หมดข้อสงสัย ขนาดที่จอดรถ กว้างเท่าไร ถึงจะเหมาะสม

ขนาดที่จอดรถ

ขนาดที่จอดรถ ควรมีขนาดเท่าไรดีถึงจะเหมาะสม เป็นเรื่องที่ควรรู้ก่อนสร้างบ้านหรือซื้อบ้าน โดยการสร้างขนาดที่จอดรถ ควรคำนึงหลากหลายปัจจัย ทั้งจำนวนรถที่มีในปัจจุบันและการขยับขยายในอนาคต หากตัดสินใจผิดอาจต้องส่งผลให้ตรงปรับปรุงบ้านในระยะยาว

ขนาดที่จอด ตามกฏหมาย

ขนาดของที่จอดรถตามกฎหมาย กำหนดไว้อยู่ที่ 2.4 x 5.0 เมตร ต่อ จำนวนรถ 1 คัน และควรเผื่อพื้นที่ด้านข้างที่จอดรถอย่างน้อย 70 เซติเมตรสำหรับเปิดประตูรถ รวมถึงเว้นระยะทางเดินหน้ารถประมาณ 40 เซนติเมตร เพื่อความปลอดภัยและทำให้การจอดรถสามารถทำได้โดยสะดวก

ขนาดที่จอดรถ ขึ้นอยู่กับจำนวนรถที่มี

ขนาดที่จอดรถ 1 คัน

พื้นที่จอดรถ 1 คัน ความกว้างอาจอยู่ที่ 3.1 x 5.4 เมตร  ความสูงของโรงรถอยู่ที่ 2.1 เมตร แต่ในทางปฏิบัติควรมีส่วนสูงอยู่ที่ 2.5 เมตร เป็นอย่างน้อย  ทั้งนี้ข้อควรระวังสำหรับการสร้างที่จอดรถคือ ความสูงของที่จอดรถ ไม่ควรสูงเกินไปเพราะจะไม่สามารถป้องกันแสงแดดแนวแทยงยามเช้าและบ่ายได้

ที่จอดรถ

ขนาดที่จอดรถ 2 คัน

ขนาดที่จอดรถ 2 คัน ความกว้างอาจอยู่ที่ 5-6 เมตร ความยาวอยู่ที่ 5.4 – 6 เมตร เพื่อเว้นช่องว่างให้เปิดประตูเข้าออกโดยไม่ชนกัน รวมถึงจะไม่รู้สึกอึดอัดเวลาจอดรถ พร้อมกัน 2 คัน ทั้งนี้ควรดูว่ารถที่จอดรถนั้นเป็นรถประเภทไหน เช่น รถ SUV หรือรถตู้ ความยาวและความกว้างก็ควรเพิ่มขึ้นตามขนาดรถไปด้วย

ขนาดที่จอดรถ 3 คัน

ขนาดที่จอดรถ 3 คัน ความกว้างอาจอยู่ที่ 9-11 เมตร ความยาวอยู่ที่ 5.4 – 7 เมตร เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถโดยเฉพาะ เหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ โดยสามารถยืดหยุ่นปรับตามที่เจ้าของบ้านต้องการ ในกรณีที่บ้านไหนมีประตูเชื่อมเข้าสู่ตัวบ้าน ประตูควรมีขนาดกว้างเริ่มต้นที่ 80 เซนติเมตร เพื่อความสะดวกในการใช้สอย

ขนาดที่จอดรถกับขนาดบ้าน

นอกเหนือจากจำนวนรถที่มีแล้ว ขนาดบ้านก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นเดียวกัน ทั้งทาว์นโฮม และบ้านเดี่ยว ขนาดบ้านก็แตกต่างกันดังนั้นควรเลือกขนาดที่จอดรถให้เหมาะสม จะมีขนาดเท่าไรตามไปดูกันได้เลย

ทาวน์โฮม ทาวน์เฮาส์

ทาวน์โฮมมีขนาดหน้ากว้างที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละโครงการ โดยขั้นต่ำหน้ากว้างตามกฎหมาย 4-10 เมตร ซึ่งหน้ากว้างของแต่ละที่ทำให้จำนวนรถที่จอดจะแตกต่างกันไปด้วย ทั้งนี้ปัจจุบันมีการแก้กฎหมาย  พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558 ที่ปรับกฏหมายจาก 4-10 เมตรเป็นหน้ากว้างอย่างน้อย 2.4 x 5 เมตร โดยขนาดของที่จอดรถส่วนใหญ่มีดังนี้

  • ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม หน้ากว้าง 4 เมตร สามารถจอดรถได้ 1 คัน
  • ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม หน้ากว้าง 5-5.7 เมตร สามารถจอดรถได้ตั้งแต่ 1-2 คัน เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมที่สุด
  • ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม หน้ากว้าง 6-7 เมตร สามารถจอดรถได้ 2 คัน 
  • ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม หน้ากว้าง 8-10 เมตร สามารถจอดรถได้สูงสุด 3 คัน บางโครงการออกแบบมาให้มี 2 ช่องจอด จอดได้แบบสบาย ๆ ไม่ต้องเบียดกัน

ขนาดที่จอดรถ

บ้านเดี่ยว

สำหรับบ้านเดี่ยวสามารถคำนวณจากจำนวนรถ ขนาดบ้าน ประเภทรถ สามข้อนี้เป็นสิ่งที่ใช้ในการสร้างโรงจอดรถ โดยขนาดที่เหมาะที่เหมาะสำหรับรถ 1 คัน มีความกว้าง x ยาว ประมาณ 2.8 x 5.5 เมตร และสำหรับบ้านที่มีรถ 2 คัน ควรมีขนาดกว้าง x ยาว อยู่ที่ 5.5 x 6 เมตรขึ้นไป เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน 

ทั้งนี้ในการสร้างโรงจอดรถ ควรศึกษาเรื่องการออกแบบโรงจอดรถ อาทิ โรงจอดรถที่อยู่กับตัวบ้าน หากคำนวณไม่ดี โอกาสที่ปัญหาทรุดตัวภายหลัง เป็นต้น

ข้อควรรู้สำหรับสร้างหรือต่อเติมที่จอดรถ

สำหรับข้อควรรู้สำหรับการสร้างหรือต่อเติมที่จอดรถนั้น มีหลายอย่างที่ควรรู้และตรวจสอบ ตั้งแต่ขนาดบ้าน โครงสร้างโรงจอดรถ มาตรฐานของทางลาด ไปจนถึงหลังคากันสาดที่ใช้สำหรับต่อเติมที่จอดรถ จะมีรายละเอียดอย่างไรไปดูกัน

1.ตรวจสอบขนาดบ้านและจำนวนรถ

ขนาดบ้านและจำนวนรถ ถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกของการสร้างบ้าน เริ่มต้นจากดูขนาดบ้านว่ามีหน้ากว้างกี่เมตร จากนั้นคำนวณจำนวนรถที่บ้าน ควรกะระยะไว้เผื่ออย่างน้อย 40-70 เซนติเมตร เพื่อการใช้งานได้อย่างสะดวก ทั้งนี้ควรคำนวณจากประเภทรถที่เลือกใช้งานว่ามีขนาดเท่าไร โดยตัวอย่างขนาดรถมีดังนี้

ขนาดรถเก๋งทั่วไป (Compact)

  • ความกว้าง: 1.5  –  1.8 เมตร 
  • ความยาว: 4.3  –  4.9 เมตร 
  • ความสูง: 1.2  –  1.5 เมตร 

ขนาดรถตู้และรถ SUV 

  • ความกว้าง: 1.8  –  2.1 เมตร 
  • ความยาว: 4.9  –  5.8 เมตร 
  • ความสูง: 1.5  –  1.8 เมตร 

ขนาดรถขนาดใหญ่ (Large)

  • ความกว้าง: 1.8  –  1.9 เมตร 
  • ความยาว: 4.9  –  5.5 เมตร 
  • ความสูง: 1.4  –  1.5 เมตร 

2.โครงสร้างโรงจอดรถ

โครงสร้างโรงจอดรถเป็นสิ่งสำคัญที่พลาดไม่ได้ ถ้าหากคำนวณไม่ดี โอกาสที่พื้นทรุดหรือหลังคาพัง มีโอกาสสูงมากเช่นเดียวกัน โดยเฉลี่ยแล้วน้ำหนักของรถเก๋งทั่วไปอยู่ที่ 1,000-1,500 กิโลกรัม ส่วนรถกระบะมีน้ำหนักอยู่ที่ 1.600 ควรคำนวณน้ำหนักให้ดี ไม่ใช่แค่เพียงใช้พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กวาง ด้วยดินเท่านั้น เพราะยังมีโครงสร้างโรงจอดรถเพิ่มอีก เช่น เสา หลังคา

 ดังนั้นควรศึกษาโครงสร้าง คำนวณน้ำหนักให้ดี หรือถ้าหากบ้านไหนมีงบประมาณ แนะนำให้ลงเสาเข็ม ทำรากฐาน คาน ในลักษณะเดียวกับโครงสร้างบ้าน จะได้ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องการทรุดตัวของโรงจอดรถ

3.ขนาดมาตรฐานของทางลาด

นอกเหนือจากโครงสร้างจอดรถแล้ว ทางลาดจากถนนก็เป็นส่วนนึงที่สำคัญไม่แพ้กัน โดยทั่วไปแล้วอัตราความลาดอยู่ที่ไม่เกิน 1:8 เพื่อป้องกันไม่ให้ท้องรถขูดกับพื้นและทางลาดนั้นเอง สำหรับรถเก๋งหากมีความสูงจากพื้นถนนอยู่ที่ 30 เซนติเมตร ต้องมีทางลาดไม่ต่ำกว่า 2.4 เมตร เป็นต้น

4.ต่อเติมท่ีจอดรถหน้าบ้าน

การต่อเติมที่จอดรถหน้าบ้าน ควรเริ่มจากการคำนวณพื้นที่หลายอย่าง ทั้งจำนวณรถ ประเภทของการต่อเติม อาทิแบบหลังคากันสาด, แบบตั้งเสาใหม่ทั้งหมด เป็นต้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • โรงจอดรถแบบหลังคากันสาด สำหรับการต่อเติมที่จอดรถประเภทนี้ง่ายสุด เพราะมีพื้นที่จอด รถอยู่แล้ว เจ้าของสามารถต่อหลังคาเสริมกับหลังคาบ้าน แต่ทั้งนี้หากต่อเติมหลังคายาวเกินไป น้ำหนักของกันสาด อาจจะหนักเกินไป ทำให้ผนังและโครงสร้างบ้านเสียหาย อีกทั้งหากเกิดพายุก็มีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายมากขึ้น
  • โรงจอดรถแบบยึดกับโครงสร้างบ้าน ทำได้โดยการยึดเข้ากับโครงสร้างบ้าน โดยการทำต้องยึดด้านหลังกับโครงสร้างบ้านและต้องตั้งเสารับน้ำหนักด้านหน้า การทำประเภทนี้จะประหยัดงบประมาณในการทำโรงจอดรถมากกว่าการติดตั้งเสาใหม่ทั้งหมด แต่มีข้อเสียคือหากโครงสร้างบ้านและพื้นทรุดไม่เท่ากัน ก็จะมีโอกาสทำให้โครงสร้างบ้านเสียหายได้ 
  • โรงจอดรถแบบตั้งเสาใหม่ทั้งหมด เป็นวิธียอดนิยม แต่ราคาแพงที่สุด เพราะต้องตั้งเสารับน้ำหนักหลังคาโรงจอดรถใหม่ทั้งหมดโดยไม่ต้องเกี่ยวข้องกับโครงสร้างบ้าน ดังนั้นเวลาโรงจอดรถทรุดตัว โครงสร้างบ้านจะไม่ทรุดตัวตามไปด้วย

ที่จอดรถ

5.ติดตั้งที่ชารจ์แบตสำหรับรถไฟฟ้า

สำหรับบ้านไหนที่มีการวางแผนใช้รถไฟฟ้า ควรปรับสถานที่ไว้เตรียมพร้อมสำหรับสถานที่ชารจ์แบตเตอรี่ไฟฟ้า โดยการปรับบ้านเพื่อรองรับรถไฟฟ้า มีดังนี้

  • การขอไฟฟ้า 3 เฟส ระบบไฟฟ้า 3 เฟส เป็นระบบไฟฟ้าสำหรับอาคารพาณิชย์ โรงงานและบ้านขนาดใหญ่ โดยระบบประเภทนี้ที่มิเตอร์มี สายไฟ 4 เส้น เป็นสายไลน์ 3 เส้น และสายนิวทรอล 1 เส้น แรงดันไฟฟ้าระหว่างสายไลน์ด้วยกันที่ 380V และสายใดสายนึงระหว่างสายไลน์กับสายนิวทรอล จะมีแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 220V  ก็จะได้ไฟฟ้า 3 เฟส ทั้งนี้ต้องขอเพิ่มมิเตอร์ไฟฟ้า 3 เฟส ที่การไฟฟ้าด้วย
  • ปรับสายไฟเพื่อรองรับรถไฟฟ้า โดยต้องเปลี่ยนสายเมนเข้าบ้าน และลูกเซอร์กิตเบรกเกอร์ ให้มีขนาดเป็น 25 ตร.มม. จากสายเมนของเดิม 16 ตร.มม. และเปลี่ยนลูกเซอร์กิตเบรกเกอร์ จาก 45 (A) เป็น 100 (A) โดยต้องปรับให้ขนาดใกล้เคียงกันมากที่สุด

6.ติดตั้งฉนวนใยแก้ว เพื่อกันความร้อน

หลังคาส่วนใหญ่จะมีความร้อนสะสมจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้ที่จอดรถร้อน และมีโอกาสให้ความร้อนส่งผลมาถึงตัวรถได้ ซึ่งส่งผลให้ระบบระบายอากาศ อย่างแอร์ทำงานหนัก รวมถึงอุปกรณ์ที่เป็นยางอย่าง ขอบกระจก เสื่อมสภาพไปอย่างรวดเร็ว 

ดังนั้นหนึ่งในวิธีป้องกันไม่ให้ความร้อนสะสมในโรงจอดรถ ควรติดตั้ง ฉนวนใยแก้ว เพราะมีคุณสมบัติช่วยกันความร้อน โดยมีค่าการนำความร้อนต่ำ รวมถึงยังสามารถต้านทานความร้อนได้เป็นอย่างดี โดยฉนวนใยแก้วที่ทางเราแนะนำมีดังนี้

  • ฉนวนใยแก้วตราช้าง เบอร์ FRK2425, FRK2450, FRK1625
  • ฉนวนใยแก้วไมโครไฟเบอร์ เบอร์ FL2425, FL2450

 

สรุป

ขนาดที่จอดรถ ควรมีขนาดเท่าไรดีถึงจะเหมาะสม คำตอบคือ จำนวนรถและขนาดบ้าน รวมถึงขนาดของรถยนต์ที่ใช้ นอกจากนี้การสร้างหรือต่อเติมที่จอดรถ มีข้อควรรู้ดังนี้ โครงสร้างโรงจอดรถ ขนาดมาตรฐานทางลาด ไปจนถึงการติดตั้งฉนวนใยแก้ว เพื่อป้องกันความร้อนให้กับรถยนตร์

โดยใครที่สนใจการติดตั้งฉนวนใยแก้ว ทาง UDWASSADU ร้านขายวัสดุก่อสร้าง มีจำหน่ายราคาถูก คุณภาพโรงงาน จำหน่าย ฉนวนใยแก้วกันความร้อน SCG และ Microfiber ราคาโรงงาน สำหรับกันเสียง วัสดุไม่ลามไฟ หลากหลายความหนา ทั้งแบบหนา 25 มม และ 50 มม หากใครที่อยากปรึกษาสามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ Line ID : @udirons หรือ โทร : 084-326-6454 เรียกได้ว่าทั้งสะดวกสบาย คุ้มค่าแน่นอน  มีสต็อคสินค้า พร้อมส่งทั่วกรุงเทพ ปริมณฑล และต่างจังหวัด