โครงสร้างหลังคาเหล็ก เป็นโครงหลังคาที่เป็นที่นิยมที่สุดเนื่องจากราคาไม่แพงมาก การดูแลรักษาต่ำ หาช่างติดตั้งง่าย และคงทนถาวร มีข้อดีคือสามารถทำหลังคาได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะโค้งมากน้อย หรือแม้แต่เป็นลูกคลื่นก็ทำได้ และขนาดของโครงหลังคาเหล็กเอง ก็มีให้เลือกหลายขนาด ขึ้นอยู่กับชนิดของหลังคาที่จำนำมามุง มาทำความรู้จักกับโครงสร้างหลังคาเหล็กให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประเภทของเหล็กที่นำมาใช้ทำเป็นโครงหลังคา หรือขั้นตอนการ สร้างบ้าน และเรื่องน่ารู้อีกหลาย ๆ อย่างของมันกัน
ประเภทของ โครงสร้างหลังคาเหล็ก
โครงหลังคาเหล็กมักจะใช้เหล็กที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านค้าเหล็กรูปพรรณต่าง ๆ มาสร้างขึ้น จึงเป็นที่นิยมสำหรับผู้รับเหมา ซึ่งเหล็กที่นิยมนำมาใช้ จะมีดังนี้
เหล็กเบา
เหล็กเบา คือ เหล็กที่ผ่านกระบวนการรีดซ้ำหรือเหล็กที่ผ่านการรีไซเคิล
เหล็กเต็ม
เหล็กเต็ม คือ เหล็กที่มีประสิทธิภาพในการรับแรงตามมาตรฐานมีเครื่องหมายแสดงมาตรฐานเช่น มอก., ASTM, BSI, JIS ฯลฯ
เหล็กกล่อง
เหล็กกล่องสี่เหลี่ยม หรือเหล็กกล่องสี่เหลี่ยมแบน เป็นเหล็กที่นิยมนำมาใช้เป็นองค์ประกอบของโครงสร้างหลังคาทุกส่วนประกอบ โดยเฉพาะโครงสร้างหลังคาที่เป็นสิ่งปลูกสร้าง อย่างเช่น โรงจอดรถ หรือโรงเรือนแบบโล่งที่ไม่มีผนังกั้น หรือไม่มีฝ้าเพดาน เริ่มตั้งแต่ อเส ขื่อ ดั้งเอก อกไก่ จันทัน หรือแป เป็นต้น
เหล็กซี
เหล็กซี หรือเหล็กตัวซี ถือได้ว่าเป็นโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็นที่นิยมนำไปทำเป็นแป หรือระแนง เนื่องจากเหล็กตัวซีมีความแข็งแรง ทนทาน ปลอดภัย และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ส่วนใหญ่เหล็กตัวซีจะนำไปใช้ในโครงสร้างสำหรับอาคาร โรงจอดรถ หรือบ้านพักอาศัย
การซื้อเหล็กมาทำ โครงสร้างหลังคาเหล็ก
หลังคาถือเป็นโครงสร้างที่สำคัญกับบ้านทุก ๆ หลัง เพราะหลังคาจะทำหน้าที่ในการกันลม กันฝน กันแดดให้กับบ้านของเรา ฉะนั้น เหล็กที่ใช้ในการทำโครงสร้างหลังคาเหล็ก ควรจะต้องมีความแข็งแรงให้เพียงพอ เพื่อรองรับน้ำหนักของวัสดุที่ใช้มุงหลังคา และอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ
สำหรับโครงสร้างหลังคาที่นิยมใช้กันคงจะหนีไม่พ้นโครงหลังคาเหล็กรูปพรรณ อย่างเช่น เหล็กกล่องสี่เหลี่ยม เหล็กกล่องสี่เหลี่ยมแบน เหล็กตัวซี เป็นต้น ซึ่งการเลือกเหล็กแต่ละชนิดไปใช้งานกับโครงสร้าง ควรพิจารณาตามความเหมาะสมของหลังคาบ้านแต่ละรูปแบบ ว่าเรานั้นจะนำไปใช้งานเพื่ออะไร
ถ้าหากเราพอมีงบประมาณ ก็ควรเลือกใช้เหล็กกล่อง ไม่ควรเลือกเหล็กตัวซี เพราะเหล็กกล่องจะมีความแข็งแรงมากกว่า สามารถรับน้ำหนักได้ดีกว่าเหล็กตัวซี แต่ถ้าเลือกเหล็กตัวซีมาใช้งาน ก็ควรเลือกเหล็กตัวซีมาประกบเชื่อมกันเพื่อความแข็งแรงที่มากกว่านั่นเอง
ซึ่งการเลือกซื้อเหล็กมาใช้งาน มีสิ่งที่เราควรรู้ ดังนี้
- เหล็กต้องเป็นเหล็กเต็มเท่านั้น เช่น เหล็กกล่อง 4 × 2 นิ้ว หนา 3 มิลลิเมตร ไม่ควรเลือกเหล็กบางกว่านี้
- หากเหล็กที่ได้มา เป็นเหล็กกัลป์วาไนซ์ หรือก็คือ เหล็กชุบสังกะสี ซึ่งในส่วนนี้เราไม่ต้องมาทาสีกันสนิม แต่เมื่อทำการเชื่อมเหล็กแล้ว ก็จำเป็นจะต้องทาสีกันสนิมที่รอยเชื่อมด้วย เพื่อไม่ให้เกิดสนิมภายหลัง
- ซื้อเหล็กมาให้ขาดเล็กน้อย เมื่อใช้ไปแล้วไม่พอช่างจะบอกจำนวนชัดเจนที่ยังขาดอยู่ได้ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องซื้อมาเกินจนเหลือทิ้ง เพราะเมื่อเสร็จงานเราจะกำจัดเหล็กยากมาก
- การดูเหล็กว่าเต็มหรือไม่ และได้คุณภาพไหม ให้ตัดเหล็กมายาว 1 เมตร จากนั้นชั่งแล้วเอาไปเทียบกับ ตารางน้ำหนักเหล็ก ถ้าหากน้ำหนักเท่ากับในตาราง หรือมากกว่าถือว่าใช้ได้
9 ขั้นตอนการสร้างโครงหลังคาเหล็ก
1.ตั้งเสารับหลังคา
การตั้งเสารับหลังคา ต้องเลือกเสาเหล็กประเภทเหล็กรูปพรรณ แนะนำให้มีความหนาไม่น้อยกว่า 2 มิลลิเมตร ถึง 2.3 มิลลิเมตร ส่วนเหล็กกล่องที่เป็นเสา หรือคาน ก็ควรมีความหนาไม่น้อยกว่า 2.8 มิลลิเมตร (ตามมาตรฐานควร 3.2 มิลลิเมตร) แต่แย่สุดในกรณีที่หาซื้อในพื้นที่ไม่ได้ ยอดซื้อปริมาณก็น้อย ความหนาที่ยอมรับได้ความหนาน้อยสุดคือ 2.3 มิลลิเมตร
2.ติดตั้งอะเสหัวเสา
อะเส คือ ส่วนประกอบของโครงสร้างหลังคาที่วางพาดอยู่บนหัวเสา มีลักษณะคล้าย ๆ คาน ทำหน้าที่ในการยึดกับรัดหัวเสา และรับแรงจากโครงหลังคาถ่ายลงมาสู่เสา โดยทั่วไปแล้ว อะเสมักจะวางตรงบริเวณทางด้านริมนอกของเสา และจะวางเฉพาะด้านที่มีความลาดเอียงของหลังคา
3.ติดตั้งจันทัน
การติดตั้งจันทัน โดยทั่วไปแล้ว จันทันจะวางทุกระยะประมาณ 00 เมตร ซึ่งระยะห่างของจันทันขึ้นอยู่กับน้ำหนักของจันทัน เป็นส่วนที่วางพาดบนอะเส และอกไก่รองรับแป หรือระแนงที่รองรับแผ่นหลังคาทุกประเภท ทั้งสังกะสี เมทัลชีท กระเบื้องหลังคา วัสดุมุงหลังคา และระยะแปด้วย
4.ติดตั้งแป
ขั้นตอนการทำโครงหลังคาเหล็กอีกหนึ่งขั้นตอน คือการติดตั้งแป เหล็กที่ถูกนำมาใช้ทำเป็นแป ได้แก่ เหล็กกล่อง เหล็กกล่องไม้ขีด เหล็กตัวซี เหล็กทั้ง 3 ชนิด จะมีการเลือกใช้ที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิดของแผ่นหลังคา เพราะหลังคาแต่ละชนิดจะมีน้ำหนักแตกต่างกันไป โดยเหล็กรูปพรรณนี้จะไม่มีการเคลือบสารป้องกันสนิม ก่อนใช้งานต้องมีการทาสีเพื่อป้องกันสนิมก่อนจึงจะใช้งานได้
5.แต่งรอยเชื่อม ทาสี
งานเหล็กที่ต้องใช้ในพื้นที่สูงอย่างโครงสร้างหลังคา คานต่าง ๆ มักจะทา หรือชุบสีก่อนนำไปเชื่อมประกอบ แต่หากเป็นงานที่อยู่ไม่สูงมาก ก็ทำการเชื่อมประกอบก่อนทาสี แต่ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมก่อนทา หรือทาก่อนเชื่อม สิ่งสำคัญที่สุดคือรอยตัดและรอยตะเข็บเชื่อม ข้อแนะนำการทาสีที่เหล็กก่อนทำการเชื่อมต่อ ก่อนเชื่อมควรขูดสีออกจากจุดที่ต้องการเชื่อมประมาณ 1 ถึง 2 นิ้ว
6.ติดตั้งแผ่นหลังคา
ขั้นตอนการติดตั้งแผ่นหลังคาที่ง่ายและสะดวกรวดเร็วที่สุด คือการเลือกเมทัลชีทเป็นวัสดุแผ่นหลังคา โดยจะวางแผ่นหลังคาเหล็กเมทัลชีทแผ่นแรกลงบนแปหลังคา ซึ่งปกติจะใช้ประกบซ้อนทับด้านบน ชิดด้านใดด้านหนึ่งของด้านจั่วหลังคาเหล็กเมทัลชีท ทางตอนล่างที่ชายหลังคาเหล็กเมทัลชีท และยิงสกรูยึดหลังคาเหล็กเมทัลชีทบนสันลอน แบบยิงสันเว้นสันบริเวณบนแนวแป ตลอดแนวแผ่นหลังคาเหล็กเมทัลชีท
7.ติดตั้งเชิงชาย
ให้ทำการสร้างโครงยาวตลอดแนว รัดรอบไปตามหางของจันทันรอบบ้าน จากนั้นค่อยเอาเชิงชายมาติดตั้งเข้าไปกับโครงสร้างที่เราทำเพิ่มอีกทีเป็นตัวกำหนดแนว และทำหน้าที่ดามให้เชิงชายแข็ง ตรงเป็นแนวไปตลอดทาง
8.ติดตั้งรางน้ำ
แนะนำให้เลือกรางน้ำฝนที่ผลิตสำเร็จรูปเป็นชิ้นจากโรงงาน ซึ่งจะได้มาตรฐานทั้งเรื่องขนาดและรูปทรง มีความแข็งแรง ทนการกัดกร่อน มีหลายสีให้เลือกใช้ อย่าง รางน้ำฝนเหล็ก โดยเหล็กรางน้ำเหล่านี้ จะเป็นเหล็กรูปพรรณรีดร้อน มีความยาว 6 เมตร ใช้ในงานโครงสร้างเหล็กที่ต้องการกำลังรับน้ำหนักสูง บันได งานแปรต่าง ๆ งานโครงสร้างบ้าน เป็นต้น
9.ติดตั้งฉนวนใยแก้ว ฉนวนกันความร้อน
ติดตั้งฉนวนใยแก้ว ฉนวนกันความร้อน ด้วยการปูทับได้ทั้งบนฝ้าฉาบเรียบและฝ้าทีบาร์ โดยเริ่มจากนำฉนวนขึ้นไปด้านบนฝ้าเพดาน แล้วปูฉนวนตามแนวของฝ้า ในกรณีที่ติดลวดแขวน สามารถใช้คัตเตอร์ตัดและปิดทับด้วยเทปอลูมิเนียมฟอยล์ จากนั้นปูฉนวนให้เต็มพื้นที่ เท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อย
ทำอย่างไรให้โครงสร้างเหล็กอยู่ได้นาน
โครงสร้างหลังคาเหล็กที่ดีและอยู่ได้นานนั้น ควรใส่ใจในเรื่องของคุณภาพเหล็กมาก่อนเป็นอันดับต้น ๆ คุณภาพเหล็กที่ใช้ในการทำโครงหลังคาควรเป็นเหล็กที่ได้มาตรฐาน หรือศัพท์ในภาษาช่างเรียกว่า เหล็กเต็ม ส่วนเหล็กที่ไม่นิยมนำมาใช้ ช่างจะเรียกกันว่าเหล็กเบา ซึ่งเหล็กประเภทนี้จะไม่สามารถรับแรงได้เต็มที่ จึงมีราคาถูกแต่อย่างไรก็ตามไม่แนะนำให้ใช้เลยจะดีกว่า
รวมไปถึงการทาสีกันสนิม จะต้องทาทั้งภายใน ภายนอก และรอยเชื่อมทั้งหมด สำหรับการทาภายในทำได้ยาก จะให้ดีต้องทำอ่างจุมสี คือให้ทำเป็นราง แล้วเทสีกันสนิมลงไป จากนั้นเอาเหล็กกล่องไปแช่เลยจะดีที่สุด พร้อมกันนั้น รอยเชื่อมของเหล็กทำโครงหลังคาเอง ก็จะต้องสวยงามต่อเนื่องกัน เพื่อให้โครงสร้างทนทาน และไม่เกิดปัญหาในภายหลังอีกด้วย
สรุป
โครงสร้างหลังคาเหล็ก เป็นอีกส่วนสำคัญของโครงสร้างอาคารที่ไม่ควรจะละเลย นอกจากการมีช่างที่ไว้ใจได้แล้ว วัสดุที่นำมาใช้สร้างโครงหลังคาเหล็กเองก็ต้องมีคุณภาพ เพื่อความคงทนและสามารถใช้งานได้ยาว ๆ ไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง นอกจากนี้ ปัญหาความร้อนสะสมเอง ก็เป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับตัวบ้านที่ได้รับความร้อนส่วนใหญ่มาจากหลังคา จึงควรที่จะติดตั้งฉนวนใยแก้วและพัดลมระบายอากาศเอาไว้ด้วยเช่นกัน เพื่อระบายความร้อนที่สะสมใต้หลังคาออกไป และทำให้ตัวบ้านมีอุณหภูมิที่ลดลง หมดปัญหาความร้อนภายในบ้านที่มีสูงไปด้วย
โดยใครที่สนใจการติดตั้งฉนวนใยแก้ว ทาง UDWASSADU ร้านขายวัสดุก่อสร้าง มีจำหน่ายราคาถูก คุณภาพโรงงาน หากใครที่อยากปรึกษาสามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ Line ID : @udirons หรือ โทร : 084-326-6454 โดยที่นี้จำหน่าย ฉนวนใยแก้วกันความร้อน SCG และ Microfiber ราคาโรงงาน มีสต็อคสินค้า พร้อมส่งทั่วกรุงเทพ ปริมณฑล และต่างจังหวัด สะดวก คุ้มค่าแน่นอน