ท่อลมอ่อน คืออะไร มีกี่ประเภท ประสิทธิภาพจะอ่อนตามชื่อหรือไม่ อยากรู้ต้องอ่าน

ท่อลมอ่อน

เมื่อย้อนไปยังสมัยก่อนตอนต้นทศวรรษ 1960 งานท่อส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะ ท่อลม ท่อประปา ท่อในระบบปรับอากาศ หรือท่ออะไรก็ตาม ส่วนใหญ่จะเลือกใช้ท่อที่มีลักษณะแข็ง อย่างท่อพลาสติก ท่อโลหะ ฯลฯ เป็นหลัก จนกระทั่งมีการคิดค้น และผลิตท่อลมอ่อนออกมา ให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้กันอย่างแพร่หลาย

แม้เชื่อว่า หลายท่านคงจะรู้จัก และคุ้นเคย ถึงประสิทธิภาพในการใช้งานกันเป็นอย่างดีก็ตาม สำหรับท่านใดที่ยังคงไม่ค่อยมั่นใจ และกำลังมองหาท่อประเภทอื่น นอกจากท่อแข็งๆ เพื่อมาตอบโจทย์การใช้งานภายในอาคารบ้านเรือนต่างๆ ของตัวเอง ห้ามพลาด กับ ท่อลมอ่อน ประสิทธิภาพจะอ่อนตามชื่อ หรือไม่ ถ้าอยากรู้ต้องอ่านเลย

สารบัญ

1. ท่อลมอ่อน คืออะไร

2. คุณสมบัติของท่อลมอ่อน

3. การเลือกท่อลมอ่อน ให้มีประสิทธิภาพ

4. การดูแล และรักษาความสะอาด

5. ฝากทิ้งท้าย

สินค้าพร้อมจำหน่วย สนใจกดดูรายละเอียดได้เลย

2,400 ฿13,200 ฿
2,300 ฿13,100 ฿

ท่อ Flex

Aeroduct ALP Bareduct 

850 ฿5,200 ฿
2,000 ฿11,300 ฿
2,800 ฿14,200 ฿
2,700 ฿14,100 ฿
2,300 ฿12,300 ฿

ท่อ Flex

Aeroduct AL5 Bareduct

900 ฿5,800 ฿
3,200 ฿16,700 ฿
3,100 ฿16,300 ฿
2,900 ฿14,500 ฿
2,800 ฿14,400 ฿

ท่อ Flex

Aeroduct AL5R Bareduct

950 ฿6,000 ฿
2,400 ฿12,500 ฿
3,600 ฿17,700 ฿
3,500 ฿17,500 ฿
3,100 ฿16,000 ฿
3,000 ฿15,900 ฿

ท่อ Flex

Aeroduct AL7 Bareduct

1,000 ฿6,500 ฿
2,500 ฿13,000 ฿

ท่อลมอ่อน คืออะไร

บางท่านอาจจะ ไม่รู้จักชื่อ ท่อลมอ่อน หรือท่อลมยืดหยุ่น (Flexible duct) แต่เชื่อว่า ต้องเคยเห็นท่ออลูมิเนียมที่หน้าตาเหมือนถุงฟอยล์ ผ่านตากันมาบ้างหละ ท่อประเภทนี้ถูกผลิตโดยการประสานระหว่าง ส่วนของโลหะ และเส้นใย โดยในส่วนของโครงสร้างจะมีการใช้อลูมิเนียมเป็นโครง เช่น ลวดสปริงเคลือบทองแดงกันสนิม ฯลฯ ยึดติดด้วยกาวชนิดพิเศษ ไม่ลามไฟ (เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย แล้วมาติดที่ท่อลม)

มีความทนทานสูง สามารถทนต่ออุณหภูมิต่ำ และสูง จะเย็น หรือร้อนก็ไหว รวมถึงทนต่อการสึกกร่อน ที่อาจเกิดขึ้นจากการสัมผัสไอระเหยของสารเคมี ไอน้ำ มลพิษ ฯลฯ น้ำหนักค่อนข้างเบา สามารถติดตั้ง และขนย้ายได้ง่าย เหมาะกับการใช้งานระบบปรับอากาศ และระบายอากาศ ไม่ว่าจะใช้กับพัดลมระบายอากาศ หรือระบบปรับอากาศทุกชนิด

ประเภทของท่อลมอ่อน

ท่อลมอ่อน อาจแบ่งออกได้หลากหลายชนิดด้วยกัน แต่ส่วนใหญ่ มักจะถูกแบ่งตามประเภทวัสดุที่นำมาใช้ผลิต และอาจแบ่งได้ตามวัตถุประสงค์การนำไปใช้งาน เพราะแต่ละชนิดก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. ท่อลมอ่อนอลูมิเนียมฟอยล์

หนึ่งในท่อยอดนิยม ค่อนข้างตอบโจทย์เรื่องช่วยระบายความร้อนภายในอาคาร หรือโรงงานที่มีเครื่องจักรเป็นจำนวนมาก รับแรงดันระดับต่ำได้ จนถึงแรงดันระดับสูง สามารถดัดแปลงมาใช้ด้านอื่นได้ เช่น การขนย้ายวัสดุ ฯลฯ เพราะมีน้ำหนักเบา และมีความยืดหยุ่นสูง สามารถทนอุณหภูมิตั้งแต่ -20 จนถึง 120 องศาเซลเซียสด้วยกัน รวมถึงมีราคาที่สบายกระเป๋ามากที่สุด การผลิตจะประกอบไปด้วยแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ และโพลิเอสเตอร์ ตัวโครงสร้างที่ป้องกันสนิมเป็นอย่างดี ถูกยึดติดด้วยกาวชนิดพิเศษ ทำให้มีความแข็งแรง และไม่ติดไฟ

นอกจากนี้ท่อลมอ่อนอลูมิเนียมฟอยล์ ยังมีแบบพิเศษ ที่หุ้มด้วยฉนวนกันความร้อนใยแก้ว เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นสูง และคงทนกว่าธรรมดาด้วย ภายนอกจะถูกห่อหุ้มด้วยฟอยล์ไร้ตะเข็บอีกครั้ง เหมาะสำหรับระบบระบายอากาศ – ปรับอากาศมากที่สุด

2. ท่อลมอ่อนสแตนเลส

ท่อลมชนิดนี้ค่อนข้างตอบโจทย์งาน ที่เกี่ยวกับก๊าซ และความร้อนโดยเฉพาะ บางครั้งอาจถูกประยุกต์มาใช้ในงานช่องอากาศ ท่อดูดความร้อน ควัน ไอเสีย เป็นต้น เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรง รับแรงสั่นสะเทือนได้ดี อีกทั้ง ยังรองรับอุณหภูมิต่ำ และสูงได้ ตั้งแต่ -40 จนถึง 450 องศาเซลเซียส นับว่า เป็นท่อที่ทนความร้อนมากที่สุด

3. ท่อลมอ่อนห่อผ้าใบ

ท่อลมอ่อนชนิดนี้มักจะเป็นท่อผ้าใบทาร์โพลีน ผ่านการผลิตด้วยเส้นใยไฟเบอร์เคลือบด้วยพีวีซี มีโครงสร้างจากขดลวดเส้นใยไฟเบอร์กลาส ด้านนอกจะมีผิวที่เรียบสม่ำเสมอ ทนทาน ยืดหยุ่นสูง สามารถทนอุณหภูมิได้ในระดับ -5 ถึง 60 องศาเซลเซียสเท่านั้น

กลับสู่สารบัญ

คุณสมบัติของท่อลมอ่อน

ท่อลมอ่อน ที่มักจะนิยมใช้ในอุตสาหกรรม หรืออาคารพาณิชย์อย่างปัจจุบัน เนื่องจากมีความยืดหยุ่น และป้องกันไฟฟ้าสถิต ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกรบกวนในการทำงาน (โดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม)

1. มีความยืดหยุ่นสูง

ท่อลมอ่อน ถูกผลิตด้วยวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูง ง่ายต่อการโค้งงอ เข้ามุม และสามารถติดตั้งในพื้นที่ที่อาจถูกบีบอัด หรือแรงดันหนักๆ ได้ แม้กระทั่งอยู่ใต้ดิน โดยที่จะมีการเคลื่อนย้ายไปในทิศทางใดก็ได้ และมีความยืดหยุ่น จนช่วยทำให้มีความทนทาน และไม่แตกหักง่าย ดังนั้น การติดตั้งท่อเหล่านี้จึงสามารถทำได้ง่ายขึ้นด้วย เนื่องจากความยืดหยุ่น ช่วยให้สามารถเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างสะดวก

2. ความทนทาน

ท่อลมอ่อนมีความทนทาน และสามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน โดยที่ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ในเร็วๆ นี้ อาจอยู่ได้ยาวนานถึง 25 ปี เนื่องจากผลิตด้วยวัสดุคุณภาพสูง ทำให้ไม่แตกหักง่าย รวมถึงการทนต่อสภาพอากาศทั้งร้อน และเย็น

3. การระบายอากาศ

การระบายอากาศในอุตสาหกรรม สามารถทำได้ด้วยการใช้ท่อลมอ่อน ซึ่งช่วยให้อากาศไหลเข้า หรือออกนอกอาคารได้อย่างราบรื่น รวมถึง จัดการอุณหภูมิในสถานที่ โดยการจัดการทั้งอากาศเย็น และอากาศอุ่น เพื่อปรับสมดุลบรรยากาศภายในสถานที่ทำงาน จากการดูดความร้อนที่สะสมในพื้นที่ทำงาน ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของคนงาน หรือทำให้เครื่องจักรเสียหาย เนื่องจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นได้

4. ป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพ

ท่อลมอ่อนบางตัว มีความพิเศษตรงที่มีการติดฉนวนกันความร้อน ทำให้สามารถไหลเวียนอากาศ ที่มีการปนเปื้อนของสารพิษได้อย่างปลอดภัย ไม่มีความเสี่ยงของการรั่วไหล จนอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่อยู่ภายในอาคารได้ รวมถึงควันไฟ หรือมลพิษทางอากาศด้วย

5. เคลื่อนย้ายวัสดุ

ท่อเหล่านี้ไม่เพียงแต่เหมาะสำหรับการระบายอากาศ หรือการจัดการควันพิษเท่านั้น แต่ยังใช้สำหรับการจัดการวัสดุในอุตสาหกรรมด้วย ซึ่งในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มักจะมีพื้นที่การผลิต และวัสดุจำนวนมาก ต้องมีการถ่ายโอนจากพื้นที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่งอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้องเพิ่มต้นทุนแรงงาน และการขนส่งมากขึ้น แต่การใช้ท่อลมอ่อน เพื่อจุดประสงค์นี้ จะช่วยเพิ่มประโยชน์ เรื่องการเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวกสบาย และประหยัดต้นทุนมาก

กลับสู่สารบัญ

การเลือกท่อลมอ่อนให้มีประสิทธิภาพ

ท่อแต่ละประเภท ย่อมมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป แม้แต่ท่อลมอ่อนที่ได้มีการคิดค้น และผลิตจนนำออกมาจำหน่าย ให้ใช้กัน อย่างแพร่หลายเอง ก็มีคุณสมบัติ และจุดเด่น ที่น่าสนใจไม่แพ้ท่อแบบอื่นๆ เช่นกัน แต่จะดึงเอาคุณสมบัติที่น่าสนใจเหล่านั้น มาใช้ได้มากน้อยแค่ไหน บางครั้งก็อาจจะอยู่ที่วิธีการเลือกเหล่านี้ด้วย

1. การโค้งมุมที่เหมาะสม

โดยปกติการวางท่อมักจะเจออุปสรรคอย่างการโค้ง หรือเข้าทำมุมตามแต่ละพื้นที่ให้พอดี จะทำได้ค่อนข้างยาก เพราะมีการใช้วัสดุที่ค่อนข้างแข็ง อย่าง พลาสติก, โลหะ ฯลฯ ในขณะที่ท่อลมอ่อน จะสามารถให้ความยืดหยุ่นได้ค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะมีเส้นทาง และการวางโครงแบบใด จะโค้งทำมุมขนาดไหน ก็สามารถรองรับการไหลเวียนของอากาศ ให้ส่งผ่านภายในท่อได้ง่าย และราบรื่น โดยมีแรงเสียดทานต่อแรงดันอากาศน้อยที่สุด ด้วยการให้รัศมีโค้ง (เส้นกึ่งกลาง) จะต้องเท่ากับ หรือมากกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ

2. ไม่งอหรือหย่อนคล้อย

การจะติดตั้งท่อลมอ่อนให้ได้มาตรฐาน และประสิทธิภาพสูงสุด สิ่งหนึ่งที่ต้องระวังเลยก็คือ การไม่ทำให้ท่อลมอ่อนงอ หรือหย่อนคล้อย เนื่องจากอาจจะเพิ่มแรงเสียดทานให้กับการไหลเวียนของอากาศ ลดประสิทธิภาพการขับเคลื่อนพลังงานโดยรวม และส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำความเย็น และความร้อน และต้นทุนการทำงาน ทำให้บางครั้งอาจจะเกิดการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เช่น ต้องมาซ่อมแซมบ่อยๆ หรือค่าไฟฟ้า เพราะต้องทำงานหนักกว่าปกติ ฯลฯ

ความดันภายในท่อลมอ่อนอาจลดลง เนื่องจากการจัดวางท่อที่ไม่เหมาะสมได้ แม้ว่าท่อลมอ่อนจะถูกสร้างมาให้ยืดหยุ่น สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวาง หรือในกรณีที่ผู้ติดตั้ง ไม่สามารถตัดผลิตภัณฑ์ให้มีความยาวต่ำสุดที่ต้องการได้ก็ตาม จึงจำเป็นที่จะต้องคำนวณ เพื่อไม่ให้เจอปัญหาการติดแบบหย่อนๆ ด้วยการเบี่ยงเบนของระยะทางในท่อลมอ่อน (วัดเป็นนิ้วต่อหนึ่งฟุต) บนระนาบแนวนอน หรือแนวเอียง และต้องระวังการคำนวณความยาวท่อที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับวัสดุที่จะแขวน หรือติดตั้ง

3. หลีกเลี่ยงการบีบอัด

ท่อลมอ่อนอาจจะต้องระวัง เมื่อมีการบีบอัดของฉนวนด้านนอกมากเกินไป เพราะเมื่อสายรัดท่อแน่นเกินไป จะสามารถบีบอัดท่อ จนส่งผลต่อการคงตัวของทรงท่อ และลดค่า R ของท่อลมอ่อนได้ นอกจากนี้ อาจไม่ได้เกิดเพียงการรัดระหว่างท่อ แต่อาจจะเกิดจากการอัดในทางยาว ซึ่งการกำหนดค่าแบบวงรอบ และแบบขดลวด ของแกนด้านในท่อลมอ่อนจะช่วยให้มีความยืดหยุ่น ซึ่งทำให้ติดตั้งได้ง่ายขึ้น และเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง แต่ก็เป็นไปได้ที่การยืดท่ออาจมีปัญหาเพิ่มอัตราการเสียดสี ทำให้อากาศไหลช้าลง

เมื่อท่อลมอ่อนยืดออกจนสุด (อย่างเหมาะสม) อัตราการเสียดสีจะอยู่ที่ 0-4% แต่หากขยายออกอย่างไม่เหมาะสม เช่น ถูกบีบอัด ฯลฯ อัตราการเสียดสีนั้นสามารถเพิ่มขึ้นได้ถึง 30% ซึ่งการบีบอัดในกรณีนี้ สามารถแก้ไขได้อย่างง่ายดาย โดยใช้เวลาในการวัด และตัดท่อลมให้มีความยาวที่เหมาะสม

4. คำนวณวัสดุและแรงงาน เพื่อทำความเข้าใจต้นทุนที่แท้จริง

เหตุผลที่ดีในการพิจารณาเลือกใช้ท่อลมอ่อน คือ ราคาถูกกว่าท่อโลหะแข็งๆ อยู่พอสมควร ซึ่งนี่เป็นอีกวิธีที่ดีในการประหยัดต้นทุน แต่จะดีขึ้นไปอีกถ้ามีการวางแผน และคำนวณล่วงหน้า เพื่อช่วยให้ผู้รับเหมาหรือผู้ติดตั้ง สามารถประเมินระยะเวลาที่จะติดตั้งท่อลมอ่อน และหาวิธีเตรียมพร้อมฝึกการติดตั้งได้อย่างถูกวิธี ดังนั้น ไม่เพียงแต่ต้องพิจารณาค่าใช้จ่ายส่วนประกอบต่างๆ แต่ยังต้องประเมิน และเตรียมค่าใช้จ่าย สำหรับการติดตั้ง ทั้งในเรื่องของค่าวัสดุ ค่าแรง และค่าอื่นๆ

5. มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน

คุณภาพอากาศภายในอาคาร อาจส่งผลต่อสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี ของแต่ละบุคคลภายในอาคารบ้านเรือนนั้นๆ ซึ่งปกติแล้วการเลือกท่อลม ไม่ว่าจะท่อลมอ่อน หรือท่อโลหะก็ตาม จำเป็นที่จะต้องเลือกวัสดุที่มีคุณภาพ และปลอดภัย มีเครื่องหมายการันตีมาตรฐาน เพราะอากาศภายในอาคาร อาจสร้างผลเสียได้มากกว่าอากาศภายนอกอาคารได้สูงถึง 30% หากมีมลพิษมาจากวัสดุที่อยู่ภายในอาคารเอง

6. ผ่านการรับรองพิสูจน์เรื่องต้านทานความร้อน

เชื่อว่า หลายคนจะกังวลท่อลมอ่อนอาจจะมีปัญหา เมื่อเจออัคคีภัย เนื่องจากมีส่วนหนึ่งที่ผลิตจากเส้นใย ว่าจะเก็บควัน หรือติดไฟ หรือไม่ รวมถึงต้านทานความร้อนได้ดีแค่ไหน ในส่วนนี้ผู้ที่ตัดสินใจเลือกซื้อ จะต้องศึกษารายละเอียดของแต่ละแบรนด์ และแต่ะละรุ่นดีๆ พยายามเลือกตัวที่สามารถมั่นใจได้ว่า มีการรับรองหรือพิสูจน์เรื่องของการต้านทานความร้อน และปลอดภัย เมื่อเกิดอัคคีภัย หรือมีควันด้วย

ความแตกต่างระหว่างท่อลมอ่อน กับท่อลมโลหะ

ถึงแม้ว่า บางส่วนในท่อลมทั้งสองชนิดจะมีวัสดุที่คล้ายกัน แต่แน่นอนว่า เห็นแค่หน้าตาก็สัมผัสได้เลยว่า ทั้งท่อลมอ่อนและท่อลมโลหะแบบปกติ มีความแตกต่างกันพอสมควร แต่จะแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ไม่ควรพลาดในส่วนนี้

  • วัสดุ : แม้ว่า ทั้งสองแบบอาจจะมีส่วนประกอบบางส่วนจากโลหะ หรืออลูมิเนียมเหมือนกัน แต่สัดส่วนการนำมาผลิต และวัสดุอื่นๆ ที่นำมาประกอบย่อมมีความต่างกัน ทำให้คุณสมบัติ และหน้าตาออกมาแตกต่างกันด้วย
  • ราคา : ด้วยความที่ท่อโลหะถูกผลิตด้วยแร่โลหะมากกว่า ท่อลมอ่อน จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ทำไมถึงมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า ทั้งในเรื่องของวัสดุ ไปจนถึง ค่าติดตั้ง ค่าขนส่ง ค่าซ่อมแซมดูแล และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
  • ความยืดหยุ่น : แค่ชื่อหลายๆ ท่านก็คงพอจะเดาได้แล้วว่า ท่อลมอ่อน จะมีจุดเด่นในด้านนี้ อีกทั้งเหมาะสำหรับระบบทำความร้อน และทำความเย็น แยกย่อย ติดตั้งไปตามพื้นที่ต่างๆ ได้ง่าย และอาจจะพบเจอกับหลากหลายสภาพอากาศ เนื่องจากมีความยืดหยุ่นมากกว่า ตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างหลากหลายในท่ออันเดียว ขณะที่ท่อโลหะ แม้จะเด่นที่มีความแข็งแรง เหนียวแน่น เนื่องจากลักษณะของโลหะ จึงค่อนข้างเหมาะที่จะใช้เฉพาะในการสร้างระบบ HVAC ทั้งหมดมากกว่า
  • การติดตั้ง : เมื่อเปรียบเทียบกับท่อโลหะแล้ว ท่อลมอ่อนจะติดตั้งได้ง่าย และเร็วกว่า แต่ก็ต้องระวัง เพราะที่ผ่านมามักจะเจอข้อผิดพลาดของผู้รับเหมาบ่อยมาก เนื่องจากเป็นสิ่งที่ช่างในไทยยังไม่ค่อยเชี่ยวชาญเท่าไหร่ ทำให้เกิดข้อผิดพลาดมาก เช่น เสียค่าใช้จ่ายในค่าพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าสูงกว่าปกติ, การบำรุงรักษาส่วนเกินหรือการซ่อมแซม และต้องเปลี่ยนอุปกรณ์บ่อยๆ ฯลฯ ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการคำนวณเลือกท่อลมอ่อน หรือการติดตั้งบางส่วนที่ผิดพลาด

จากตัวอย่างความแตกต่างระหว่างท่อลมอ่อน และท่อลมโลหะ คงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ทำไมปัจจุบันภายในอาคารบ้านเรือนต่างๆ โดยเฉพาะอาคารพาณิชย์ หรือที่สาธารณะต่างๆ จึงเริ่มมีการเลือกใช้ท่อลมอ่อนมาให้เห็นจนชินตากันบ้างแล้ว

กลับสู่สารบัญ

การดูแล และรักษาความสะอาด

การดูแลรักษาความสะอาดท่อลมอ่อน หรือท่อลมอื่นๆ มีเรื่องที่อาจจะต้องพิจารณากันซักเล็กน้อย ได้แก่

  • ขนาดของระบบที่จะทำความสะอาด
  • การเข้าถึงระบบ
  • สภาพอากาศ
  • ระดับการปนเปื้อน

แต่ละคนอาจจะตัดสินใจให้มีการจัดทำความสะอาด ในระดับความถี่ที่ค่อนข้างต่างกัน แต่ส่วนตัวขอแนะนำ ให้มีการดูแลเรื่องความสะอาดเบื้องต้นด้วยตัวเอง อย่างน้อยเดือนละครั้ง และจ้างให้มีทีมที่รับดูแลเรื่องความสะอาด และเช็คสภาพเครื่อง ไปจนถึงระบบปรับอากาศมาคอยปฏิบัติงานอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง ก็จะช่วยลดภาระในการทำงานไม่ต้องทำงานหนักขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม พลังงานไฟฟ้า ไปจนถึงยืดอายุการใช้งานเครื่องไปได้อีกยาวนาน

ทั้งนี้ ถ้ามีปัจจัยอื่นๆ ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น เช่น ขนาดของระบบปรับอากาศค่อนข้างใหญ่ ทำความสะอาดได้ไม่ทั่วถึง, สัมผัสได้ถึงสภาพอากาศที่ไม่ดี อยู่ในที่ที่พบเจอฝุ่นบ่อย จนภายในท่อลมอ่อนอาจจะมีฝุ่น เข้าไปสะสมมากมาย, ใช้งานอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม มีโอกาสเสี่ยงปนเปื้อนสารพิษ/สารเคมีได้สูงหว่าปกติ ฯลฯ ก็อาจจะจัดให้มีความถี่ สำหรับตรวจเช็ค และดูแลมากกว่าปกติ ที่ได้แนะนำไปก่อนหน้านี้

วิธีป้องกัน เพื่อไม่ให้ท่อลมอ่อนเสี่ยงปนเปื้อนได้ง่าย

สำหรับท่านใด หรือองค์กรใด ที่ไม่ค่อยสะดวกจะจัดให้มีการดูแลบ่อยๆ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม อาจจะปฏิบัติตัวตามวิธีป้องกันเหล่านี้ เช่น

  • ใช้ตัวกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งแนะนำโดยผู้ผลิตระบบทำความร้อน/ความเย็นตัวที่คุณซื้อมา รวมถึงควรมีการเปลี่ยนตัวกรองเป็นประจำ โดยเฉพาะหากตัวกรองของคุณมีการอุดตันจากสิ่งสกปรก หรืออื่นๆ ได้ง่ายยิ่งควรจัดให้มีกำหนดการเปลี่ยนตัวกรองบ่อยขึ้น
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่า คุณมีตัวกรองไหนที่ใช้งานไม่ได้แล้ว หรือตัวไหนที่อากาศนั้น ไม่สามารถลอดผ่านตัวกรองและช่องว่างรอบๆ ตัวกรองได้ ให้รีบแก้ไขปัญหานั้นโดยทันที
  • เมื่อมีการบำรุงรักษา หรือตรวจสอบระบบทำความร้อน และทำความเย็น ด้วยเหตุผลอื่น โปรดขอให้ช่างผู้ให้บริการช่วยทำความสะอาดคอยล์เย็น และตัวระบายน้ำ ด้วย
  • ในระหว่างการก่อสร้าง หรืองานปรับปรุงที่ก่อให้เกิดฝุ่นในอาคารของคุณ ให้ปิดตรงปลายทางที่คอยกระจายลม และห้ามใช้งานระบบทำความร้อน และความเย็น จนกว่าจะทำความสะอาดฝุ่นเรียบร้อย
  • กำจัดฝุ่นและดูดฝุ่นในบ้านของคุณเป็นประจำ (ใช้เครื่องดูดฝุ่นประสิทธิภาพสูง หรือแผ่นกรองประสิทธิภาพสูงสุด ที่เครื่องดูดฝุ่นของคุณรับได้ มาจัดการดูดฝุ่นในอากาศระหว่าง และหลังการสร้างฝุ่นในแต่ละวัน ไม่ใช่แค่การกำจัดฝุ่นในระบบการปรับอากาศ แต่การกำจัดฝุ่นบริเวณต่างๆ ภายในห้องก็สำคัญเช่นกัน)
  • หากระบบทำความร้อนของคุณ มีอุปกรณ์เกี่ยวกับปรับความชื้น ในระบบปรับอากาศ และท่อลมอ่อน ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า ใช้งานได้ และบำรุงรักษาเครื่อง รักษาสมดุลความชื้น ตามคำแนะนำของผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด

และอื่นๆ ตามสมควร เพื่อลดโอกาสต้องมานั่งทำความสะอาดภายในท่อลมอ่อนบ่อยๆ เพราะเราเชื่อว่า คงจะไม่มีใครสะดวก หรืออยากมาทำความสะอาดภายในท่อลมอ่อน หรืออุปกรณ์ส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเท่าไหร่

กลับสู่สารบัญ

ฝากทิ้งท้าย

จะเห็นได้เลยว่า การจะติดตั้งท่อลมอ่อน เพื่อโรงงานอุตสาหกรรม ในครัวเรือน ฯลฯ ให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องอาศัยในเรื่องของการเลือกประเภทวัสดุ ขนาด ฯลฯ ให้เหมาะกับการใช้งาน อีกทั้งต้องมีการติดตั้ง และการดูแลอย่างถูกวิธี เพื่อให้สามารถใช้งานได้มีประสิทธิภาพสูงสุด

อย่างไรก็ตามอย่าลืมพิจารณาร้านค้าผู้จัดจำหน่าย ที่ยินดีให้บริการตั้งแต่แนะนำวัสดุ อุปกรณ์ดีๆ ไปจนถึงบริการติดตั้งแบบครบวงจร โดยทีมช่างผู้เชี่ยวชาญ อย่าง UDWASSADU เพราะระบบระบายอากาศ – ปรับอากาศที่ดี ไม่ใช่แค่การมีเครื่องปรับอากาศที่แรง แต่การใช้ท่อลมอ่อนที่ตอบโจทย์การใช้งาน และให้ประสิทธิภาพการทำงานได้สูงสุด ก็จำเป็นเช่นกัน

สนใจสินค้าสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Tel: 084-326-6454 Line: @udirons