ฉนวนใยแก้ว กันความร้อน คืออีกหนึ่งวัสดุสำหรับบ้านและอาคารในยุคใหม่ที่กำลังมาแรง ด้วยคุณสมบัติกันความร้อนและดูดซับเสียงอันยอดเยี่ยม ส่งผลให้มันแพร่หลายออกไปอย่างเป็นวงกว้าง แต่ก็มีหลาย ๆ คนที่ยังคงประสบกับปัญหาความร้อนสะสมภายในบ้านและอาคารแม้จะติดตั้งฉนวนใยแก้วไปแล้วก็ตาม จนกลายเป็นความสงสัยและไม่แน่ใจว่า สรุปแล้วฉนวนใยแก้ว กันความร้อนได้จริงหรือไม่ เราจึงจะไปหาคำตอบกันว่าสรุปแล้วปัญหานี้เกิดจากฉนวนใยแก้วจริง หรือมาจากสาเหตุอื่น ๆ กันแน่
ฉนวนใยแก้ว กันความร้อนได้จริงหรือไม่
หน้าที่หลักของฉนวนใยแก้ว กันความร้อน คือ ช่วยป้องกันความร้อนไม่ให้ผ่านเข้ามาในบ้าน โดยคุณสมบัติของตัวฉนวนจะมีค่ากันความร้อน หรือ “ค่า R” สูง (ค่า R จะมากขึ้นตามความหนาฉนวน) ซึ่งการติดตั้งฉนวนกันความร้อนจะเป็นการเพิ่มค่า R ให้กับบริเวณที่ติดตั้ง ไม่ว่าจะเป็นผืนหลังคา ฝ้าเพดาน หรือผนังก็ตาม
ยกตัวอย่างการกันความร้อนของผนังแบบต่าง ๆ
การก่อผนังในรูปแบบต่าง ๆ นั้นจะส่งผลทำให้ค่า R ที่เป็นค่ากันความร้อนนั้นแตกต่างกันไป โดยจะยกตัวอย่างการก่อผนัง 4 รูปแบบ ทั้งที่แบบไม่ใช้ฉนวนใยแก้ว กันความร้อน และที่ใช้ฉนวนใยแก้ว กันความร้อน
- ผนังก่ออิฐฉาบปูน 2 ด้าน หนา 10 เซนติเมตร มีค่ากันความร้อน (R) อยู่ที่ 0.3 ตารางเมตร-องศาเคลวินต่อวัตต์
- ผนังสมาร์ทบอร์ดหนา 8 มิลลิเมตร 2 ด้าน มีค่ากันความร้อน (R) อยู่ที่ 0.5 ตารางเมตร-องศาเคลวินต่อวัตต์
- ผนังสมาร์ทบอร์ดหนา 8 มิลลิเมตร 2 ด้าน เพิ่มฉนวนกันความร้อน มีค่ากันความร้อน (R) อยู่ที่ 2.212 ตารางเมตร-องศาเคลวินต่อวัตต์
- ผนังก่ออิฐฉาบปูน 2 ด้าน หนา 10 เซนติเมตร เสริมด้วยผนังสมาร์ทบอร์ดหนา 8 มิลลิเมตร เพิ่มฉนวนกันความร้อน มีค่ากันความร้อน (R) อยู่ที่ 2.23 ตารางเมตร-องศาเคลวินต่อวัตต์
สาเหตุที่ยังคงร้อนอยู่แม้ว่าจะติดตั้งฉนวนใยแก้ว กันความร้อนไปแล้ว
หลายบ้านที่ติดตั้งฉนวนกันความร้อนแล้ว ยังคงรู้สึกถึงความร้อนที่ผ่านเข้ามาภายในบ้านอยู่ เป็นเพราะว่า ความร้อนส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นภายในบ้าน 70 เปอร์เซ็นต์ มักเป็นความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ผ่านเข้ามาทางหลังคาบ้าน และฝ้าเพดานชั้นบน หรืออีกทางที่เข้ามาได้ง่ายผ่านผนังกระจก รวมไปถึงประตูหน้าต่างกระจก
ทั้งนี้ แสงแดดยังส่งผ่านความร้อนบางส่วนผ่านผนังทึบได้ด้วย โดยจะมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับค่ากันความร้อน หรือที่เรียกว่า “ค่า R” ของระบบผนังซึ่งแตกต่างกันไปตามชนิดของวัสดุและการติดตั้ง นอกจากนี้ การทำกิจกรรมประจำวันภายในบ้านก็ทำให้เกิดความร้อนได้ เช่น ความร้อนจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ความร้อนจากร่างกายคน เป็นต้น
สำหรับเจ้าของบ้านที่ติดตั้งฉนวนใยแก้วกันความร้อนบริเวณหลังคาหรือฝ้าเพดานแล้ว พบว่าภายในบ้านยังคงมีความร้อนอยู่ นั่นก็เนื่องมาจากยังมีความร้อนจากส่วนอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดความร้อนขึ้นในบ้าน ดังนี้
- ความร้อนจากส่วนอื่น ๆ ของบ้าน
นอกจากความร้อนจากแสงแดดที่ผ่านเข้ามาทางหลังคาและโถงหลังคา ยังมีความร้อนจากอีกหลายส่วนของบ้าน ไม่ว่าจะเป็น
- ความร้อนจากช่องแสง ประตู หน้าต่างกระจก
โดยช่องแสงหรือช่องกระจก เป็นส่วนที่มีความใส ทำให้แสงแดดสามารถส่องเข้ามาได้ พร้อมกับความร้อนที่ผ่านเข้ามาด้วย หากบริเวณนั้นแสงแดดส่องเข้ามาตรง ๆ โดยเฉพาะทิศใต้และทิศตะวันตก ความร้อนเหล่านั้นก็จะยิ่งสามารถผ่านเข้ามาได้มากเช่นกัน
- ความร้อนสะสมที่ผนัง
ความร้อนที่สะสมอยู่ในผนังจะถูกถ่ายเทเข้ามาในบ้านได้ ซึ่งจะมากน้อยขึ้นอยู่กับวัสดุและระบบผนัง เช่น ผนังอิฐมอญจะสะสมความร้อนช่วงกลางวัน และถ่ายเทเข้ามาในบ้านเราช่วงหัวค่ำจนถึงกลางคืน
- แหล่งกำเนิดความร้อนอื่น ๆ ในบ้าน
นอกจากความร้อนจากแสงแดดภายนอกแล้ว ยังมีความร้อนที่เกิดขึ้นภายในบ้านเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความร้อนจากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน รวมถึงความร้อนจากร่างกายมนุษย์
- ความร้อนจากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
ความร้อนที่แผ่ออกมาจากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ในบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ตู้เย็น เตาอบ ไมโครเวฟ เตาแก๊ส คอมพิวเตอร์ หลอดไฟ รวมถึงความร้อนจากการทำอาหาร
- ความร้อนจากร่างกายมนุษย์
เพราะร่างกายคนเรามีความร้อนเกิดขึ้น ไม่ว่าจากกระบวนการเผาผลาญอาหาร การรักษาอุณหภูมิเพื่อรักษาการทำงานของร่างกาย การออกกำลังกาย เป็นต้น เมื่อมีความร้อนส่วนเกินที่เกิดขึ้นแล้ว จึงมีการกระจายถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกาย เพื่อให้อุณหภูมิภายในร่างกายมีความสมดุลและมีสุขภาพดี
- ไม่มีการระบายอากาศที่ดี
เพราะฉนวนกันความร้อนเป็นการป้องกันความร้อนจากภายนอก แต่หากมีความร้อนเกิดขึ้น และสะสมในบ้านแล้วไม่มีการระบายอากาศที่ดี หรือการปิดบ้านไว้ทั้งวัน ก็จะกันความร้อนจากข้างในไม่ให้ออกไปด้วย
วิธีแก้ไข เพื่อให้เย็นได้อย่างยั่งยืน ไม่เกิดปัญหาในภายหลัง
แม้การติดฉนวนกันความร้อนที่หลังคา จะช่วยป้องกันความร้อนจากบริเวณดังกล่าวได้ แต่ในขณะเดียวกัน ความร้อนจากส่วนอื่น ๆ ก็ควรป้องกันด้วยวิธีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความร้อนจากผนัง โดยเฉพาะด้านที่โดนแดดแรงควรทำเป็นผนังทึบด้วยวัสดุที่มีค่า R สูง ไม่อมความร้อน และอาจติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติมด้วย
และสำหรับผนังส่วนที่จำเป็นต้องใช้กระจกใส อาจลดความร้อนโดยติดตั้งแผงบังแดดเพิ่ม หรือติดฟิล์มช่วยกันความร้อนบนกระจก นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่น ๆ ที่ช่วยลดความร้อนได้ อย่างการปลูกต้นไม้ให้ร่มเงาบังแดด หรือการเลือกใช้วัสดุที่มีค่า R สูง และไม่อมความร้อน เป็นต้น
อีกเรื่องสำคัญที่ลืมไม่ได้ คือ การจะทำบ้านในเมืองร้อนให้เย็นได้นั้น “ควรมีการระบายอากาศที่ดี” เพื่อให้ความร้อนภายในบ้านสามารถระบายออกไปนอกบ้านได้ ไม่ว่าจะเป็นประตูหน้าต่างที่เพียงพอในตำแหน่งเหมาะสม การทำช่องทางระบายอากาศ รวมไปถึงการเปิดหน้าต่างและประตูเพื่อระบายอากาศในช่วงกลางวัน
นอกจากนั้น บริเวณหลังคา ก็ควรติดตั้งฝ้าชายคาแบบมีรูระบายอากาศ หรือทำเป็นระแนงเพื่อระบายอากาศ เป็นต้น ทั้งนี้ หากบ้านติดตั้งอยู่ในบริเวณที่มีมลภาวะมาก อาจใช้อีกทางเลือกซึ่งต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วย คือ การปิดบ้านให้มิดชิด โดยติดตั้งอุปกรณ์ที่ดึงเอาอากาศจากภายนอกมาใช้ในบ้านผ่านระบบกรอง จากนั้น อากาศที่ใช้แล้วพร้อมความร้อนจะถูกปล่อยทิ้งออกไปนอกบ้านนั่นเอง
สรุป
ปัญหาความร้อนสะสมภายในบ้านและอาคารนั้นขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย การแก้ปัญหาด้วยการติดตั้งฉนวนใยแก้ว กันความร้อนเพียงอย่างเดียว จึงไม่อาจที่จะแก้ไขปัญหาความร้อนเหล่านี้ได้อย่างยั่งยืน จำเป็นจะต้องตรวจสอบให้แน่ชัดเพื่อขจัดปัญหาเหล่านั้น และหากใครที่กำลังมองหา ฉนวนใยแก้ว SCG หรือของแบรนด์อื่น ๆ อยู่ล่ะก็ อย่าลืมแวะชมเว็บไซต์ UDWASSADU ที่เต็มไปด้วยสินค้าวัสดุการช่างคุณภาพ พร้อมราคาสุดคุ้มค่าที่พ่วงมาด้วยโปรโมชั่นสุดพิเศษ มั่นใจในเรื่องของการขนส่งที่ตรงเวลา จากประสบการณ์กว่า 25 ปีของร้านเรา
REF
https://www.scghome.com/living-ideas/articles/ติดฉนวนแล้วทำไมบ้านยังร้อน-แก้ปัญหาอย่างไร