ฉนวน Aeroflex สำหรับระบบปรับอากาศแล้ว ถือเป็นตัวช่วยสำคัญในการรักษาอุณหภูมิผ่านท่อส่งสารความเย็น หรือท่อความร้อนให้ไม่ลดลงไป จึงเรียกได้ว่าเป็นอีกส่วนสำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งของตัวระบบ ที่หากเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น จะทำให้อุณหภูมิความเย็นหรือความร้อนที่ต้องการรักษาเอาไว้นั้นเกิดการสูญเสียไป และทำให้กลายเป็นปัญหาต่อได้ แต่ทำไม ฉนวนยางดำ Aeroflex จึงเข้ามามีบทบาทในส่วนนี้กันล่ะ? เราจึงจะพาไปทำความรู้จักกับฉนวน Aeroflex กันว่าคืออะไร และทำงานอย่างไรกันแน่ พร้อมทั้งวิธีการติดตั้งที่ถูกต้องเพื่อให้การทำงานของระบบนั้นไม่มีปัญหาในภายหลังอีกด้วย
ฉนวน Aeroflex ฉนวนยางดำสำหรับงานระบบปรับอากาศ
ฉนวน Aeroflex คือ ฉนวนชนิดท่อและแผ่นที่ผลิตจากยางอีลาสโตเมอร์ชนิดพิเศษ (EPDM) ประกอบไปด้วยเซลล์อิสระซึ่งมีผนังกั้นที่ไม่ทะลุถึงกันเป็นจำนวนมาก ภายในเซลล์บรรจุด้วยอากาศแห้ง และด้วยคุณลักษณะเช่นนี้ฉนวนยางดำ จึงมีคุณสมบัติเหนือกว่าฉนวนชนิดอื่น ๆ ดังนี้
- ค่าการดูดซึมน้ำและค่าการแทรกซึมของไอน้ำ หรือความชื้นจากบรรยากาศต่ำมาก
- ค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน (K- Value) ต่ำเพียง 0.038 วัตต์ต่อเมตร-เคลวิน
- มีความคงทนมากต่อโอโซน รังสีอุลตร้าไวโอเล็ต และสภาวะอากาศต่าง ๆ
- มีความยืดหยุ่นสูง สามารถโค้งงอไปตามลักษณะท่อได้ง่าย ทำให้ทำการติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว
จากคุณสมบัติดังกล่าวที่ว่ามา ทำให้ฉนวนยางดำเป็นฉนวนที่เหมาะสมอย่างยิ่ง สำหรับหุ้มท่อน้ำเย็นของเครื่องปรับอากาศแบบศูนย์กลาง (Chilled water cooling system) และหุ้มท่อแก๊สฟรีออนของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน (Split Type) เพื่อลดการสูญเสียความเย็น และป้องกันการเกิดหยดน้ำ (Condensation) อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ฉนวนยางดำยังใช้ลดการสูญเสียความร้อนสำหรับท่อน้ำร้อนได้เช่นกัน
คุณสมบัติของฉนวนยางดำ
- ป้องกันการเกิดหยดน้ำ (Condensation) โดยมีช่วงอุณหภูมิใช้งานอยู่ที่ -57 องศาเซลเซียส ไปจนถึง 125 องศาเซลเซียส
- ป้องกันการแทรกซึมของความชื้นด้วยผนังเซลล์ที่ทำจากยางสังเคราะห์ชนิดพิเศษ ทำให้ไม่ต้องทาสารเคลือบหรือหุ้มห่อด้วยวัสดุกันความชื้นอื่น ๆ
- ไม่เป็นเชื้อเพลิง และมีปริมาณควันน้อยเมื่อถูกเผาไหม้ มีส่วนผสมของสารเคมีที่ทำให้มีคุณสมบัติไฟดับได้เอง (Self-Extinguishing) ตามมาตรฐานอัคคีภัย ซึ่งไม่ก่อให้เกิดการลามของไฟ (Flame Spread) อีกด้วย
- ติดตั้งสะดวก ลดการสั่นสะเทือนและเสียงก้องในระบบท่อน้ำร้อนและน้ำเย็น เพราะมีความยืดหยุ่นสูงและมีผิวเรียบ ทำให้เป็นตัวเก็บเสียงได้ดี
- มีความคงทน ไม่เสื่อมสภาพได้ง่าย และป้องกันปัญหาอันเกิดจากมด ปลวก หรือหนู ซึ่งชอบกัดทำลายตัวฉนวนหุ้ม ทั้งยังคงทนต่อสารเคมีต่าง ๆ โดยเฉพาะกรดและด่าง ช่วยป้องกันการกัดกร่อนของท่อโลหะในแหล่งอุตสาหกรรมบริเวณใกล้ทะเลได้เป็นอย่างดี
ฉนวนยางดำของ Aeroflex เหมาะกับงานแบบไหนบ้างในระบบปรับอากาศ
-
หุ้มท่อน้ำเย็น
ฉนวนยางดำเหมาะกับงานท่อน้ำเย็นเพราะมีค่าการนำความร้อนที่ต่ำ (ต่ำกว่าฉนวนชนิดเส้นใย) และมีค่าการซึมน้ำต่ำทำให้ท่อน้ำเย็นเกิดสนิมยาก ฉนวนยางดำมีการผลิตออกมาในรูปของท่อสำเร็จรูปสามารถสวมเข้ากับท่อเหล็กหรือท่อทองแดงได้
ในกรณีที่เราหุ้มท่อภายนอกอาคารเราจำเป็นที่จะต้องหุ้มแจ็กเก็ตเพราะฉนวนยางดำไม่ทนต่อรังสี UV และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดกับฉนวนได้ส่วนท่อภายในอาคารนั้นไม่จำเป็นต้องหุ้มแจ็กเก็ต ทำให้เราประหยัดค่าแผ่นอะลูมิเนียม
-
หุ้มเครื่องชิลเลอร์
ในการหุ้มเครื่องชิลเลอร์เราจะใช้ยางชนิดแผ่นม้วนทาบขนาดตามเครื่องชิลเลอร์และตัดเป็นแผ่น ทำให้มีรอยต่อของฉนวนน้อย การหุ้มเครื่องชิลเลอร์จะต้องหุ้มให้เต็มทุกพื้นที่เพื่อป้องกันการสูญเสียพลังงาน
-
หุ้มท่อลมเย็น
ห้องคลีนรูม (Clean Room) จะมีการควบคุมอุณหภูมิ ความดัน ความชื้น และฉนวนที่ใช้ในการติดตั้งจะต้องไม่เป็นชนิดเส้นใย ( Fiber ) ทำให้ฉนวนยางดำถูกนำมาใช้งานที่ตรงนี้
ติดตั้งฉนวน Aeroflex อย่างไรให้ถูกวิธี
- คำนวณความหนาของฉนวนยางดำที่เหมาะสมกับระบบท่อน้ำเย็นหรือท่อน้ำร้อน ตัวอย่างเช่น ที่อุณหภูมิปกติประมาณ 25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศที่ 70 เปอร์เซ็นต์ บนพื้นผิวที่แบนราบ (ไม่ใช่ท่อกลม) ความหนาของฉนวนที่ต้องการสำหรับระบบไนโตรเจนเหลว คือ ประมาณ 6 นิ้ว ซึ่งในการคำนวณหาความหนาของฉนวน ควรปรึกษาบริษัทผู้ผลิตฉนวน เพื่อให้ได้ฉนวนที่ถูกต้องตามชนิดของฉนวนแต่ละตัว
- ทำการติดตั้งฉนวนยางดำตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตฉนวน ซึ่งแต่ละบริษัทอาจจะมีเทคนิคการติดตั้งที่แตกต่างกัน ขึ้นกับชนิดของฉนวนและคุณสมบัติความยืดหยุ่นของฉนวนของบริษัทนั้น ๆ
- ในขณะติดตั้งฉนวนยางดำ ต้องติดตั้งให้เรียบร้อยและมีการกดฉนวนให้แน่นในทุกจุด (tight compression) โดยเฉพาะฉนวนชั้นในสุดที่ติดกับพื้นผิวที่สัมผัสกับไนโตรเจนเหลว
- ในกรณี ฉนวนหุ้มท่อ ให้เลือกใช้ฉนวนยางดำที่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ใหญ่กว่าเส้นผ่าศูนย์ภายนอกของท่อ (O.D. = Outer Diameter) ประมาณ 1 ขนาด ทั้งนี้เพื่อป้องกันการหดตัวของฉนวนเมื่อมีการเดินไนโตรเจนเหลวเข้ามาในท่อ
- หลังจากที่หุ้มฉนวนยางดำชั้นแรกไปแล้ว ให้นำแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ที่หนาประมาณ 0.002 นิ้ว (0.05 mm) หรือหนากว่านั้น มาหุ้มทับแผ่นฉนวนเพื่อป้องกันไอน้ำ หรือความชื้นจากภายนอกซึมผ่านเข้ามาในเนื้อฉนวน **หมายเหตุ** ในบริเวณพื้นที่ที่มีความชื้นสูงมาก เช่น บริเวณชายทะเล ควรมีการติดตั้งอลูมิเนียมฟอยล์ และหุ้มทับด้วยแจ็กเก็ทที่ทำด้วยพลาสติก PVC หรือ Armachek S, D โดยทากาวให้ติดแน่นระหว่างชั้นทั้งสอง ทั้งนี้ เพื่อป้องกันความชื้นแทรกซึมผ่านชั้นอลูมิเนียมฟอยล์เข้าไปได้
- หุ้มฉนวนยางในชั้นที่สอง โดยต้องพิถีพิถันในการเชื่อมรอยตะเข็บทุกส่วนเข้าด้วยกัน และยารอยตะเข็บด้วยกาวเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง **หมายเหตุ** การหดตัวของฉนวนตามแนวความหนาสามารถเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะฉนวนชั้นในสุดที่สัมผัสกับอุณหภูมิที่ต่ำมาก ดังนั้นการเผื่อขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลาง และความหนาของฉนวนจึงจำเป็นอย่างมาก เพื่อให้เพียงพอกับสภาพการหดตัวของฉนวน
- ที่อุณหภูมิต่ำมากของไนโตรเจนเหลว (ประมาณ -200 องศาเซลเซียส) ฉนวนยางดำจะสูญเสียสภาพความยืดหยุ่น แต่ไม่มีผลต่อคุณสมบัติความเป็นฉนวนในการป้องกันการสูญเสียความเย็นของไนโตรเจนเหลว
สรุป
จะเห็นได้ว่า ฉนวน Aeroflex หรือฉนวนยางดำนั้น ถือว่าเป็นอีกหนึ่งชิ้นส่วนในระบบปรับอากาศที่มีหน้าที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะมันคืออีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้ท่อส่งสารความเย็น หรือท่อความร้อนสามารถรักษาอุณหภูมิที่เราต้องการไปยังปลายทางได้อย่างคงที่ ซึ่งการติดตั้งมันอย่างไม่ถูกต้อง ก็จะทำให้เกิดสภาวะหยดน้ำภายนอกของตัวท่อขึ้น จนทำให้อุณหภูมิที่ต้องการรักษาเหล่านั้นเกิดการเปลี่ยนแปลง และกลายเป็นปัญหาต่อได้ในอนาคต
และหากคุณกำลังมองหาฉนวนยางดำ ฉนวน Aeroflex ตัวแทนจำหน่ายที่เชื่อถือได้อยู่ล่ะก็ เว็บไซต์ UDWASSADU ถือว่าเป็นตัวแทนจำหน่ายอีกเจ้าหนึ่งของแบรนด์ Aeroflex ที่มีสินค้าได้เลือกสรรมากมายทั้งในรูปแบบชนิดท่อ และแบบชนิดแผ่นทั้งตัดสำเร็จหรือแบบชนิดแผ่นเป็นม้วน พร้อมอุปกรณ์อื่น ๆ ในระบบปรับอากาศ สำหรับใครที่สนใจอยากเลือกฉนวนยางหุ้มท่อแอร์แบรนด์อื่น ๆ ทาง UDWASSADU ก็มีให้เลือกด้วยเช่นกัน มั่นใจได้จากประสบการณ์อันยาวนานของร้านกว่า 25 ปี พร้อมกับการบริการออนไลน์เต็มรูปแบบ ที่จะมอบความสะดวกให้คุณในการสั่งซื้อสินค้าวัสดุการช่างกับเรา
REF
http://www.aeroflex.co.th/th-th/ผลิตภัณฑ์/ระบบปรับอากาศ.aspx