ซ่อมหลังคารั่ว ปัญหาหลังคารั่วในหน้าฝน เป็นเรื่องที่น่าปวดใจของหลาย ๆ บ้านที่ต้องประสบ เพราะการที่หลังคารั่วนั้น แปลว่าจะทำให้มีน้ำไหลซึมเข้ามาในบ้าน ส่งผลเสียต่อทั้งบนฝ้าของบ้านที่อาจมีคราบเชื้อรา จนอาจผุพังหล่นตกลงมาได้ รวมไปถึงอาจทำให้ระบบไฟฟ้าในบ้านลัดวงจร และส่งผลทำให้โครงสร้างบ้านเสื่อมสภาพ และยังส่งผลเสียต่อเครื่องเรือน กับข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่อาจพังเสียหายได้อีกด้วย มาดูกันว่าสาเหตุที่หลังคารั่วมีอะไรบ้าง และจะต้องแก้ไขอย่างไรให้ถูกจุด ไม่ให้กลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ต้องมานั่งแก้ไขอยู่เรื่อย ๆ ต่อไป
11 วิธี ซ่อมหลังคารั่ว ที่ต้นเหตุ หมดปัญหาหลังคารั่ว
1.รอยผุหรือร้าวบนหลังคา อันเป็นเหตุให้หลังคารั่ว
รอยผุร้าวเหล่านี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นได้จากอายุการใช้งานของหลังคา ซึ่งหากรอยร้าวเหล่านั้นมีไม่มาก เจ้าของบ้านสามารถปิดทับรอยเหล่านั้นได้ด้วยกาวยาแนวซิลิโคน กาวอะคริลิค และเทปกันซึม ซึ่งเป็นวัสดุที่ช่วยในการช่วยปิดรอยร้าวบนแผ่นกระเบื้อง เพื่อเป็นการรักษาอาการหลังคารั่วแบบเบื้องต้น กลับกันถ้ากระเบื้องแผ่นนั้นแตกร้าวเสียหายมาก ก็ควรเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาแผ่นใหม่จะดีกว่า
2.อุปกรณ์ยึดหลังคาเป็นสาเหตุของอาการรั่ว
ถ้าหากอุปกรณ์ยึดหลังคาเป็นสาเหตุของอาการรั่ว ให้สังเกตว่าน็อตที่ใช้ยึดหลังคานั้นยังปกติดี ไม่มีสนิม ยางไม่เสื่อมสภาพหรือไม่ และควรสังเกตด้วยว่า น็อตหรือสกรูที่ขันไว้นั้นหลวมหรือแน่นเกินไปไหม เพราะถ้าหากหลวมเกินไป ก็จะทำให้น้ำซึมผ่านได้ แต่ถ้าขันสกรูแน่นเกินไป ก็อาจทำให้กระเบื้องเสี่ยงที่จะเกิดการแตกร้าว และจะทำให้น้ำสามารถรั่วซึมเข้ามาจากหลังคาได้เช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้ต้องเปลี่ยนแผ่นกระเบื้องใหม่ แต่หากชุดสกรูยึดหลังคาเสื่อมสภาพ เจ้าของบ้านควรเปลี่ยนชุดสกรูใหม่แทน
3.บริเวณครอบสันหลังคาเป็นเหตุให้หลังคารั่ว
หากบริเวณครอบสันหลังคาเป็นเหตุให้หลังคารั่ว ให้ใช้อะไรปิดสันหลังคาที่มีช่องโหว่หรือแตก โดยขึ้นอยู่กับว่าที่แห่งนั้นใช้วิธีครอบสันหลังคาแบบใด
- ระบบการครอบหลังคาแบบเปียก
หากเป็นการครอบหลังคาแบบเปียก ก็ให้ถอดตัวครอบสันหลังคาที่มีปัญหา และกะเทาะปูนเก่าออกไป จากนั้นให้ปั้นปูนเข้าไปประกบครอบหลังคาใหม่ในปริมาณที่พอเหมาะ แล้วใช้ปูนอุดรูระหว่างตัวครอบกับแผ่นหลังคาให้สนิท
- ระบบการครอบหลังคาแบบแห้ง
หากเป็นการครอบหลังคาแบบแห้ง ก็ให้ถอดตัวครอบสันหลังคาที่มีปัญหา และตรวจสอบแผ่นรองหลังคาว่าหลุดร่อนหรือไม่ ซึ่งถ้าหากมีปัญหา ก็จำเป็นจะต้องรื้อปิดใหม่เพื่อป้องกันเหตุหลังคารั่ว
4.การอุดตันหรือแตกร้าวของรางน้ำตะเข้ จนเป็นสาเหตุของหลังคารั่ว
การทำให้รางน้ำตะเข้ที่เป็นส่วนระบายน้ำฝนปราศจากเศษวัสดุหรือขยะต่าง ๆ ที่ขวางทางน้ำ จะช่วยให้ระบายน้ำฝนที่ตกลงมาได้ดีขึ้น แต่หากมีรอยรั่วเกิดขึ้นบริเวณรางน้ำตะเข้ ให้แก้ในเบื้องต้นด้วยวัสดุกันซึมเพื่อเป็นการป้องกันไปก่อน แล้วจึงติดต่อช่าง ซ่อมหลังคารั่ว มาเปลี่ยนรางน้ำตะเข้ที่มีปัญหาโดยเร็วที่สุด เพราะรางน้ำตะเข้คือจุดที่รับน้ำหนักของน้ำฝนที่ตกลงมามากที่สุด ทำให้วัสดุกันซึมไม่สามารถชะลอปัญหาที่เกิดขึ้นได้นานนัก
5.หลังคาเปิดเผยอจนเป็นสาเหตุของหลังคารั่ว
หากหลังคานั้นเปิดเผยอจนกลายเป็นสาเหตุของการรั่วบนหลังคา เจ้าของบ้านสามารถขึ้นไปจัดกระเบื้องหลังคาที่เปิดเผยอให้กลับเข้าที่ให้เรียบร้อย แล้วจึงยึดกระเบื้องหลังคาให้แน่นขึ้นด้วยปูน กาวยึด หรือสกรู แต่หากกระเบื้องหลังคาถูกรั้งด้วยสายสลิง เจ้าของบ้านก็ควรที่จะเปลี่ยนจุดขึงสลิงใหม่ หรือเปลี่ยนไปยึดเสากับผนังบ้านแทนเพื่อแก้ปัญหา
6.การใช้กาวยาแนวซิลิโคนในการซ่อมรั่วหลังคา
วิธีนี้เป็นวิธียอดนิยมอีกวิธีหนึ่ง เนื่องจากง่ายและสะดวกที่สุด แต่เพราะกาวยาแนวซิลิโคนไม่ใช่วัสดุที่คงทนถาวร ซึ่งอยู่ได้ในช่วงสั้น ๆ ประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปีเท่านั้น ทำให้กาวยาแนวซิลิโคนที่ซีลลงไป เมื่อเริ่มเสื่อมสภาพก็จะไปอุดขวางทางน้ำระหว่างกระเบื้องแต่ละแผ่นแทน ทำให้เสี่ยงรั่วง่ายมากกว่าเดิม โดยหากต้องการจะแก้ไข ตัวกาวยาแนวซิลิโคนที่ใช้อุดรอยรั่วไปก่อนหน้าจะทำให้การแกะ ถอด รื้อกระเบื้องยุ่งยากขึ้น ใช้เวลามาก และมีค่าใช้จ่ายมากกว่าที่ควรจะเป็น
7.ลดปัญหาหลังคารั่วด้วยการติดตั้งฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อน หนึ่งในอุปกรณ์ที่ช่วยลดปัญหาได้หลากหลาย ทั้งลดอุณหภูมิที่ร้อน ผ่านการดูดซับความร้อน ไปจนถึงการป้องกันไฟ ด้วยด้วยคุณสมบัติของวัสดุที่ช่วยกันไฟ ไม่ลามไฟ ซึ่งเป็นหนึ่งวิธีที่ช่วยยืดอายุการใช้งานของตัวหลังคาไม่ให้รั่วซึมเร็ว
สำหรับการเลือกติดตั้งใต้แผ่นหลังคาที่เหมาะสม คือ ฉนวนใยแก้วแบบแผ่น ฉนวนใยแก้วแบบม้วน และ ฉนวนชนิดฉีดพ่น พอลิยูรีเทนโฟมและเยื่อกระดาษ ทำหน้าที่หน่วงความร้อน ไม่ให้เข้าสู่ใต้หลังคา ฉนวนแบบนี้ต้องติดตั้งไปพร้อมๆ กับสร้างหลังคาตั้งแต่สร้างบ้าน ในเมืองไทยยังไม่เป็นที่นิยม แต่ทว่า การติดตั้งใต้แผ่นหลังคา ก็สามารถกันความร้อนได้ดีที่สุด
8.การโปะปูนเพิ่มเข้าไปเพื่ออุดจุดรั่วหลังคา
ความเชื่อที่ว่ายิ่งโปะปูนหนามากแค่ไหน น้ำจะไม่มีวันไหลเข้าหลังคาได้มากขึ้นเท่านั้น เป็นความเชื่อที่หลายคนมักจะเข้าใจผิด เพราะว่าความจริงแล้ว ยิ่งโปะปูนหนาเท่าไหร่ นอกจากจะเป็นการแก้ปัญหาที่ผิดวิธีแล้ว ปูนที่อุดโปะเข้าไปจะเป็นตัวพาน้ำให้เข้าไปรั่วได้ง่ายขึ้นด้วย เนื่องจากปูนเมื่อแห้งสนิทแล้วมักจะแตกร้าว ทั้งยังดูดน้ำ อุ้มน้ำ ส่งผลให้หลังคารั่วซ้ำซากแก้ยังไงก็ไม่หายจริงสักที
9.การซีลหัวสกรูเพื่อซ่อมรูรั่วบนหลังคา
อาการรั่วแบบนี้ มักมีสาเหตุมาจากอุปกรณ์ยึดหลังคาแต่เดิมนั้นเสื่อมสภาพ หรือช่างที่เป็นผู้ติดตั้งนั้นติดตั้งไม่สนิท ยึดไม่ตรง สกรูเอียง จึงทำให้เกิดปัญหาการรั่วซึมของหลังคาขึ้น และมักจะใช้การซีลหัวสกรูเพื่อซ่อมรูรั่วบนหลังคากันเป็นหลัก จากการที่วิธีดังกล่าวนี้ง่ายและมีราคาถูก ซึ่งตามความจริงแล้ว มันเป็นการแก้ไขชั่วคราวเพียงเท่านั้น ซึ่งจะเสื่อมสภาพในช่วง 6 เดือน ถึง 1 ปี เพราะวัสดุที่ซีลนั้นมีอายุสั้น เสื่อมสภาพง่าย และมีโอกาสรั่วได้ซ้ำ ๆ ทั้งยังอันตรายหากไม่ระวังในการขึ้นทำงานกับกระเบื้องหลังคาประเภทนี้
10.การทาซีเมนต์ทากันรั่วซึมในการซ่อมรั่วหลังคา
ปัญหาการซ่อมด้วยการทาซีเมนต์ทากันรั่วซึม จะเหมือนวิธีใช้กาวยาแนวซิลิโคน คือ เมื่อวัสดุเริ่มเสื่อมสภาพแทนที่จะเป็นตัวช่วยป้องกัน แต่กลับกลายเป็นตัวเร่งให้รั่วง่ายและมากกว่าเดิม เนื่องจากน้ำยาไปอุดขวางทางน้ำระหว่างกระเบื้องแต่ละแผ่นแทน จากเดิมที่อาจรั่วเพียงไม่กี่จุด หลังจากทาน้ำยากันซึมมักพบว่าหลังคารั่วทั้งผืน และเมื่อต้องการจะแก้ไข ก็จะทำให้ไม่มีทางเลือกอื่นเลย นอกจากรื้อเปลี่ยนหลังคาใหม่ ให้ถูกต้องตามมาตรฐานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
11.การฉีดโฟมใต้หลังคาเพื่อ ซ่อมหลังคารั่ว
การซ่อมแผ่นแตก ร้าว รั่วซึม ด้วยการฉีดโฟมเป็นการแก้ไขที่เข้าใจผิดว่าแก้ไขได้จริง แต่มักเป็นตรงข้าม และทำให้การทำงานแก้ไขจริงเป็นไปด้วยความยุ่งยาก ทั้งยังแฝงผลสืบเนื่องอย่างคาดไม่ถึง ปัจจุบันการแก้ไขด้วยวิธีนี้เริ่มมีความสะดวกกว่าเมื่อก่อนมาก เนื่องจากปัจจุบันมีขายเป็นกระป๋องคล้ายกระป๋องสีสเปรย์สำหรับซ่อมเป็นจุด และมีทั้งโฆษณาสาธิตการใช้งานให้ชวนเชื่อว่าสามารถแก้ไขรั่วได้จริง
จากกระบวนการดังกล่าว แผ่นหลังคาทั้งหมดรวมถึงจุดรั่วต่าง ๆ จะถูกโฟมเข้าไปแทนที่ช่องว่างรวมถึงโฟมจะดันแผ่นกระเบื้องให้ยกตัวขึ้น เกิดการอ้าเผยอ และในกรณีที่พ่นทั่วหลังคา กระเบื้องทุกแผ่นจะถูกโฟมยึดประสานไว้ด้วยกันทั้งผืนอย่างแน่นหนา เสมือนเป็นแผ่นเดียวกัน จากลักษณะดังที่กล่าวมา ทำให้มีผลสืบเนื่องคือ
- ผิวโฟมบาง ๆ มีความเสียหายง่าย และอาจไม่ได้ผสานกัน อาจมีรู มีตามดเกิดขึ้นทั่วไป โฟมส่วนที่ดันแผ่นกระเบื้อง หรือที่ดันตัวออกจากรอยร้าวหรือจุดรั่วซึมเดิม จะเป็นตัวเปิดทางให้น้ำรั่วเข้ามาได้ดีกว่าเดิม
- โฟมจะยึดประสานกระเบื้องทุกแผ่นไว้ด้วยกันทั้งผืน จะทำให้การดูแลเปลี่ยนกระเบื้องทำใด้ยากลำบากมาก ทำให้การทำงานลุกลาม จำกัดขอบเขตได้ยาก ยิ่งโฟมหนาก็จะยิ่งเสียเวลา และลุกลามมากขึ้นไปอีก
- ทำให้กระเบื้องหลังคาชำรุดแตกมากกว่าปกติ ในระยะยาวเมื่อโฟมหมดอายุ
ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ทำให้หลังคารั่ว
- มักจะเกิดจากหลังคาร้าว แตก หรือเป็นรู ก็จะทำให้น้ำรั่วซึมทะลุหลังคาเข้าที่ตัวฝ้า ส่วนใหญ่กว่าจะรู้ว่าหลังคารั่ว ก็ต่อเมื่อเห็นรอยเชื้อรากับคราบด่างที่เกิดขึ้นบนตัวฝ้า ทำให้เจ้าของบ้านนอกจากจะต้องเสียเงินค่าซ่อมหลังคาแล้ว ยังต้องเสียค่าซ่อมฝ้าอีกด้วย
- การเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ยึดเหนี่ยวต่าง ๆ เช่น น็อต ตะปู ตัวยึด ฯลฯ เนื่องจากหลังคาต้องตากแดดตากฝนเป็นเวลานาน อาจทำให้น็อตเกิดสนิม หรือเกิดอาการหลวม ทำให้การยึดติดของแผ่นหลังคามีช่องว่างจนเกิดน้ำรั่วซึมได้
- งานสถาปัตยกรรม การดีไซน์รูปทรงหลังคาที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่นออกแบบให้ความลาดเอียงของหลังคาน้อยเกินไป ทำให้เกิดปัญหาการอุดตัน ในเวลาที่ฝนตกหนักๆ ซึ่งไม่สามารถระบายน้ำได้ทันได้
- ตัวหลังคาโดนกระแทกจากของแข็งที่ร่วงเข้าใส่ หรือโดนของหนักตกลงมากระทบ ยกตัวอย่างเช่น ลมพัดเอากิ่งไม้ใหญ่มากระแทกหลังคา หรือเกิดพายุลูกเห็บ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ก็เป็นโอกาสที่จะทำให้หลังคาแตก หรือเกิดเป็นรูได้เหมือนกัน
สรุป
ซ่อมหลังคารั่ว ปัญหาหลังคารั่วนั้น หากเริ่มขึ้นแล้ว และไม่ได้จัดการอย่างถูกวิธีการ จะทำให้ปัญหาลุกลามไปเรื่อย ๆ จนทำให้สูญเสียเงินไปอย่างเปล่า ๆ เราจึงควรที่จะหาต้นตอสาเหตุของปัญหาให้ได้เร็วที่สุด เพื่อที่จะได้จัดการกับปัญหาหลังคารั่วให้ถูกจุด และทำให้โครงสร้างบ้านของเรานั้น อยู่กับเราไปได้อีกนาน แต่ทางที่ดีที่สุด คือการหมั่นตรวจเช็คสภาพของหลังคา เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีรอยรั่ว หรือถ้ามี ก็จะได้จัดการก่อนที่ปัญหานั้นจะบานปลายนั่นเอง
สำหรับใครที่สนใจแก้ไขปัญหาหลังคารั่ว ต้องการติดตั้ง ฉนวนใยแก้ว สามารถเข้าไปดูกันได้ที่ร้าน UDWASSADU หากใครต้องการรับคำปรึกษา เรื่องของคุณสมบัติฉนวนใยแก้ว ราคา ขนาด สามารถสอบถามได้ที่นี่ อย่าลืมเข้าไปดูเว็บไซต์ UDWASSADU กันนะครับ