ้น จากนั้นจึงเข้าระบบฆ่าเชื้อโรค เพื่อให้ไม่มีจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคปนเปื้อน ก่อนที่จะระบายน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยในขั้นตอนนี้สามารถจัดของเสียในรูปแบบสารอินทรีย์ได้มากกว่าร้อยละ 80 

การบำบัดน้ำเสีย

3.การบำบัดน้ำเสียขั้นสูง

การบำบัดน้ำเสียขั้นสูง เป็นกระบวนการกำจัดสารอาหาร สารแขวนลอยที่ตกตะกอนยากขั้นสุดท้าย เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดียิ่งขึ้น เพื่อนำมากลับมาใช้ไหม นอกจากการบำบัดน้ำเสีย ยังช่วยป้องกันการเติบโตผิดปกติของสาหร่านที่ทำให้เกิดน้ำเน่าได้ โดยกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นสูงมีดังนี้

  • การกำจัดไนโตรเจน การทำบำบัดมีวิธีการทำชีวภาพ 2 ขั้นตอน คือ การเปลี่ยนแอมโมเนีย ไนโตรเจน ให้กลายเป็นไนเทรต ที่ทำให้เกิดสภาวะแบบใช้ออกซิเจน และเปลี่ยนไนเทรตให้กลายเป็นก๊าซไนโตรเจน ในสภาวะไร้ออกซิเจน ที่เรียกว่า ดีไนทริฟิเคชั่น
  • การกำจัดฟอสฟอรัส มีทั้งแบบการใช้กระบวนทางเคมีและแบบใช้กระบวนการทางชีวภาพ
  • การกำจัดฟอสฟอรัส และ ไนโตรเจน โดยกระบวนการทางชีวภาพ เป็นการใช้ทั้งกระบวนการแบบใช้อากาศและไม่ใช้อากาศในการกำจัดไนโตรเจน โดยกระบวนการจับใช้ฟอสฟอรัสอย่างฟุ่มเฟือย มีการใช้กระบวนการแบบไม่ใช้อากาศต่อด้วยกระบวนการใช้อากาศด้วยกัน

ประโยชน์ของการบำบัดน้ำเสีย ที่ไม่อยากให้ทุกคนนั้นมองข้าม

หลังจากได้รู้ถึงกระบวนการในการบำบัดน้ำเสียกันไปแล้ว ในลำดับต่อมาเราจะขอกล่าวถึง ความสำคัญในการบำบัดน้ำเสีย เพราะนี่คือเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิดเอาไว้ หากปล่อยปละละเลยอาจทำให้อนาคตของเรา ไม่มีน้ำสะอาดให้ใช้งานก็เป็นได้ โดยข้อดีที่เราหยิบยกมาเป็นตัวอย่างมีดังต่อไปนี้

  • ประหยัดน้ำ น้ำเสียที่ผ่านกระบวนการบำบัดอย่างถูกต้อง จะมีความบริสุทธิ์ที่สูงมาก ไม่มีทั้งสารแขวนลอย โลหะหนัก และ เชื้อโรคต่าง ๆ แม้จะไม่สามารถกินได้ แต่ก็ใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ได้ทั้งหมด
  • ลดการปล่อยน้ำเสียสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เชื่อว่าทุกคนรู้อยู่แล้วว่าน้ำเสียนั้นทำลายธรรมชาติมากเพียงใด ทั้งพืชน้ำ และ สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำ แน่นอนว่ามนุษย์เองก็ได้รับผลกระทบโดยตรงเช่นกัน
  • เป็นการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน น้ำเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในอนาคตไม่ว่าจะ 10 ปี หรือ 100 ปี เราก็ยังจำเป็นต้องใช้น้ำ ดังนั้นเพื่ออนาคต เราต้องเริ่มต้นดูแลแหล่งน้ำตั้งแต่วันนี้
  • หนึ่งในวิธีรับผิดชอบต่อสังคม การบำบัดน้ำเสียในครัวเรือน เป็นหนึ่งในวิธีในการรับผิดชอบต่อสังคม และในบางกิจการถือว่าเป็นข้อบังคับ ที่จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

บำบัดน้ำ

การบำบัดน้ำเสีย ของ “บ้าน” และ “โรงงานอุตสาหกรรม” ต่างกันอย่างไร

ในช่วงสุดท้าย เรามั่นใจว่าผู้อ่านย่อมได้รับความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดน้ำเสีย ไปพอสมควรอย่างแน่นอน และจากหัวข้อของบทความนี้ เราจะมาอธิบายถึงความแตกต่าง ระหว่างการบำบัดน้ำเสียภายใน “บ้าน” และ “โรงงานอุตสาหกรรม” ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร

  • ระบบบำบัดน้ำเสียภายในบ้าน

 วิธีบำบัดน้ำเสียภายในบ้าน ส่วนมากจะเริ่มต้นในบ่อเกรอะ และ ถังดักไขมัน น้ำเสียที่เกิดมักจะเป็นสิ่งที่เกิดจากการดำรงชีวิตของมนุษย์ อย่างเช่น เศษอาหาร ไขมัน สารซักฟอก และ สิ่งปฏิกูล ระบบการบำบัดภายในบ้านจะไม่ซับซ้อนเท่าไหร่นัก ก่อนที่จะส่งต่อไปที่ท่อระบายน้ำสาธารณะ เพื่อบำบัดน้ำในกระบวนการที่ละเอียดมากยิ่งขึ้น

บำบัดน้ำเสียในโรงงาน

  • ระบบบำบัดน้ำเสียภายในโรงงานอุตสาหกรรม

ในส่วนของระบบบำบัดน้ำเสียภายในโรงงาน โดยเฉพาะโรงงานที่มีการใช้สารเคมี และ โลหะหนัก อย่างเช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ , เครื่องจักร , การเกษตร , การแปรรูป และ ผลิตอาหาร เป็นต้น ภายในโรงงานเหล่านี้ จำเป็นจะต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียภายในโรงงาน ซึ่งจะต้องใช้กระบวนการเฉพาะ เพื่อให้น้ำที่ผ่านการบำบัด มีความบริสุทธิ์เพียงพอที่จะปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ 

บทส่งท้าย

การ บำบัดน้ำเสีย นั้นอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการชมภาพยนตร์ มักจะเห็นว่าในภาพยนตร์โลกหลังวันล่มสลาย สิ่งที่มีค่าที่สุดไม่ใช่เงินทอง แต่เป็น “น้ำสะอาด” หากเราไม่เริ่มต้นการดูแลแหล่งน้ำธรรมชาติเสียตั้งแต่ตอนนี้ ก็มีโอกาสที่โลกของเราในอนาคตจะประสบปัญหาขาดแคลนน้ำสะอาดก็เป็นได้ สุดท้ายนี้หากคุณสนใจอุปกรณ์ที่ใช้จัดวางระบบบำบัดน้ำเสียภายในบ้าน UDWASSADU เช่น บอล์ววาล์ว หรือ ท่อ ppr เรามีสินค้าที่คุณต้องการให้คุณได้เลือกซื้อ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ LINE : @udirons