แผ่นกันความร้อน เป็นที่ต้องการอย่างมากในช่วงเวลานี้ เนื่องจากช่วงเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยมีอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นจนน่าใจหาย ผนวกเข้ากับช่วงเวลาในปี 2023 เป็นช่วงที่ค่าไฟพุ่งขึ้นสูง จนทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่ที่บ้านเป็นเวลานาน ๆ บ่นอุบกันว่า “สิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ” ทำให้ฉนวนกันความร้อน เป็นตัวเลือกที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงกันบ่อย ๆ ในตอนนี้ เพราะมีส่วนช่วยให้บ้านเย็นลงได้ เป็นเกราะป้องกันความร้อนโดยธรรมชาติที่ช่วยเซฟค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ว่าแต่ฉนวนกันความร้อนมีกี่ประเภท ? อ่านบทความนี้ให้จบ แล้วคุณจะได้ประเภทของฉนวนที่คุณต้องการมากที่สุด
1.แผ่นกันความร้อน “aeroflex Kflex”
แผ่นกันความร้อนแบบฉนวนยางดำ (aeroflex Kflex) เป็นฉนวนที่มีรูปแบบเป็นแผ่นยาง นิยมนำไปใช้สำหรับงานระบบท่อต่าง ๆ ที่จะต้องมีฉนวนหุ้มเพื่อควบคุมอุณหภูมิ พบได้บ่อย ๆ ในรูปแบบของ “ท่อแอร์” ที่เราคุ้นตากันนั่นเอง แม้จะมีการนำมาใช้สำหรับอาคารได้ ด้วยรูปแบบของฉนวนที่เป็นแผ่นขนาดใหญ่ มีน้ำหนักเบา ยืดหยุ่น ป้องกันความร้อนและเสียงได้เป็นอย่างดี พร้อมกับความทนต่อความชื้น เป็นคุณสมบัติพิเศษที่แถมมาให้ แต่ข้อเสียอันใหญ่หลวงเลยก็คือเป็นเชื้อไฟ ทำให้ไม่ได้รับความนิยมในการติดตั้งในบ้านสักเท่าไหร่
2.ฉนวนอะลูมิเนียมฟอยล์
ฉนวนแบบอะลูมิเนียมฟอยล์ แม้ว่าจะเรียกว่าฉนวนกันความร้อน แต่ที่จริงควรเรียกว่า “แผ่นสะท้อนความร้อน” จะเหมาะสมมากกว่า เพราะนิยมติดกับแผ่นเมทัลชีท เพื่อป้องกันความร้อนจากแสงแดดโดยตรง ราคาค่อนข้างถูกเลยทีเดียวเมื่อเทียบกับโฟมชนิดอื่น ๆ ข้อดีหลัก ๆ คือราคาถูกมาก ๆ มาพร้อมกับความทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่แน่นอนว่าข้อเสียคือติดได้เฉพาะกับหลังคาเท่านั้น และไม่มีคุณสมบัติพิเศษอย่างฉนวนชนิดอื่น ๆ อย่างการป้องกันเสียงอีกด้วย
3.ฉนวนกันความร้อนใยหิน
ถ้าให้เราแนะนำว่าคุณควรติดแผ่นกันความร้อนผนังห้องด้วยฉนวนชนิดไหน “ฉนวนกันความร้อนใยหิน” คือตัวเลือกแรก ๆ ที่เราอยากแนะนำ เนื่องจากคุณสมบัติพิเศษที่มีเป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่เป็นฉนวนได้เป็นอย่างดี ป้องกันได้ทั้ง ความร้อน ความชื้น และ เสียงรบกวน ต้านทานความร้อนได้ถึง 1,000 องศาเซลเซียส ไม่เป็นเชื้อไฟ ถูกออกแบบมาเพื่อง่ายต่อการติดตั้ง ไม่เป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัย ข้อเสียคือค่าใช้จ่ายที่สูงพอสมควร แต่เมื่อเทียบกับคุณภาพที่ได้รับในระยะยาว มีแต่คำว่า คุ้ม กับ คุ้ม
4.ฉนวนกันร้อนใยแก้ว
“ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว” เป็นแผ่นกันความร้อนที่ติดตั้งได้ในผนังห้องและฝ้าเพดาน เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่เราอยากแนะนำ เนื่องจากเป็นอีกตัว Top ของฉนวนที่มีคุณสมบัติรอบด้าน ป้องกันเสียง ป้องกันความร้อน ป้องกันไฟ ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ฉนวนกันความร้อนไมโครไฟเบอร์” เป็นฉนวนอีกชนิดที่มีราคาค่อนข้างสบายกระเป๋า เมื่อเทียบกับฉนวนใยหินที่กล่าวไปก่อนหน้า
แบรนด์ของฉนวนที่เราแนะนำก็จะเป็นแผ่นกันความร้อนจาก SCG หรือที่ช่างเรียกกันติดปากว่า “ตราช้าง” โดยเฉพาะรุ่น FRK ฉนวนสีเขียวดูโดดเด่น ที่สามารถป้องกันความร้อนได้เป็นอย่างดี สินค้ายอดขายอันดับ 1 ของ UDWASSADU ข้อดีเป็นไปตามที่เรากล่าวไปก่อนหน้านี้ แต่มีข้อเสียอยู่เพียงนิดเดียว คือการป้องกันความชื้นเพียงเท่านั้น ที่จะต้องคอยตรวจสอบเป็นพิเศษ
5.แผ่นยิปซั่มกันความร้อน
แม้จะไม่ได้เป็นฉนวนกันความร้อนโดยตรง แต่เราก็อยากจะนำแผ่นยิปซั่มกันความร้อน เข้ามาติดอันดับด้วยเช่นเดียวกัน สำหรับบ้านที่ต้องการบุผนังด้วยแผ่นยิปซัม แต่ไม่มีพื้นที่ว่างสำหรับการติดตั้งฉนวนกันความร้อน หรืออาจต้องการป้องกันความร้อนด้วยราคาที่ประหยัดที่สุด แผ่นยิปซั่มชนิดนี้ถือว่าตอบโจทย์เลยทีเดียว กันความร้อนได้ดีพอสมควร ด้วยฉนวนอะลูมิเนียมฟอยล์ที่ติดอยู่ด้านหลัง คุณสมบัติโดยรวมถือว่าด้อยกว่าฉนวนชนิดอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด ทั้งการไม่กันเสียง ไม่กันความชื้น ความทนทานที่น้อย เป็นต้น
6.ฉนวนกันความร้อนพีอี
ฉนวนกันความร้อน PE ผลิตจาก Polyethylene นิยมเอาแผ่นกันความร้อนชนิดนี้ติดใต้หลังคา ด้วยรูปร่างที่เป็นแผ่นบาง ความสามารถทางด้านการกันความร้อน ต้องบอกว่าดีในระดับหนึ่ง แม้จะไม่ใช่ฉนวนที่ดีที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ฉนวนที่แย่ที่สุด พร้อมกับราคาที่ถูก ป้องกันความชื้นจากการรั่วซึมได้เป็นอย่างดี แต่ข้อเสียหลัก ๆ คือ ไม่กันเสียง เป็นเชื้อไฟ และอายุการใช้งานที่สั้น อยู่ที่ราว ๆ 3-5 ปีเพียงเท่านั้น
7.ฉนวนกันความร้อนพียู
อีกหนึ่งฉนวนกันความร้อนที่นิยมใช้บนฝ้าเพดาน เนื่องจากมาในลักษณะของโฟมที่จะต้องฉีดพ่น ลักษณะคล้าย ๆ วิปครีมที่อยู่บนขนมหวานที่เราคุ้นตา หลังจากฉีดพ่นจะแข็งตัวเป็นโฟมสีเหลือง มีความหนาวมากกว่าฉนวนแบบ PE ทำให้ความสามารถด้านฉนวนทำได้ดีกว่า ด้วยราคาที่แพงกว่าเล็กน้อย รวมไปถึงการติดตั้งที่จะต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะ ข้อเสียคือหากผู้ติดตั้งไม่มีความชำนาญมากพอ อาจมีช่องว่างซึ่งเป็นทางผ่านของความร้อนในบางจุดได้
8.ฉนวนกันความร้อนพีเอส
ฉนวนกันความร้อนแบบ PS หรือ “ฉนวนพอลิสไตรีนโฟม” ลักษณะทางกายภาพค่อนข้างคล้ายกับฉนวนแบบโฟม PE และ PU แต่มีความสามารถด้านฉนวนที่ดีกว่าทั้งคู่ เป็นแผ่นกันความร้อนหลังคาบ้านที่กำลังเป็นที่นิยมในเวลานี้ ต้านทานไฟได้พอสมควร กันความร้อนได้ดีเป็นพิเศษ แต่ความทนทานค่อนข้างต่ำ มีน้ำหนักเบาสามารถติดตั้งได้ง่าย มีให้เลือกใช้งานหลากหลายรูปแบบ มีทั้งแบบฉนวนเปล่า ๆ และแบบที่ติดตั้งมากับแผ่นผนังแล้ว
9.ฉนวนเชลลูโลส
ฉนวนกันความร้อนชนิดสุดท้ายที่เราอยากแนะนำคือ “ฉนวนเซลลูโลส” เป็นฉนวนที่นำมาจากการรีไซเคิลกระดาษ ใช้แล้ว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแน่นอน 100% เป็นฉนวนแบบฉีดพ่น นิยมฉีดหลังจากการสร้างหลังคาเสร็จเรียบร้อยแล้ว คล้าย ๆ กับ ฉนวนโฟมแบบ PU เป็นอีกหนึ่งฉนวนคุณภาพเยี่ยม ป้องกันทั้งเสียงและความร้อนได้เป็นอย่างดี แม้จะขึ้นชื่อว่าผลิตมาจากกระดาษ แต่ก็มีการผสมสารเคมีที่ทำให้สามารถทนได้ทั้งไฟ และ ความชื้น ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ข้อเสียคือน้ำหนัก เนื่องจากมีความหนาแน่นมากที่สุดในฉนวนทุกชนิด
วิธีเลือก แผ่นกันความร้อน แบบไหนที่เหมาะสมกับคุณ
หลังจากทราบประเภทของแผ่นกันความร้อนเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่คุณควรจะต้องรู้ต่อมาคือ วิธีการเลือกแผ่นกันความร้อนให้เหมาะสมกับการใช้งานของคุณ เพื่อให้คุณได้แผ่นกันความร้อนในประเภทที่คุณต้องการและตอบสนองการใช้งานมากที่สุด
1.เลือกตามงบ
งบประมาณคือหนึ่งในหัวใจหลักการทำงาน โดยหากพิจารณาตามงบที่มี ใครที่เป็นสายประหยัด เราขอแนะนำ แผ่นยิปซัมกันความร้อน เป็นคำตอบที่ดีที่สุด เนื่องจากเป็นแผ่นที่ช่วยกันความร้อนได้ในระดับนึง แต่ถ้าหากใครมีงบประมาณเพิ่มขึ้นอีกนิด เราขอแนะนำ ฉนวนใยแก้ว ตราช้าง ที่ช่วยป้องกันความร้อนได้ดี แถมช่วยป้องกันเรื่องเสียงรบกวนอีกด้วย
2.เลือกจากวัสดุที่ใช้
สำหรับวัสดุที่ใช้เป็นหนึ่งปัจจัยที่หลายคนเลือกติดแผ่นกันความร้อน โดยวัสดุที่หลายคนนิยมใช้คือ ฉนวนใยแก้ว, ฉนวนใยหิน และ ฉนวนยางดำ ซึ่งวัสดุแต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน อาทิ ฉนวนยางดำ สามารถนำมาใช้ได้มากมายอย่างท่อแอร์ หรือ ฉนวนใยหิน มีคุณสมบัติป้องกันความชื้น เป็นต้น
3.เลือกจากอายุการใช้งาน
สุดท้ายในวิธีการเลือกแผ่นกันความร้อน คือ การเลือกจากอายุการใช้งาน เนื่องจากการติดตั้งแผ่นกันความร้อนหนึ่งครั้งการแก้ไขทำได้ยาก ดังนั้นจึงควรเลือกแผ่นกันความร้อนที่มีอายุการใช้งานที่นาน โดยแผ่นกันความร้อนที่มีอายุการใช้งานนานสุดคือ ฉนวนใยแก้ว ซึ่งมีอายุการใช้งานนานถึง 20-30 ปี
สรุป
หลังอ่านบทความมาถึงจุดนี้ เรามั่นใจว่าคุณคงจะรู้แล้วว่า ความต้องการของคุณนั้น อยากได้แผ่นกันความร้อนแบบไหน ฉนวนกันความร้อน กันแน่ ฉนวนกันความร้อนที่ดีที่สุด นอกจากจะมีคุณสมบัติกันความร้อนได้ดีแล้ว ยังต้องเหมาะสมกับบ้านหลังนั้น ๆ อีกด้วย เพราะนอกจากความร้อน ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องนึกถึง ไม่ว่าจะเป็น คุณสมบัติกันเสียง ป้องกันความชื้น การติดตั้ง ไปจนถึงงบประมาณ สุดท้ายนี้ถ้าคุณกำลังมองหาผู้จำหน่ายแผ่นกันความร้อน ที่มอบให้คุณได้ทั้งสินค้าคุณภาพดี พร้อมด้วยราคาที่คุ้มค่า UDWASSADU พร้อมเป็นตัวเลือกให้กับคุณ สนใจติดต่อได้ทันทีผ่าน LINE : @udirons