ปัญหาเรื่องของเสียง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเสียงที่เกิดขึ้นจากภายในห้องที่ดังจนล้นออกไป ดังจอแจจนไม่รู้ว่าพูดอะไร หรือเสียงที่ดังเข้ามาจนสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่อยู่ในห้อง ต่างก็เป็นปัญหาที่ต้องหาทางแก้ไข ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการป้องกันเสียงหรือซับเสียง แต่สรุปแล้ว เราต้องทำ ห้องเก็บเสียง หรือห้องกันเสียงกันล่ะ แล้ว 2 อย่างนี้แตกต่างกันอย่างไร และมีอะไรบ้างที่ควรรู้ เรามาหาคำตอบกันในบทความนี้กันเลย
ห้องเก็บเสียง คืออะไร
ห้องเก็บเสียง คือ ห้องที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อกันไม่ให้เสียงของแหล่งกำเนิดเสียงที่อยู่ภายในห้อง ส่งเสียงดังทะลุผ่านออกมานอกห้อง หรือมีเสียงดังผ่านผนังห้องออกมาให้น้อยที่สุด ซึ่งมักจะใช้วัสดุซับเสียงกับวัสดุกันเสียงในการสร้างขึ้นมา โดยห้องเก็บเสียงนั้น จะมีทั้งแบบทึบที่ไม่มีระบบระบายอากาศเลย และแบบที่เปิดเป็นบางส่วน เพื่อให้มีการระบายความร้อน หรือหมุนเวียนเปลี่ยนถ่ายของอากาศภายในห้อง
ยกตัวอย่างการวิธีทำ ห้องเก็บเสียง
1.เลือกวัสดุกั้นห้องที่ช่วยเก็บเสียง อาทิ ฉนวนใยหิน เนื้อวัสดุติดตั้งง่าย ทนความร้อนสูง ติดได้ทั้งพื้นคอนกรีตและพื้นไม้ขนาดใหญ่
2.อุดรอยช่องโหว่ของผนังและพื้น สามารถใช้แผ่นยางกั้นประตู กั้นเพื่อลดโหว่ของพื้นกับผนัง หรือหาแป้งโป๊มาปิดช่องโหว่ดังกล่าว
3.ใช้ฟองน้ำเพื่อซับเสียง สำหรับวิธีนี้เป็นวิธียอดนิยมที่หลายบ้านใช้กัน โดยใช้แผ่นฟองน้ำเก็บเสียงมาติดตั้งบริเวณผนังห้อง การทำแบบนี้ช่วยให้เก็บเสียงทั้งข้างในและข้างนอกห้องด้วย
4.พรมปูพื้น โดยพรมปูพื้นถือเป็นหนึ่งนวัตกรรมที่ช่วยลดเสียงสะท้อนจากทั้งด้านในและภายนอกห้อง ซึ่งพรมที่นิยมได้แก่ พรมอัดชนิดลูกฟูก เป็นต้น
5.เปลี่ยนหน้าต่าง หน้าต่างที่กันเสียงได้ดี ได้แก่ หน้าต่างแบบกระทุ้ง ที่มีความหนาเป็นจุดเด่น หน้าต่างแบบเลื่อน ที่ช่วยลดเสียงจากภายนอกได้ดีขึ้น เป็นต้น
ประเภทของห้องเก็บเสียงที่เจอได้บ่อย
สำหรับประเภทของห้องเก็บเสียงที่เจอได้บ่อย นอกจากห้องเก็บเสียงในห้องประชุม ห้องอัดเพลง หรือห้องโฮมเธียเตอร์ แล้ว ยังมีอีกหลายอุตสาหกรรมที่ต้องการเก็บเสียงให้อยู่ภายในห้อง อาทิ อุตสาหกรรมที่มีการใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า, เครื่องเติมอากาศ ไปจนถึงเครื่องบดพลาสติก โดยแต่ละอุตสาหกรรมมีการเก็บเสียงดังนี้
- ห้องเก็บเสียงโฮมเธียเตอร์
- ห้องเก็บเสียงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
- ห้องเก็บเสียงเครื่องเติมอากาศ
- ห้องเก็บเสียงเครื่องอัดแอมโมเนีย
- ห้องเก็บเสียงเครื่องบดพลาสติก
ห้องเก็บเสียงโฮมเธียเตอร์
ห้องเก็บเสียงโฮมเธียเตอรนี้ จะมีหน้าที่หลักอย่างน้อยสองประการ อย่างแรกคือต้องทำให้เสียงภายในห้องกลมกล่อมหรือมีเสียงที่ก่อให้เกิดความสุข ขณะที่มีการใช้งานในห้องห้องนั้น อย่างที่สองคือระดับเสียงภายนอกห้องจะต้องไม่รบกวนผู้ที่อยู่นอกห้อง หรือผู้ที่ไม่ต้องการได้ยินเสียงภายในห้องนั้นขณะที่มีการใช้งาน ซึ่งข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นสำหรับห้องเก็บเสียงแบบนี้ คือเจ้าของห้อง ไม่ก็ผู้ออกแบบบางคนมักละเลย หรือไม่ได้คิดถึงความดังของเสียงที่จะทะลุผ่านออกมาด้านนอก และไปสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้แก่เพื่อนบ้าน และสมาชิกภายในบ้านที่ต้องการความเงียบนั่นเอง
ห้องเก็บเสียงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือเครื่องปั่นไฟจะส่งเสียงดังเกินกว่า 85 dBA เมื่อมีการทำงาน ซึ่งในบางกรณีก็จะสามารถวัดระดับเสียงเฉลี่ยได้เกินกว่า 100 dBA กรณีที่เครื่องปั่นไฟอยู่ใกล้แหล่งชุมชน หรือมีระดับเสียงดังรบกวนมาก ห้องเก็บเสียงพร้อมระบบระบายอากาศที่ดีก็ยิ่งจำเป็นเช่นกัน
โดยข้อกำหนดทั่วไปของห้องเก็บเสียงแบบนี้ คือระดับเสียงภายในห้องไม่ควรเกิน 85 dBA เมื่อเครื่องทำงาน และระดับเสียงภายนอกห้องไม่ควรเกิน 70 dBA หรือ 10 dBA จากระดับเสียงพื้นฐาน ขณะไม่มีการรบกวน
ห้องเก็บเสียงเครื่องเติมอากาศ
ปัญหาของห้องเก็บเสียงเครื่องเติมอากาศที่พบกันคือ ความร้อนสะสมภายในห้องที่สูงขึ้นมาก จนทำให้อุณหภูมิน้ำมันพุ่งสูงขึ้นจนแทบไม่มีความเป็นน้ำมันเหลืออยู่ การออกแบบห้องเก็บเสียงสำหรับเครื่องเติมอากาศ (โดยเฉพาะเครื่องขนาดใหญ่ที่อยู่ในห้องเล็ก) จึงต้องให้ความสำคัญของการคำนวณระดับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นภายในห้อง ให้มีความสำคัญไม่น้อยกว่าการคำนวณเรื่องระดับเสียงที่ต้องการให้ลดลง เพราะบางกรณี เราจะพบว่าเครื่องเติมอากาศมีการทำงานตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน ไม่น้อยกว่า 26 วันต่อเดือน
ห้องเก็บเสียงเครื่องอัดแอมโมเนีย
เครื่องอัดแอมโมเนียจะมีทั้งเสียง และความร้อนเกิดขึ้นพร้อมกันขณะที่เครื่องมีการทำงาน บางครั้งสามารถใช้แจ็คเก็ตลดเสียง (Acoustical Jackets) เพื่อลดเสียงได้ แต่อาจจะได้ผลในการลดเสียงไม่เท่ากับการสร้างห้องเก็บเสียง ที่ต้องคำนึงถึงตอนออกแบบห้องเก็บเสียงสำหรับ Ammonia Compressors ในเรื่องของความสะดวกในการซ่อมบำรุงเครื่องประจำปี เนื่องจากจะต้องมีการรื้อถอด และใช้เครนยกบางชิ้นส่วนของเครื่องออกมา
ดังนั้นห้องเก็บเสียงจึงควรเป็นแบบถอดได้ทุกด้านโดยเฉพาะด้านบน และสามารถประกอบกลับได้เหมือนเดิม ยกเว้นการต่อเติมห้องที่ไม่ต้องการผนังกันเสียงแบบถอดได้ เพราะไม่มีการใช้เครนในการซ่อมบำรุง
ห้องเก็บเสียงเครื่องบดย่อยพลาสติก
ห้องเก็บเสียงเครื่องบดย่อยพลาสติก จะนิยมสร้างด้วยวัสดุประเภทใหญ่ หนา หนัก เนื่องจากเป็นเสียงกระแทกแบบต่อเนื่องขณะที่เครื่องย่อยทำงาน ประสิทธิภาพของห้องเก็บเสียงเครื่องย่อยควรมีค่า STC (Sound Transmission Class) ไม่น้อยกว่า STC60
สำหรับห้องเก็บเสียงที่จำเป็นต้องมีพนักงานอยู่ภายในห้องด้วย (Manual Load) จะต้องออกแบบและก่อสร้างให้มีระบบซับเสียงอยู่ภายใน เพื่อลดระดับความดังเสียงภายในห้อง ที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบการได้ยินของพนักงาน ขณะที่เครื่องทำการบดย่อยชิ้นงานต่าง ๆ อยู่
ห้องกันเสียง คืออะไร
ห้องกันเสียง คือห้องที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันเสียงที่เข้ามาจากภายนอกเข้าสู่ภายในห้อง โดยการสร้างห้องกันเสียงควรเริ่มต้นตั้งแต่ การคำนวณสัดส่วนของห้องที่เหมาะสม เพื่อลดปัญหาเสียงประเภทเสียงเบสเข้ามารบกวนในห้อง ไปจนถึงการออกแบบเพื่อกันเสียงเข้ามารบกวน
การออกแบบห้องกันเสียง
การออกแบบห้องกันเสียง เริ่มต้นจากการสร้างกรอบของห้องให้สามารถกันเสียงได้ โดยกรอบของห้องคือ ฝ้าเพดาน, ประตู, ผนัง, หน้าต่าง โดยสิ่งที่ควรเน้นพิเศษเพื่อป้องกันเสียงเข้ามาในห้องคือ ผนังและฝ้า ซึ่งการกันเสียงทำได้ด้วย การติดตั้ง ฉนวนใยแก้ว ฉนวนใยหิน ที่มีความหนาตั้งแต่ 2 นิ้วขึ้นไป เพียงเท่านี้ก็ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสียงมารบกวนได้แล้ว
โดยการ ติดตั้งฉนวนใยแก้ว สามารถทำได้หลายวิธี ตั้งแต่ ติดตั้งที่ฝ้าเพดาน ไปจนถึงการฉาบไปกับผนัง แต่วิธีที่ช่วยป้องกันเรื่องเสียงที่ดีที่สุดคือ การติดตั้งฉนวนใยแก้วบริเวณผนัง โดยปกติแล้วผนังจะก่ออิฐมอญฉาบปูน 2 ด้าน แต่ไม่เพียงพอต่อการกันเสียง ดังนั้นจึงต้องใช้ฉนวนใยแก้ว ความหนา 2 นิ้วขึ้นไป กรุกับผนังปูนเดิม แล้วปิดทับด้วยไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ด เพียงเท่านี้ก็ช่วยแก้ไขปัญหาเสียงรบกวนแล้ว
ความแตกต่างระหว่าง ห้องเก็บเสียง กับ ห้องกันเสียง
โดยพื้นฐานแล้ว หน้าที่กับวัตถุประสงค์ของห้องเก็บเสียง และห้องกันเสียงนั้นแตกต่างกัน ซึ่งจะสรุปได้ ดังนี้
ห้องเก็บเสียง
เหมาะสำหรับคนที่ต้องการสร้างห้องคาราโอเกะ ห้องโฮมเธียเตอร์ ห้องสำหรับอัดเสียง เล่นดนตรี หรือห้องประชุม ที่ต้องการลดเสียงก้อง เสียงสะท้อน รวมไปถึงไม่ต้องการให้เสียงจากภายในห้อง ทะลุออกมายังภายนอก หรือออกมาให้น้อยที่สุด ซึ่งจะติดตั้งผนังดูดซับเสียง หรือวัสดุซับเสียง ซึ่งมีคุณสมบัติเพื่อลดเสียงก้อง และเสียงสะท้อนภายในห้องที่อาจรบกวนการพูดคุย หรือดูหนังฟังเพลง ผสมเข้ากันกับผนังกั้นเสียง หรือวัสดุกันเสียง ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เสียงทะลุผ่านออกไป และเข้ามานั่นเอง
ห้องกันเสียง
เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาเสียงดังจากห้องข้าง ๆ ภายในบ้าน หรือดังมาจากเพื่อนบ้าน แม้กระทั่งเสียงของคุณเอง ที่อาจไปรบกวนเพื่อนบ้าน รวมไปถึงเสียงรบกวนจากภายนอกอื่น ๆ ที่อาจเข้ามาทำลายสมาธิในการทำงาน ซึ่งจะติดตั้งผนังกั้นเสียง หรือวัสดุกันเสียง ที่มีคุณสมบัติเพื่อกันเสียงไม่ให้ทะลุจากห้อง และกันเสียงจากภายในไม่ให้ออกไป รวมไปถึงกันเสียงจากภายนอกไม่ให้เข้ามา ช่วยลดการส่งผ่านของเสียงระหว่างห้อง โดยติดตั้งตรงช่องว่างของโครงคร่าวระหว่างผนัง 2 ชั้น
สรุป
โดยสรุปแล้ว หากใครที่ต้องการไม่ให้เสียงภายในห้องหลุดรอดออกไป รวมไปถึงต้องการไม่ให้เกิดเสียงสะท้อนที่ดัง จนไม่สามารถพูดคุยกันได้ภายในห้อง ห้องเก็บเสียงคือสิ่งที่ตอบโจทย์ที่คุณกำลังมองหา แต่หากใครก็ตามที่ไม่ต้องการให้เสียงจากภายนอก ดังรบกวนเข้ามาทำลายสมาธิ หรือการนอนหลับพักผ่อนของเราแทนแล้วล่ะก็ ห้องกันเสียง ก็จะตอบโจทย์ในส่วนดังกล่าวนั่นเอง
ซึ่งหากใครที่กำลังมองหาวัสดุกันเสียงประเภทฉนวนใยแก้วอยู่ล่ะก็ UDWASSADU ก็มีสินค้า ฉนวนใยแก้ว ฉนวนใยหิน แบรนด์ Rockwool วางจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็นความหนาแบบ 80K หนา 1 นิ้ว และแบบ 80K หนา 2 นิ้วให้ได้เลือกสรร ติดต่อได้ที่ Line ID : @udirons หรือ โทร : 084-326-6454 ทางเราพร้อมให้บริการคุณอย่างแน่นอน